ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรด้านความเชื่อของบุคคลกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการได้รับฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่เสี่ยง

ผู้แต่ง

  • อภิชา น้อมศิริ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • วิศรี วายุรกุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • อลิสสา รัตนตะวัน อาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ , พฤติกรรมการป้องกันฝุ่น , PM2.5, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรด้านความเชื่อของบุคคลกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการได้รับฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่เสี่ยง จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามออนไลน์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามแนวคิดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ โดยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค อยู่ระหว่าง .868 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณณา และวิเคราะห์หาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Correlation)
     ผลจากการศึกษา พบว่า รับรู้อุปสรรคในการป้องกันตนเอง การรับรู้ประโยชน์ในการป้องกันตนเอง และการรับรู้ความสามารถแห่งตนในการป้องกันตนเองมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการได้รับฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 .01 และ.001 ตามลำดับ และการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการได้รับฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนการรับรู้ความรุนแรงของการเกิดโรคไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการได้รับฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ข้อเสนอแนะการวิจัยครั้งนี้ คือ การนำปัจจัยตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพไปใช้กับกลุ่มเสี่ยงกลุ่มอื่น ๆ เพื่อนำผลการวิจัยมาหาข้อสรุปและกำหนดแนวทางในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในพื้นที่เสี่ยงต่อไป

References

กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดำเนินงานด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณี ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ปี 2563. [อินเทอร์เน็ต]. 2562. [เข้าถึงเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2563]. เข้าถึงจาก: http://envocc.ddc.moph.go.th/uploads/downloads/do_manual_PM2.5.pdf

กองการจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ. รายงานสถานการณ์และคุณภาพอากาศประเทศไทย สรุปข้อมูลรายเดือน (สถานี) [อินเตอร์เน็ต].2563 [เข้าถึงเมื่อ 24 เมษายน 2563]. เข้าถึงจาก http://air4thai.pcd.go.th/webV2/download.php

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย 77 ณ.วันที่ 31 ธันวาคม 2562. [อินเทอร์เน็ต]. 2562. [เข้าถึงเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2563]. เข้าถึงจาก: http://www.dop.go.th/th/know/1/275

วชิราภรณ์ คูณรังษีสมบูรณ์ โรงพยาบาลกรุงเทพ. ฝุ่น PM2.5 กับผู้สูงอายุ. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2563]. เข้าถึงจาก: https://www.bangkokhospital.com/th/disease-treatment/PM2.5-dust-and-the-elderly

เลขา ดีแท้. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมการป้องกันฝุ่นกับภาวะสุขภาพของพนักงานโรงโม่หิน. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2552.

สมฤกษ์ กาบกลาง อภิญญา บ้านกลาง และนันธินีย์ วังนันท์. การรับรู้ผลกระทบต่อสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน ของประชาชน ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย 2564, 11(2): หน้า 115 -123

อังศินันท์ อินทรกำแหง ร่วมกับกองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์การจัดทำสถานการณ์ความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจ าหมู่บ้าน (อสม.) ในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ. [อินเทอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 17 ธันวาคม 2563]. เข้าถึงจาก: http://bsris.swu.ac.th/upload/319381.pdf

กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย. การศึกษาการรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันสุขภาพ

จากฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5) ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. [เข้าถึงเมื่อ 17 ธันวาคม 2563]. เข้าถึงจาก: https://hia.anamai.moph.go.th/th/news-anamai/download/?did=205839&id=100490&reload=

กลุ่มเฝ้าระวังฝุ่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เรียนรู้ อยู่กับฝุ่น PM2.5. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 14 มีนาคม 2563]. เข้าถึงจาก https://www.chula.ac.th/wp-content/uploads/2019/10/chula-pm25-booklet-1.pdf

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุขกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. Fact sheet การเลือกและการใช้หน้ากาก N95 ที่ถูกต้อง: ความรู้สำหรับประชาชน. [อินเทอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2563]. เข้าถึงจาก: https://nih.dmsc.moph.go.th/data/data/fact_sheet/2_62.pdf

จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ. พฤติกรรมสุขภาพ: แนวคิด ทฤษฎี และการประยุกต์ใช้. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร. 2560, หน้า 67

Best, J. W. . Research in Education. (3Ed) New Jersey: Prentice Hall, Inc. 1977, P. 174-190

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

น้อมศิริ อ., วายุรกุล ว., & รัตนตะวัน อ. . (2024). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรด้านความเชื่อของบุคคลกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการได้รับฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่เสี่ยง. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(6), 307–317. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3580