การพัฒนารูปแบบการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสตรีตำบลค่ายบกหวาน อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย
คำสำคัญ:
มะเร็งปากมดลูก, การพัฒนาระบบ, การคัดกรองบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์ บริบท ปัจจัย เกี่ยวกับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในพื้นที่ตำบลค่ายบกหวาน อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย 2) ศึกษาความรู้ และทัศนคติ ต่อการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 3) พัฒนารูปแบบการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่ และ 4) ศึกษาผลของรูปแบบการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่พัฒนาขึ้น มีรูปแบบเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ประชาชนเพศหญิงพื้นที่ตำบลค่ายบกหวาน อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย และอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ รพ.สต. บ้านนาฮี ที่มีอายุระหว่าง 30 – 60 ปี และไม่ได้เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกระหว่างปี 2564 – 2566 กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนเพศหญิง ที่อาศัยในพื้นที่ตำบลค่ายบกหวาน อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย และอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ รพ.สต. บ้านนาฮี จำนวน 9 หมู่บ้าน ที่มีอายุระหว่าง 30 – 60 ปี จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบทดสอบความรู้ แบบสอบถามทัศนคติ และรูปแบบการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่พัฒนาขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าร้อยละ (Percentage) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.) ค่าฐานนิยม (Mode) และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ก่อน หลังการใช้รูปแบบฯ ด้วยสถิติ Paired t-test
ผลการศึกษาพบว่า ในช่วงก่อนการพัฒนารูปแบบการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกกลุ่มตัวอย่างมีระดับความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกในระดับปานกลาง และมีทัศนคติในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในระดับต่ำ ผลการพัฒนารูปแบบการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกพบว่ารูปแบบที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 5 หัวข้อ ได้แก่ ชื่อรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ ขอบเขต นิยามศัพท์เฉพาะ และรูปแบบการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยเน้นการดำเนินงานเชิงรุกในชุมชน และใช้วิธีการให้กลุ่มเป้าหมายเก็บตัวอย่างเพื่อส่งตรวจด้วยตนเอง (HPV Self Sampling) หลังจากการนำรูปแบบไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีระดับความรู้ และระดับทัศนคติเพิ่มสูงขึ้นแตกต่างจากก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (ความรู้: Mean 5.975, SD. 2.258, p=0.00, ทัศนคติ: Mean 10.075, SD. 3.744, p=0.00)
References
สถาบันมะเร็งแหงชาติ. (2556). แผนการปองกันและควบคุมโรคมะเร็งแหงชาติ พ.ศ. 2556 - 2560. กรุงเทพฯ. โรงพิมพชุมนุมสหกรณการเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2560. (2561). Public Health Statistics A.D. 2017. [อินเทอร์เน็ต]. เข้าถึงเมื่อ 24 ธันวาคม 2566. จาก: https://spd.moph.go.th/wp-content/uploads/2022/11/Hstatistic60.pdf
กระทรวงสาธารณสุข. (2566). Health Data Center [Internet]. Available from: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php
จรัสศรี อินทรสมหวัง, กาญจนา ศรีสวัสด์. (2562). สมรรถนะของพยาบาลในการดูแลสตรีมะเร็งปากมดลูก. วารสารเกษมบัณฑิต. 20(1), 146 – 154.
กีรติยา พิทยะปรีชากุล และคณะ. (2565). ปัจจัยเสี่ยงของ มะเร็งปากมดลูกและการเปรียบเทียบการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดย 2 วิธี. วารสาร วิทยาศาสตร์สุขภาพแห่งประเทศไทย. 4(2), 87 – 94.
วิชุดา จิรพรเจริญ และคณะ (2552). ความชุกของมะเร็งปากมดลูกและพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก ของผู้ต้องขังหญิงในทัณฑสถานหญิงจังหวัดเชียงใหม่. วารสารสาธารณสุขล้านนา. 5(2), 161 – 169.
ปฏิพิมพ์ อยู่คง. (มปป). ผลของโปรแกรมการประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ต่อการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ของสตรี อายุ 30-60 ปี ในเทศบาลนครพิษณุโลก. [อินเทอร์เนต]. เข้าถึงเมื่อ 24 ธันวาคม 2566. จาก: https://hpc2appcenter.anamai.moph.go.th/academic/web/files/2566/research/MA2566-004-01-0000001026-0000001033.pdf
พุฒิตา พรหมวิอินทร์, โยทะกา ภคพงศ์ และ มยุรี นิรัตธราดร. (2558). การเปรียบเทียบความรู้และความเชื่อด้านสุขภาพในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีในจังหวัดสมุทรปราการ. [อินเทอร์เนต]. เข้าถึงเมื่อ 24 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จากhttps://cmudc.library.cmu.ac.th/frontend/Info/item/dc:50300.
สาวิตรี พรสินศิริรักษ์, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์, และนิรัตน์ อิมามี. (2554). ปัจจัยที่มีสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีไทยมุสลิม จังหวัดกระปี่. วารสารสุขศึกษา. 34(118), 57 – 67.
สุรีพร ศรีโพธิ์อุ่น, ลำพงษ์ ศรีวงค์ชัย, และพรรวินทร์ ธนินธิติพงษ์ (2566). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรู้ ต่อระดับความรู้เรื่องโรคและการตรวจคัดกรอง มะเร็งปากมดลูก ของสตรีอายุ 30–60 ปี ในเขตอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 17(2), 766 – 776.