ประสิทธิผลโปรแกรมการดูแลผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย โดยผู้ดูแลในครอบครัว ตำบลยางสีสุราช อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • สุภาพร ปัญญาวงษ์ แพทย์แผนไทยชำนาญการ โรงพยาบาลยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม
  • สรัญญา คุ้มไพฑูรย์ แพทย์แผนไทยปฏิบัติการ โรงพยาบาลยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม
  • อนุชา ไทยวงษ์ อาจารย์พยาบาล วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก Corresponding author
  • กำทร ดานา อาจารย์พยาบาล วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก Corresponding author

คำสำคัญ:

ผู้ดูแล , ผู้สูงอายุ, แพทย์แผนไทย , ข้อเข่าเสื่อม , ลมจับโปงเข่าแห้ง

บทคัดย่อ

     การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลโปรแกรมการดูแลผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทยโดยผู้ดูแลในครอบครัว ตำบลยางสีสุราช อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมหรือลมจับโปงแห้งคัดเลือกแบบเจาะจงเกณฑ์คัดเข้าจำนวน 80 คน แบ่งกลุ่มเป็นกลุ่มทดลองและควบคุมกลุ่มละ 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมของผู้ดูแล แบบประเมินโรคข้อเข่าเสื่อม และแบบประเมินอาการปวด วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติ Paired t – test และสถิติ Independent-t-test ดำเนินการวิจัยเดือนกรกฎาคม 2565 - มิถุนายน 2566
     ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรม ผู้ดูแลในกลุ่มทดลองมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมสูงกว่ากลุ่มควบคุมและก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมมีค่าเฉลี่ยความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Meanกลุ่มทดลอง = 26.54 ± 11.20 VS Meanกลุ่มควบคุม = 29.63 ± 12.06,  p < 0.05) และคะแนนเฉลี่ยอาการปวดน้อยกว่ากลุ่มทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Meanกลุ่มทดลอง = 3.80 ± 3.25 VS Meanกลุ่มควบคุม = 6.53 ± 3.25, p< 0.05) นอกจากนี้ยังพบว่าในกลุ่มทดลองมีความโก่งของเข่าและค่าเฉลี่ยของระยะห่างของส้นเท่ากับก้นน้อยกว่าและก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์แผนไทยเดิมฯ โรงเรียนอายุรเวท. (2548). หัตถเวชกรรมแผนไทย(นวดแบบราช สำนัก). กระทรวงสาธารณสุข.

ปองจิตร ภัทรนาวิก. พฤติกรรมการป้องกันข้อเข่าเสื่อมของพยาบาล. วารสารพยาบาลศาสตร์. 2549; 24(2):71-81.

สุระเพ็ญ สุวรรณสว่าง. ผลของการใช้ โปรแกรมการออกกำลังกล้ามเนื้อต้นขา ต่อระดับความปวดของผู้ป่วยโรคข้อเข่า เสื่อมตามวัย [วิทยานิพนธ์ปริญญา พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต]. นครศรี ธรรมราช:มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์;2551

สุธิตา ปักสังคเน. (2554). การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการดูแลตนเองต่อการลดความเจ็บปวดและความพึงพอใจของ ผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อม.วารสารวิจัย มข. มกราคม ปี 2554.

กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. คู่มือการดูแลผู้สูงอายุด้วยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์สมผสาน. นนทบุรี : โรงพิมพ์เฟมัสแอนด์ซัคเซ้สฟูล, 2556

กรมการแพทย์. คู่มือการคัดกรอง/ประเมินผู้สูงอายุ. นนทบุรี: สำนักกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, 2557

Narin R, Taunrat W, Booncheang W. Development of a community participation program for caring older adults with knee osteoarthritis. Nursing Journal. 2015; 42(3); 170-81.

สถาบันการแพทย์แผนไทย กระทรวงสาธารณสุข (2559). คู่มือการดูแลผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน.

โรงพยาบาลนามน อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์. การพัฒนารูปแบบบริการทางการแพทย์แผนไทยโดยใช้แผ่นพอกเข่าสมุนไพรในผู้ป่วยที่มีอาการปวดเข่า, 2559

จันทร์จิรา เกิดวัน, จิราภรณ์ บุญอินทร์, ชุติมา ธีระสมบัติ, วิไล คุปต์นิรัติศัยกุล. การสำรวจความชุกของ โรคข้อเข่าเสื่อมผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารกายภาพบำบัด. 2559;38(2):59-70

เตือนจิตต์ ช่วยจันทร์, สุทธีพร มูลศาสตร์, ดนัย หีบท่าไม้. การพัฒนารูปแบบการจัดการโรคข้อเข่าเสื่อม ในชุมชนโดยความร่วมมือของพยาบาลเวชปฏิบัติและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 2561;38(2):43-59.

ศิริพร แย้มมูล, เจษฎา อุดมพิทยาสรรพ์, อิศรา ศิรมณีรัตน์. (2561). ประสิทธิผลของการพอกเข่าด้วยตำรับสมุนไพรต่ออาการปวดเข่าในผู้ป่วยโรคจับโปงแห้งเข่า โรงพยาบาลบ้านโคก อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุพรรณบุรี. 1(1),16-27

ธีรนุช กอโพธิ์ศรี และยงยุทธ วัชรดุล (2562) . ผลของการบริหารกายแบบฤๅษีดัดตนตอการลดอาการปวดเขาผู้สูงอายุ ตำบลหมูมน อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิรน (2562) ;16(2): 306-307

อณิษฐา หาญภักดีนิยม. นโยบายเกี่ยวกับผู้สูงอายุต่อการพัฒนาประเทศในอาเซียน. วารสารพุทธ อาเซียนศึกษา. 2563;5(1):55-70.

จิรวัฒน์ วัฒนปัญญาเวชช์, ชาคริต สัตยารมณ์, ฐานิยา กลิ่นโสภณ, สุดารัตน์ บริสุทธิ์. การพัฒนาอุปกรณ์ประคบร้อนและเย็นแบบใช้ซ้ำจากดินเหนียว. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2563;35(6):694-9

เพ็ญศิริ จันทร์แอ และคณะ การประยุกต์ใช้ศาสตร์แพทย์แผนไทยเพื่อลดอาการเจ็บปวดของโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยตนเองในผู้สูงอายุ บ้านหนองบัวหลวง อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร วารสารวิชาการเทคโนโลยีการจัดการ. (2564) ;2(1): 30-34

ชวิศ เมธาบุตร. การพัฒนารูปแบบการจัดการโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2565 ;(1):971-972.

สัณหจุฑา พวงมาลา และคณะ การศึกษาประสิทธิผลและประเมินดัชนีคุณภาพชีวิตของยาพอกเข่าในผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเข่า การประชุมวิชาการระดับชาติ 4 สถาบัน ครั้งที่ 3 (2566)112-114 สืบค้นจาก https://orientalmed.rsu.ac.th/Doc/20230914042921/7%20Sanhajutha.pdf สืบค้นเมือวันที่ 17 ตุลาคม 2567

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

ปัญญาวงษ์ ส., คุ้มไพฑูรย์ ส., ไทยวงษ์ อ., & ดานา ก. (2024). ประสิทธิผลโปรแกรมการดูแลผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย โดยผู้ดูแลในครอบครัว ตำบลยางสีสุราช อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(6), 839–850. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3547