การยอมรับตนเอง สัมพันธภาพในครอบครัว การสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมการเตรียมตัวตายดีของผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแห่งหนึ่ง อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • กาญจน์วรินทร์ วรินธนวัฒน์ นิสิตปริญญาโท สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน ภาควิชาจิตวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ทิพย์วัลย์ สุรินยา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาจิตวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การยอมรับตนเอง, สัมพันธภาพในครอบครัว, การสนับสนุนทางสังคม, พฤติกรรมการเตรียมตัวตายดี

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงปริมาณนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการยอมรับตนเอง สัมพันธภาพในครอบครัว การสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมการเตรียมตัวตายดี 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการเตรียมตัวตายดีของผู้สูงอายุ ตามปัจจัยส่วนบุคคลที่ต่างกัน ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา และประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย 3)  ความสัมพันธ์ระหว่างการยอมรับตนเองกับพฤติกรรมการเตรียมตัวตายดีของผู้สูงอายุ 4) ความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพในครอบครัวกับพฤติกรรมการเตรียมตัวตายดีของผู้สูงอายุ 5) ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมการเตรียมตัวตายดีของผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแห่งหนึ่ง อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุจำนวน 263 คน ใช้วิธีสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test F-test ค่า Least Significant Difference LSD (LSD) และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน
     ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้สูงอายุมีการยอมรับตนเอง สัมพันธภาพในครอบครัว การสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมการเตรียมตัวตายดี อยู่ในระดับปานกลาง 2) ผู้สูงอายุที่มีเพศ อายุ และสถานภาพสมรสต่างกัน มีพฤติกรรมการเตรียมตัวตายดีต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้สูงอายุที่มีระดับการศึกษา และประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายต่างกัน มีพฤติกรรมการเตรียมตัวตายดีไม่ต่างกัน 3) การยอมรับตนเอง มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการเตรียมตัวตายดี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  4) สัมพันธภาพในครอบครัว มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการเตรียมตัวตายดี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 5) การสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการเตรียมตัวตายดี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

พรทวี ยอดมงคล. คู่มือสำหรับประชาชน การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง (Palliative Care). นนทบุรี:สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาต(สช.); 2556.

พระชาย อภินนโท. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเตรียมตัวก่อนตายของผู้สูงอายุในชมรมปฏิบัติธรรม 24น. จังหวัดปราจีนบุรี [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. ปราจีนบุรี: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย; 2561.

พระไพศาล วิสาโล. การช่วยเหลือผู้ป่วยระยะสุดท้ายด้วยวิธีแบบพุทธ. กรุงเทพฯ: บริษัทด็อคคิวเอ๊กซ์เปิร์ท เอเชีย จำกัด; 2559.

ประภาเพ็ญ สุวรรณ, สวิง สุวรรณ. พฤติกรรมศาสตร์ พฤติกรรมสุขภาพและสุขศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2536.

สารภี รังสีโกศัย. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเตรียมตัวเพื่อเผชิญกับความตาย และภาวะใกล้ตายของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุจังหวัดปัตตานี [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2556.

สายสิริ อิสรชาญวาณิชย์. ตายดี เตรียมได้ การวางแผนการดูแลในระยะสุดท้ายของชีวิตล่วงหน้า (Advance Care Planning) [อินเตอร์เน็ต]. 2557 [สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2567]. เข้าถึงจาก: http://www.thaigo

good.com

สุกัญญา เมืองมาคำ, สมบัติ สกุลพรรณ์, หรรษา เศรษฐบุปผา. สัมพันธภาพในครอบครัวและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายของผู้มารับบริการที่คลินิกสุขภาพจิตและจิตเวช. พยาบาลสาร. 2563; 3:240-52.

สุวรรณา วุฒิรณฤทธิ์. ปัจจัยที่เป็นตัวทำนายความวิตกกังวลเกี่ยวกับความตายของผู้สูงอายุในจังหวัดชลบุรี [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2544.

สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2567]. เข้าถึงจาก: https://stat.bora.dopa.go.th/new_stat/webPage/statByAgeMonth.php

Bossuyt N, Van den Block L, Cohen J, Meeussen K, Bilsen J, Echteld M, Van Casteren V. Is individual educational level related to end-of-life care use? Results from a nationwide retrospective cohort study in Belgium. J Palliat Med. 2011;14(10):1135-41.

Corr CA. A task-based approach to coping with dying. OMEGA J Death Dying. 1992;24(2):81-94.

Detering KM, Hancock AD, Reade MC, Silvester W. The impact of advance care planning on end-of-life care in elderly patients: randomised controlled trial. BMJ. 2010;340:c1345.

Douglas R, Brown HN. Patients’ attitudes toward advance directive. J Nurs Scholarsh. 2002;34(1):61-5.

Dunkel-Schetter C. Social support and cancer: Findings based on patient interviews and their implications. J Soc Issues. 1984;40(4):77-98.

Kalish RA. Older people & grief. Generations, J Am Soc Aging. 1987;11(3):33-8.

Khawar M, Aslam N, Aamir S. Perceived social support and death anxiety among patients with chronic disease. Pak J Med Res. 2013;52(3):75.

Morrow A. Reviewing and reconciling your life before you die [Online]. 2023 [cited 2024 Jul 5]. Available from: https://www.verywellhealth.com/the-five-stages-of-life-review-1132503

Robijn L, Deliens L, Rietjens J, Pype P, Chambaere K. Barriers in the decision making about and performance of continuous sedation until death in nursing homes. Gerontologist. 2020;60(5):916-25.

Tenzek KE, Depner R. Still searching: a meta-synthesis of a good death from the bereaved family member perspective. Behav Sci. 2017;7(2):25.

Yamane Y. Mathematical formulae for sample size determination. J Math. 1967; 1:1-29.

Zhao J, et al. How do cohabitation and marital status affect mortality risk? Results from a cohort study in Thailand. BMJ Open. 2022;12(9): e062811.

Zhou Y, Xu W. The mediator effect of meaning in life in the relationship between self-acceptance and psychological wellbeing among gastrointestinal cancer patients. Psychol Health Med. 2019;24(6):725-31.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

วรินธนวัฒน์ ก., & สุรินยา ท. (2024). การยอมรับตนเอง สัมพันธภาพในครอบครัว การสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมการเตรียมตัวตายดีของผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแห่งหนึ่ง อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(6), 284–297. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3560