ความสมดุลในชีวิตและการทำงาน การสนับสนุนทางสังคม และความเหนื่อยหน่ายในงาน ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
คำสำคัญ:
ความสมดุลในชีวิตและการทำงาน, การสนับสนุนทางสังคม, ความเหนื่อยหน่ายในงาน, เจ้าหน้าที่สาธารณสุขบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ระดับความสมดุลในชีวิตและการทำงาน การสนับสนุนทางสังคมและ ความเหนื่อยหน่ายในงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และเพื่อศึกษาอิทธิพลของความสมดุลในชีวิตและการทำงาน และการสนับสนุนทางสังคมที่มีต่อความเหนื่อยหน่ายในงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข กลุ่มตัวอย่างคือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวนทั้งสิ้น 158 คน เก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย โดยการนำแบบสอบถามที่สมบูรณ์แล้วไปแจกกลุ่มตัวอย่าง ตามจำนวนที่ได้คำนวณไว้ตามสัดส่วนโดยอธิบายถึงขั้นตอนและรายละเอียดของการตอบแบบสอบถาม ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยตนเอง เก็บรวบรวมแบบสอบถามพร้อมทั้งตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบบสอบถาม นำแบบสอบถามทั้งหมด มาวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติและตราจสอบความถูกต้องของข้อมูลทั้งหมด นำข้อมูลที่ได้มาบันทึกแบบบลงรหัส แล้วนำมาวิเคราะห์ และประมวลผลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์
ผลการวิจัยพบว่า ความสมดุลในชีวิตและการทำงาน อยู่ในระดับปานกลาง (= 3.54, SD = 0.61) การสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัวอยู่ในระดับปานกลาง (= 3.66, SD = 0.79) การสนับสนุนทางสังคมจากเพื่อนอยู่ในระดับสูง (= 3.80, SD = 0.76) การสนับสนุนทางสังคมจากคนสำคัญอยู่ในระดับสูง (= 3.77, SD = 0.63) ความเหนื่อยหน่ายในงานอยู่ในระดับปานกลาง (= 2.34, SD = 0.53) ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ พบว่าความสมดุลในชีวิตและการทำงานมีอิทธิพลทางลบต่อความเหนื่อยหน่ายในงาน (β = -0.663, p < .001) ในขณะที่การสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัวมีอิทธิพลทางบวก (β = 0.296, p < .001) การสนับสนุนทางสังคมจากเพื่อนมีอิทธิพลทางลบ (β = -0.411, p < .001) และการสนับสนุนทางสังคมจาก คนสำคัญมีอิทธิพลทางบวก (β = 0.556, p < .001) โดยร่วมกันทำนายความเหนื่อยหน่ายในงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ได้ร้อยละ 27.0 (R2 = 0.270)
References
กรมอนามัย. บทบาทของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการเฝ้าระวังและป้องกันโรค. กรุงเทพฯ: กรมอนามัย; 2563.
Maslach C. Burnout at work: A psychological perspective. New York: Psychology Press; 1982.
ธนพล บุญเลิศ, ศศิมาภรณ์ ชื่นอารมณ์, สร้างสรรค์ รัตนสงวนวงศ์. ความสัมพันธ์ระหว่างการเห็นคุณค่าในตนเอง ภาระงาน
ความเชื่อในอำนาจควบคุมกับความเหนื่อยหน่ายในการทำงาน. กรุงเทพฯ: คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.
Fisher S. A comparative study of work-life balance and job satisfaction of the employees working in business process outsourcing sector. IRA-International Journal of Management & Social Sciences. 2003;10(2):87-93.
Sarason IG, Sarason BR, Potter EH, Antoni MH. Life events, social support, and illness. Psychosomatic Medicine. 1985 Mar-Apr;47(2):156-63.
สายสัมพันธ์ จำปาทอง. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถของตนเอง คุณภาพชีวิตในการทำงาน และความเหนื่อยหน่ายในการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาลในกำกับของรัฐแห่งหนึ่ง [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2554.
ธัญทิพย์ กองม่วง. การศึกษาอิทธิพลของการสนับสนุนงานจากครอบครัวต่อการตั้งใจลาออกจากงานของพนักงาน ผ่านงานที่ขัดแย้งกับครอบครัวและความเหนื่อยหน่ายในงาน [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2558.
สุวภา สังข์ทอง. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเผชิญความเครียด การสนับสนุนทางสังคม และความเหนื่อยหน่ายในการทำงาน: กรณีศึกษา หน่วยงานราชการแห่งหนึ่งในสังกัดกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2554.
Fiorilli C, Schneider B, Buonomo I, Romano L. Family and nonfamily support in relation to burnout and work engagement among Italian teachers. Psychol Sch. 2019; 6(5). Available from: https://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1002/pits.22235
Sochos A, Bowers A, Kinman G. Work stressors, social support, and burnout in junior doctors: Exploring direct and indirect pathways. J Employ Couns. 2012;49(1):27-39. Available from: https://doi.org/10.1002/j.2161-1920.2012.00007
Woodhead EL, Northrop L, Edelstein B. Stress, social support, and burnout among long-term care nursing staff. J Appl Gerontol. 2016 ;35(1):84-105.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2555.
เกียรติสุดา ศรีสุข. ระเบียบวิธีวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3 ฉบับปรับปรุง; 2552