ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพกับระดับน้ำตาลในเลือดของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคำไฮ อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ, ระดับน้ำตาลในเลือด, กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพกับระดับน้ำตาลในเลือดของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานรายใหม่ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคำไฮ อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานรายใหม่ จำนวน 330 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ย 56.63±7.88) โดยด้านการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพมีระดับดีมากสูงสุด (ร้อยละ 46.4) ส่วนพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ย 72.08±9.38) โดยเฉพาะพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงการดื่มสุราและการสูบบุหรี่ (ร้อยละ 78.2 และ 77.6 ตามลำดับ) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์เชิงลบกับระดับน้ำตาลในเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -0.109, p = 0.048) และมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.352, p < 0.001)
References
International Diabetes Federation. IDF Diabetes Atlas - 10th edition: Global Diabetes data report 2000-2045 [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 10 พ.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://diabetesatlas.org/data/en/world/
กองโรคไม่ติดต่อ สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค. กรมควบคุมโรค รณรงค์วันเบาหวานโลก 2566 [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 10 พ.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=38403&deptcode=brc&news_views=2606
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. ระบบคลังข้อมูลสุขภาพ (HDC) ระดับจังหวัด: การป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 10 พ.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://ksn.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php
จงกลณี ขันอาสา, รักชนก คชไกร, กีรดา ไกรนุวัตร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชนกรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลทหารบก 2563;21(3):109-120.
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. ผลการประเมินศักยภาพในการจัดการสุขภาพตนเอง 2566 [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 10 พ.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: http://www.hed.go.th/linkHed/46
วชิระ เพ็งจันทร์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ. ใน: เอกสารการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพบุคลากรกรมอนามัย เรื่อง ความรอบรู้สุขภาพมุ่งสู่ประเทศไทย. นนทบุรี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2560.
ธัญชนก ขุมทอง, วิราภรณ์ โพธิศิริ, ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. ปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในจังหวัดอุทัยธานีและอ่างทอง. Veridian E-Journal 2559;3(6):67-85.
จิริสุดา ธานีรัตน์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ 2ส ในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานของบุคลากรโรงพยาบาลปทุมธานี. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร 2565;25(1):68-69.
อังศุมารินทร์ ปากวิเศษ, สมศักดิ์ อินทมาต. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพในการป้องกันโรคเบาหวานของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 2566;11(2):1-2.
ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์. การกำหนดขนาดตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงพรรณนาในงานสาธารณสุข. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ 2556; 16(2): 9-18.
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. เครื่องมือสำหรับวัยทำงานในหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 10 พ.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://hed.go.th/tool-hlhb/
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. เครื่องมือสำหรับวัยทำงานในหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ: คู่มือการใช้งานแบบประเมินและวิธีการดูรายงานผลแบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนวัยทำงานสำหรับหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในตำบลจัดการสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 10 พ.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://hed.go.th/tool-hlhb/
วิราภรณ์ คำรศ, พรนภา หอมสินธุ์, รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2562;33(2):140-57.
นิตยา เพ็ญศิรินภา, ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. การพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพในประชากรผู้ใหญ่ไทย. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2561;12(4):613-31.
วิชัย เอกพลากร และคณะ. (2020). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
Moser O, Riddell MC, Eckstein ML, et al. (2020). Glucose management for exercise using continuous glucose monitoring (CGM) and intermittently scanned CGM (isCGM) systems in type 1 diabetes: position statement of the European Association for the Study of Diabetes (EASD) and of the International Society for Pediatric and Adolescent Diabetes (ISPAD) endorsed by JDRF and supported by the American Diabetes Association (ADA). Diabetologia. 63(12):2501-2520. https://doi.org/10.1007/s00125-020-05263-9
Bailey SC, Brega AG, Crutchfield TM, Elasy T, Herr H, Kaphingst K, et al. Update on health literacy and diabetes. Diabetes Educ. 2014;40(5):581-604.
อารีย์ แสงรัศมี, สุพัตรา ศรีวณิชชากร, วิไลลักษณ์ ตั้งเจริญ. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาลศาสตร์. 2560;35(2):14-26.
Lee YJ, Shin SJ, Wang RH, Lin KD, Lee YL, Wang YH. Pathways of empowerment perceptions, health literacy, self-efficacy, and self-care behaviors to glycemic control in patients with type 2 diabetes mellitus. Patient Educ Couns. 2016;99(2):287-94.
ขวัญเรือน กิจรุ่งโรจน์, ธราดล เก่งการพานิช, มณฑา เก่งการพานิช. การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคเบาหวานโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2563;29(2):302-14.