รูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ด้วยกระบวนการ A-I-C ตำบลปะอาว อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
การดูแลผู้สูงอายุ, การมีส่วนร่วมของชุมชนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ1)วิเคราะห์สถานการณ์การดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ 2)เพื่อศึกษารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ และ3)เพื่อประเมินรูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ตำบลปะอาว อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้น จำนวน 287 คน เก็บรวบรวมข้อมูลภาวะสุขภาพจากแบบบันทึกสุขภาพ สะท้อนผลการดำเนินงานตามรายกิจกรรมที่กำหนดในรูปแบบการดูแลสุขภาพ ประเมินสภาวะสุขภาพทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent t – test
ผลการวิจัยพบว่าระดับความรู้ในการเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ อยู่ในระดับความรู้ดี ปัจจัยทางด้านจิตสังคม ด้านความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง การรับรู้ข่าวสารการตระหนักในสุขภาพ แรงสนับสนุนทางสังคมจากบุคคลในครอบครัว แรงสนับสนุนทางสังคมจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอยู่ในระดับสูง พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ ด้านอาหาร ด้านอารมณ์ ด้านการออกกำลังกาย อยู่ในระดับปานกลาง ด้านอโรคยา ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ด้านอบายมุข อยู่ในระดับสูง ปัญหาในผู้สูงอายุด้านร่างกายอยู่ในระดับปานกลาง ปัญหาด้านจิตใจ และปัญหาทางด้านสังคมและเศษฐกิจ อยู่ในระดับต่ำ ความต้องการของผู้สูงอายุทางด้านร่างกาย อยู่ในระดับสูง ความต้องการทางด้านจิตใจ อยู่ในระดับต่ำ และความต้องการทางด้านสังคมและเศษฐกิจ อยู่ในระดับสูง มีรูปแบบในการดำเนินกิจกรรม คือ1)การเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุโดยการบรรยายประกอบสื่อ 2)การสร้างแนวทางการพัฒนาการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุโดยการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3)การคัดเลือกกิจกรรมการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ที่เหมาะสมประเมินสภาพปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุ เพื่อกำหนดรูปแบบแนวทางการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ 4)การสร้างแนวทางการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ โดยแบ่งตามประเภทของผู้สูงอายุ ได้แก่กลุ่มช่วยเหลือตนเองได้ดี กลุ่มช่วยเหลือตนเองได้บ้าง กลุ่มช่วยเหลือตนเองไม่ได้ 5)การสร้างรูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ที่เหมาะสม ซึ่งผลการประเมินตามรูปแบบก่อนและหลังดำเนินการมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
References
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. สถิติผู้สูงอายุ (ออนไลน์) 2566. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2566.จากhttps://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/2449.
ระบบคลังข้อมูลสุขภาพด้านการแพทย์ (HDC) กระทรวงสาธารณสุข 2566 : ออนไลน์
พระมหาชัยยนต์ คมฺภีรวาที. รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในอําเภอแม่สรวย จังหวัดชียงราย. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (การพัฒนาสังคม)มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,25627.
กิตติวรรณ จันทร์ฤทธิ์. รูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายชุมชนด้วยกระบวนการพันธกิจสัมพันธ์ตำบลป่าเซ่า อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 2561.
กัญญารัตน์ กันยะกาญจน์และคณะ. รูปแบบการดูแลระยะยาวแบบบูรณาการโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลดงบัง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี,. มนุษยสังคมสาร. 17, 1 (มกราคม-เมษายน 2562) : 1-19.
ปาร์ยชญาน์ วงษ์ไตรรักษ์. รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุติดเตียงที่บ้านโดยครอบครัว.ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การศึกษาและการพัฒนาสังคม)มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563.