ผลลัพธ์ของโปรแกรมป้องกันภาวะสมองเสื่อมอย่างเพียงพอในผู้สูงอายุที่มีโรคร่วม โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน โรงพยาบาลสบปราบ จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • ภวรัญชน์ จิรเชฐพัฒนา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลสบปราบ จังหวัดลำปาง
  • ศิราณี ศรีหาภาค ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก corresponding author

คำสำคัญ:

โปรแกรมป้องกันภาวะสมองเสื่อมอย่างเพียงพอ, ผู้สูงอายุที่มีโรคร่วม

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) แบบสองกลุ่มเพื่อศึกษาผลลัพธ์ของโปรแกรมป้องกันภาวะสมองเสื่อมอย่างเพียงพอ (Sufficient Care for Dementia : SCD) ในผู้สูงอายุที่มีโรคร่วมโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน โรงพยาบาลสบปราบ จังหวัดลำปาง จำนวนกลุ่มละ 64 คน ดำเนินวิจัยเดือน กุมภาพันธ์ 2567 ถึง สิงหาคม 2567 โดยกลุ่มทดลองมีกิจกรรมปกติของคลินิกโรคเรื้อรังและโปรแกรมการป้องกันภาวะสมองเสื่อมอย่างเพียงพอ ส่วนกลุ่มควบคุมดำเนินกิจกรรมตามปกติของคลินิกโรคเรื้อรัง ระยะเวลาการวิจัย 4 เดือน แล้วประเมินผลลัพธ์ทางคลินิกและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์สถิติเชิงอ้างอิงด้วยสถิติ t-test
     ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มทดลองมีอายุเฉลี่ย 70 ปี ส่วนใหญ่มีผู้ดูแลอยู่ร่วมบ้านเดียวกับผู้ป่วย ร้อยละ 96.9 พบสูบบุหรี่ร้อยละ 10.9 ดื่มสุราร้อยละ 26.6 และออกกำลังน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ร้อยละ 57.8 ส่วนกลุ่มควบคุมพบมีอายุเฉลี่ย 68.6 ปี มีผู้ดูแลอยู่ร่วมบ้านเดียวกับผู้ป่วย ร้อยละ 95.3 พบยังคงสูบบุหรี่ร้อยละ 6.3 ดื่มสุรา ร้อยละ 39.1 และออกกำลังน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ร้อยละ 56.3 ส่วนโรคร่วมที่พบบ่อยในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมเป็นกลุ่มโรคเช่นเดียวกัน ได้แก่ โรคร่วมที่พบบ่อย ได้แก่ ไขมันในเลือดสูง ไตวายเรื้อรัง ต้อกระจกหรือจอประสาทตา ข้อเสื่อม และ หลอดเลือดหัวใจ 2) ผลการเปรียบเทียบผลลัพธ์ทางคลินิกก่อนและหลังการวิจัย 4 เดือนภายในกลุ่มทดลอง พบว่าคะแนนภาวะบกพร่องการรับรู้และภาวะสมองเสื่อมอยู่ระดับดีขึ้นกว่าก่อนการวิจัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value และความสามารถการปฏิบัติกิจกรรมเพื่อดำรงชีวิตอยู่ในชุมชนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value <.001) เช่นเดียวกับการควบคุมโรคเรื้อรัง พบว่า การควบคุมระดับความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด ระดับน้ำตาลสะสม 4 เดือน ระดับไขมันคลอเรสเตอรอล และระดับไขมันแอลดีแอลน้ำตาล หลังการวิจัยลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value <.001) และ 3) การเปรียบเทียบผลลัพธ์ทางคลินิกระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมหลังการดำเนินการวิจัย 4 เดือน พบว่าคะแนนเฉลี่ยภาวะบกพร่องทางการรับรู้ของกลุ่มทดลองดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value <.001) ระดับน้ำตาลในเลือด และระดับซีสโตลิก ของกลุ่มทดลองดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value <.013) และ (P-value <.024) ตามลำดับ ในขณะที่ระดับคะแนนภาวะสมองเสื่อม ความสามารถการปฏิบัติกิจกรรมเพื่อดำรงชีวิตอยู่ในชุมชน ระดับน้ำตาลสะสม 4 เดือน ระดับไขมันคลอเรสเตอรอล ระดับไขมันแอลดีแอล พบว่าหลังการวิจัยกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. สถิติผู้สูงอายุ: จำนวนผู้สูงอายุจำแนกตามจังหวัด พ.ศ.2566 กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ข้อมูล ณ 30 มิถุนายน 2566. [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [สืบค้นเมื่อ 18 พ.ย. 66]. เข้าถึงจาก: https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/2449

Alzheimer’s Disease International. Policy Brief for G8 Head to Government. The Global Impact of Dementia 2013-2050. London: Alzheimer’s Disease International; 2013.

