การปรับปรุงสถานีงานและท่าทางการทำงาน เพื่อลดความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ และความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อ สำหรับผู้ปฏิบัติงานในโรงงานผลิตชิ้นส่วนพลาสติกยานยนต์

ผู้แต่ง

  • วรพล สงชุม สาขาวิชาวิศวกรรมความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • เสรีย์ ตู้ประกาย สาขาวิชาวิศวกรรมความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ปิยะรัตน์ ปรีย์มาโนช สาขาวิชาวิศวกรรมความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • นันท์นภัสร อินยิ้ม สาขาวิชาวิศวกรรมความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • โกวิท สุวรรณหงษ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • วัฒนา จันทะโคตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี

คำสำคัญ:

การปรับปรุงสถานีงาน, การปรับปรุงท่าทางการทำงาน, การยศาสตร์, ประเมินความเสี่ยงการยศาสตร์, ที่พักเท้า

บทคัดย่อ

      การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์และประเมินความรู้สึกปวดเมื่อยล้า ของ ผู้ปฏิบัติงานในโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ประเภทพลาสติก ก่อนและหลังการปรับปรุงสถานีงานและท่าทางการทำงาน และเพื่อออกแบบปรับปรุงสถานีงานและท่าทางการทำงาน ให้ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ โดยทำการศึกษากับ ผู้ปฏิบัติงานในโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ประเภทพลาสติกแห่งหนึ่ง ซึ่งประกอบไปด้วยแผนกฉีดขึ้นรูปและแผนกบรรจุสินค้า จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินการยศาสตร์ท่าทางในการทำงานด้วยวิธี REBA (Rapid Entire Body Assessment) แบบสอบถามความรู้สึกปวดเมื่อยล้าของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานโดยใช้สถิติ Paired Samples T-Test
     ผลการวิจัยพบว่า ระดับความเสี่ยงทางการยศาสตร์ของพนักงานก่อนการปรับปรุงสถานีงานยังอยู่ในระดับสูงมาก (ค่าเฉลี่ย 11.20±1.014 และ 9.0±1.095) แต่หลังการปรับปรุงด้วยการออกแบบและติดตั้งตัวปรับระดับความสูงของโต๊ะทำงาน ความเสี่ยงทางการยศาสตร์ลดลงมาอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 4.07±1.033 และ4.50±2.811 ) นอกจากนี้ ระดับความรู้สึกปวดเมื่อยล้าของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ของผู้ปฏิบัติงานแผนกฉีดขึ้นรูปและแผนกบรรจุชิ้นงาน ก่อนปรับปรุงท่าทางการทำงานมีอัตราที่ลดลงหลังการปรับปรุงท่าทางการทำงานด้วยการออกแบบและติดตั้งที่พักเท้า ในพื้นที่ปฏิบัติงาน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการปรับปรุงสถานีงานร่วมกับการปรับปรุงท่าทางการทำงานส่งผลให้ความเสี่ยงทางการยศาสตร์ของพนักงานแผนกบรรจุสินค้าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05)

References

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ สถาบันยานยนต์. กลไกสำคัญของประเทศไทยเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต. [อินเตอร์เน็ต]. 2564. [สืบค้นเมื่อ 12 พ.ย. 67] เข้าถึงจาก: https://thaiauto.or.th/2020/th/news/?news_id=5293.

สมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน. การประเมินความเสี่ยงจากการทำงานโดยการใช้การประเมินด้านการยศาสตร์เพื่อการปรับปรุงงาน. [อินเตอร์เน็ต]. 2563. [สืบค้นเมื่อ 12 พ.ย. 67] เข้าถึงจาก: https://www.ohswa.or.th/17644133/ergonomics-make-it-simple-ep4.

สมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน. การยศาสตร์และปัจจัยเสี่ยงทางการยศาสตร์ที่ทำให้เกิด Musculoskeletal Disorders. [อินเตอร์เน็ต]. 2564. [สืบค้นเมื่อ 14 พ.ย. 67] เข้าถึงจาก: https://www.ohswa.or.th/17805876/ergonomics-and-workstation-design-series-ep1.

Hignett, S., & McAtamney, L. Rapid entire body assessment (REBA). Applied Ergonomics 2000; 31:201-205.

ศิวนาถ ปวรรณา. การประเมินและการลดความเสี่ยงทางการยศาสตร์ในการผลิตเสารั้วลวดหนาม : บริษัทพิบูลย์คอนกรีต จำกัด. [วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2562.

อรณิชา ยมเกิด, ปิยะวัฒน์ ตรีวิทยา และนิวิท เจริญใจ. การปรับปรุงท่าทางการนั่งทำงานของพนักงานในอุตสาหกรรมตีมีดด้วยหลักการยศาสตร์. วารสารวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2558; 22(3):10-20.

วรพล สงชุม, เสรีย์ ตู้ประกาย, ปิยะรัตน์ ปรีย์มาโนช, นันท์นภัสร อินยิ้ม, โกวิท สุวรรณหงษ์ และวัฒนา จันทะโคตร. การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ต่อความผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างของกลุ่มพนักงานที่ปฏิบัติงานในโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ประเภทพลาสติกแห่งหนึ่ง. วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2567; 9(3):153-159.

Kuorinka, I., Jonsson, B., Kilbom, A., Vinterberg, H., Biering-Sørensen, F., Andersson, G. & Jørgensen, K. Standardised Nordic questionnaires for the analysis of musculoskeletal symptoms. Applied Ergonomics 1987; 18(3):233–237.

DeLoach, L. J., Higgins, M. S., Caplan, A. B. & Stiff, J. L. The visual analog scale in the immediate postoperative period: intrasubject variability and correlation with a numeric scale. Anesthesia and Analgesia 1998; 86(1):102–106.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

สงชุม ว., ตู้ประกาย เ., ปรีย์มาโนช ป., อินยิ้ม น., สุวรรณหงษ์ โ., & จันทะโคตร ว. (2024). การปรับปรุงสถานีงานและท่าทางการทำงาน เพื่อลดความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ และความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อ สำหรับผู้ปฏิบัติงานในโรงงานผลิตชิ้นส่วนพลาสติกยานยนต์. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(6), 346–354. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3590