ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการมารับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูก ตำบลหัวเสือ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • มนัชญา สุขทองสา วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • รุจิรา อำพันธ์ พยาบาลวิชาชพชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวเสือ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์, พฤติกรรม, มะเร็งปากมดลูก

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการมารับบริการตรวจคมะเร็งปากมดลูก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่สตรีอายุ 30 – 60 ปี ในเขตบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุภาพตำบลบ้านหัวเสือ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 265 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาโดยใช้ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาค่าความสัมพันธ์ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และค่าไคสแควร์ ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างอายุเฉลี่ย 47.12 ปี ร้อยละ 35.10 ระดับความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก ในระดับปานกลาง ร้อยละ 43.00  และทัศนคติต่อการมารับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูกอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 40.00 เมื่อทดสอบหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลส่วนบุคคลและพฤติกรรมการมารับบริการ พบว่า ปัจจัยด้านข้อมูลส่วนบุคคลไม่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการมารับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูก เมื่อทดสอบหาความสัมพันธ์ด้านความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกต่อพฤติกรรมการมารับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูก พบว่า ปัจจัยด้านความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการมารับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 (r = 0.338, P-value < 0.001) เมื่อทดสอบหาความสัมพันธ์ด้านทัศนคติต่อพฤติกรรมการมารับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูกพบว่าปัจจัยด้านด้านทัศนคติ มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการมารับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 (r = 0.416, P-value < 0.001)

References

เพ็ญนิภา ชำนาญบริรักษ์ และเพ็ชรศักดิ์ อุทัยนิล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการมารับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูก ของสตรี ในพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขวา. วารสารวิชาการทางการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2565;2(2):59-70.

ชัชวาล นฤพันธ์จิรกุล รัตนา ธรรมวิชิตและธานินทร์ สุธีประเสริฐ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม การตรวจมะเร็งปากมดลูกของสตรีเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2557; 23(6):1022-1031.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวเสือ. รายงานการดำเนินงานประจำปี ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวเสือ. ศรีสะเกษ;2566

ณัฐธยาน์ ภิรมย์สิทธิ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเข้ารับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล;2562:35(2),95-108.

รัฐพล สาแก้ว จงกลนี ธนาไสย์และบัณฑิต วรรณประพันธ์. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ในสตรีอายุ 30-60 ปี ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลหนองเหล็ก อำเภอเสขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา 2560;23(1):17-30.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

สุขทองสา ม. ., & อำพันธ์ ร. (2024). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการมารับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูก ตำบลหัวเสือ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(6), 899–904. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3561