วิชัย เอกพลากร. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2557.

Elahi F, Miller B. A clinicopathological approach to the diagnosis of dementia. Nature Reviews Neurology 2017; 13(8):457–476.

วีรศักดิ์ เมืองไพศาล. การป้องกัน การประเมิน และการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์; 2556.

ปิยะภร ไพรสนธิ์ และพรสวรรค์ เชื้อเจ็ดตน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยในผู้สูงอายุจังหวัดเชียงราย. วารสารสภาการพยาบาล 2560; 32(1):64-80.

กรวรรณ ยอดไม้. บทบาทครอบครัวกับการดูแลผู้สูงอายุภาวะสมองเสื่อมในชุมชน. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2560; 31(1):189-204.

Kuiper JS, Zuidersma M, Oude Voshaar RC, Zuidema SU, van den Heuvel ER, Stolk RP, Smidt N. Social relationships and risk of dementia: a systematic review and meta-analysis of longitudinal cohort studies. Ageing Research Reviews 2015; 22:39–57.

ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. ปิรามิดประชากรจำแนกเพศ กลุ่มอายุ ปีงบประมาณ 2566. [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [สืบค้นเมื่อ 18 พ.ย. 66]. เข้าถึงจาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?&cat_id=ac4eed1bddb23d6130746d62d2538fd0&id=db4e8d42e1234a75bd03d430c31feb2f

โรงพยาบาลสบปราบ. ประเมินผลการดำเนินงาน คปสอ.สบปราบ ปีงบประมาณ 2566.

ฤทธิรงค์ เรืองฤทธิ์, พิสมัย ศรีทำนา. ประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อมอย่างเพียงพอ ในการช่วยเหลือสนับสนุนผู้ดูแลหลักในครอบครัว. วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น 2567; 16(1):77-93.

สุทธิชัย จินตะพันธ์กุล. มุมมองใหม่ของการสร้างเสริมสุขภาพภายใต้ปรากฏการณ์ประชากร ผู้สูงอายุ.วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ 2545; 3(2):49-62.

Jintapunkul S, Kamolratanakul P, Ebrahim S. The Meaning of Activities of Daily Living in a Thai Elderly Population: Development of a new index. Age and Ageing 1994; 23(2): 97-101.

Borson S, Scanlan JM, Chen P, Ganguli M. The Mini-Cog as a screen for dementia: validation in a population-based sample. Journal of the American Geriatrics Society 2003; 51(10):1451-1454.

Trongsakul S, Lambert R, Clark A, Wongpakaran N, Cross J. Development of the Thai version of Mini-Cog, a brief cognitive screening test. Geriatrics & Gerontology International 2015; 15(5):594-600.

กลุ่มฟื้นฟูสภาพสมอง. แบบทดสอบสมรรถภาพสมองของไทย. สารศิริราช 2536; 45(6):359-374.

ศิราณี ศรีหาภาคและธวัชชัย กฤษณะประกรกิจ. คู่มือพัฒนาศักยภาพผู้จัดการดูแลและบุคลากรสุขภาพการดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อมอย่างเพียงพอ. พิมพ์ครั้งที่1. ขอนแก่น: บริษัทเพ็ญพรินติ๊ง จำกัด; 2565.

ศิราณี ศรีหาภาค และ ธวัชชัย กฤษณะประกรกิจ. สมองเสื่อมกับการดูแลระดับปฐมภูมิ : คู่มือพัฒนาศักยภาพผู้จัดการดูแลและบุคลากรสุขภาพ การดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อมอย่างเพียงพอ (Sufficient Care for Dementia : SCD). นนทบุรี: มูลนิธิสังคมและสุขภาพ; 2565.

สุภา ไกรสุวรรณ, เรวดี เพชรศิราสัณห์, สายฝน เอกวรางกูร. ปัจจัยทํานายภาวะรู้คิดบกพร่องในผู้สูงอายุที่มีโรคความดันโลหิตสูงจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพแห่งประเทศไทย 2566; 4(2), 23-36.

วิลาสินี สุราวรรณ์. ความชุกของภาวะสมองเสื่อมและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมใน ผู้สูงอายุ อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2560; 10(2):58-69.

