ผลของสื่อการสอนในรูปแบบแอนิเมชันเรื่อง “Newborn Jaundice” ต่อความรู้เรื่องการพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลือง ของนักเรียนพยาบาลทหารอากาศชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2567
คำสำคัญ:
สื่อแอนิเมชัน, ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด, การพยาบาลทารกแรกเกิดบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มทดสอบก่อนและหลังการทดลอง เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความรู้เรื่อง การพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลืองของนักเรียนพยาบาลทหารอากาศ ชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2567 ระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับชมสื่อแอนิเมชันเรื่อง “Newborn Jaundice” และกลุ่มควบคุมที่ได้รับเอกสารการสอนเรื่องการพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลืองแบบปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนพยาบาลทหารอากาศ ชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 60 คน โดยเลือกสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน โดยใช้วิธีจับคู่ให้มีคุณสมบัติเท่าเทียมกัน ในด้าน เพศ อายุ เกรดเฉลี่ยสะสม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ สื่อแอนิเมชันเรื่อง “Newborn Jaundice” เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความรู้เรื่องการพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลือง ได้ค่าความตรงตามเนื้อหาค่า IOC เท่ากับ 1.00 และหาค่าความเที่ยงได้ค่า KR-20 เท่ากับ 0.80 วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลด้วยสถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมานเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนความรู้เรื่องการพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลืองก่อนและหลังการทดลองด้วยสถิติ paired t-test และระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยสถิติ independent t-test
ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้เรื่องการพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลืองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) และกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องการพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลืองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)
References
วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ กรมแพทย์ทหารอากาศ. หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2566. วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ กรมแพทย์ทหารอากาศ 2566.
นาตยา พึ่งสว่าง. ผลของการใช้โปรแกรมการให้ความรู้ต่อการพัฒนาความรู้ และความสามารถของผู้ดูแลทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลืองและได้รับการรักษาโดยการส่องไฟ. วารสารพยาบาลทหารบก 2565; 23(3):486-93.
วรรณไพร แย้มมา และสุพัตรา นุตรักษ์. การพยาบาลเด็กที่มีภาวะเจ็บป่วย. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ: บริษัท นีโอดิจิตอล จำกัด; 2565.
จันทรมาศ เสาวรส. ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด: ปญหาที่ไม่ควรมองขาม. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ 2562; 9(1):99-109.
Edgar, D. Audiovisual Methods in Teaching. New York: Holt, Rinehart and Winston; 1969.
วราพร ดำจับ. การออกแบบสื่อแอนิเมชันเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน. วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี 2566; 9(1):1-20.
วิกานดา วิริยานุภาพพงศ์, เรวัติ วัชรสิทธิ์, ทิพย์เกษร วรรณภักตร์ และณัชชา สุทธิรุ่งเรือง. ผลของสื่อการ สอนในรูปแบบการ์ตูนแอนิเมชันต่อความรู้เรื่องการพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดผนังกั้นหัวใจห้องล่างรั่วของนักเรียนพยาบาลทหารอากาศชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2566. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน 2566; 8(3):779-86.
Polit, D. and Hungler, B. Nursing Research: Principle and Method, 6th ed.; Philadelphia: Lippincott Company; 1999.
เสรี ลาชโรจน์. หลักเกณฑ์และวิธีการวัดและประเมินผลการศึกษาในโรงเรียน. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2537.
แบบสอบถามของนักเรียนพยาบาลทหารอากาศชั้นปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนรายวิชาการพยาบาลเด็กและ วัยรุ่น.ภาควิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ; 2567.
Chotechuen K. ReadinessPreparation of Nursing Students for Practice in Antenatal Clinic According to the Concept of VARK. Journal of Prachomklao College of Nursing, Phetchaburi Province. 2021;4(3):15-25.