ประภาศรี ทุมสิงห์ กัญญา จันทร์พล และ สดุดี ภูห้องไสย. สมรรถภาพสมองและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถภาพสมองของผู้สูงอายุ ในโรงเรียนผู้สูงอายุ เขตสุขภาพที่ 7. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2566; 16(3):268-279.

ยุคลธร หวังเรืองสถิตย์, รุ่งทิวา หวังเรืองสถิตย์. ความชุกของภาวะความทรงจำบกพร่องและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุ. พุทธชินราชเวชสาร 2564; 38(1):34-47.

พนม สุขจันทร์, กัษฟาร์ นิยมเดชา, ดีน ศรีชัยสุวรรณ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุในประเทศไทย: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2565; 14(1):276-292.

วรารัตน์ ทิพย์รัตน์, สายพิน เม่งเอียด, โสภิต สุวรรณเวลา, เบญจวรรณ ช่วยแก้ว. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง. วารสารคณะพยาบาลศาตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2562; 27(1):100-108.

เพชรรัตน์ พิบาลวงศ์, จตุพร จันทะพฤกษ์, ภาวิณี แพงสุข, ปิยนุช ภิญโย, ภควรรณ ตลอดพงษ์, นิสากร เห็นชนาน. การศึกษาสถานการณ์ภาวะสมองเสื่อมละปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุรินทร์ 2561; 8(2):46-57.

กัมปนาท สำรวมจิต, สุนีย์ ละกำปั่น, ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการทำหน้าที่ของสมองสำหรับผู้สูงอายุต่อการรู้คิดและพฤติกรรมการป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล 2562; 35(3), 34-45.

ส้มป่อย แสนเตปิน และ จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ เขตเทศบาลนครพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก. วารสารแพทย์นาวี 2562; 46(3):621-639.

ศิราณี ศรีหาภาค และ ธวัชชัย กฤษณะประกรกิจ. สมองเสื่อมกับการดูแลระดับปฐมภูมิ: โปรแกรมการดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อเพียงพอ (Sufficient Care for Dementia : SCD). พิมพ์ครั้งที่2. ขอนแก่น: บริษัทเพ็ญพรินติ๊ง จำกัด; 2566.

World Health Organization. Global action plan on the public health response to dementia 2017-2025. Switzerland: 2017. [อินเตอร์เน็ต]. 2567 [สืบค้นเมื่อ 10 ก.ค. 67]. เข้าถึงจาก: https://www.who.int/publications/i/item/9789241513487

ณัฐศิวัช ชุมฝาง, ทัศนีย์ รวิวรกุล, พัชราพร เกิดมงคล, สุธรรม นันทมงคลชัย. ผลของโปรแกรมป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง. วารสารเกื้อการุณย์ 2564; 28(2):7-21.

สิรินทร ฉันศิริกาญจน, จิรพร เหล่าธรรมทัศน์, จักรกฤษณ์ สุขยิ่ง, ดาวชมพู นาคะวิโร, อรพิชญา ไกรฤทธิ์, วิลาวัณย์ ประสารอธิคม, สมพร โชติวิทยธารากร และเพียงพร เจริญวัฒน์. สมรรถนะสมองของผู้ใหญ่และผู้สูงอายุไทย: ปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อม. วารสารพิษวิทยาไทย 2558; 30(1):41-59.

ชมนาด ศิริรัตน์. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมในผู้ป่วยสูงอายุที่รับการรักษาในแผนกจิตเวชโรงพยาบาลมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2563; 17(2):35-47.

วัชราพร เชยสุวรรณ, กนกนุช ขำภักตร์, สมใจ ศุภนาม, อมรทิพย์ ณ บางช้าง, ชนุตรา เกิดมณี, อรวรรณ ฆ้องต้อ, สุภรณี โพธิสา, ยุวดี วงษ์แสง, วนาลักษณ์ พันธ์งาม.(2566). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย : กรณีศึกษาชุมชนเลือกสรร เขตธนบุรี. วารสารแพทย์นาวี 2566; 50(2):389-407.

ปะราลี โอภาสนันท์, วิยะดา รัตนสุวรรณ. ผลของการใช้ชุดกิจกรรมป้องกันโรคสมองเสื่อมต่อการทำงานของสมองของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในชุมชน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2563; 12(1):255-267.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

จิรเชฐพัฒนา ภ. ., & ศรีหาภาค ศ. . (2024). ผลลัพธ์ของโปรแกรมป้องกันภาวะสมองเสื่อมอย่างเพียงพอในผู้สูงอายุที่มีโรคร่วม โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน โรงพยาบาลสบปราบ จังหวัดลำปาง. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(6), 872–883. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3557