การพัฒนาสมรรถนะแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านด้านการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, ผู้ป่วยเบาหวาน, สมรรถนะด้านการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน, โปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว เพื่อพัฒนาทักษะการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ด้านการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการจัดการความเครียดที่เหมาะสม ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 30 คน และเสริมสร้างพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการจัดการความเครียดที่เหมาะสมของผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการดูแลจากแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราชก่อนและหลังการได้รับการพัฒนาสมรรถนะ จำนวน 30 คน วิเคราะห์ ข้อมูลทั่วไป ด้วยค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเยี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Paired t-test
ผลการศึกษา พบว่า แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่เข้าร่วมโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะด้านการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน หลังการได้รับโปรแกรมฯ มีสมรรถนะสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 โดยมีคะแนนความรู้ก่อนได้รับการพัฒนาสมรรถนะเฉลี่ย 8.96 (S.D. = 1.82) และหลังได้รับการพัฒนาสมรรถนะมีคะแนนความรู้เฉลี่ย 12.53 (S.D. = 1.40) ในส่วนของการพัฒนาทักษะการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ด้านการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการจัดการความเครียดที่เหมาะสม หลังการได้รับโปรแกรมฯ สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 โดยมีคะแนนทักษะการดูแลผู้ป่วยก่อนได้รับการพัฒนาสมรรถนะฯ เฉลี่ย 33.56 (S.D. = 6.31) และคะแนนทักษะการดูแลผู้ป่วยหลังได้รับการพัฒนาสมรรถนะฯ เฉลี่ย 37.10 (S.D. = 4.05) ในส่วนของความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานของผู้ป่วยเบาหวาน หลังการได้รับการพัฒนาสมรรถนะสูงกว่าก่อนการได้รับการดูแลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 โดยก่อนได้รับการดูแล ผู้ป่วยมีคะแนนความรู้เฉลี่ย 9.16 (S.D. = 2.15) และหลังได้รับการดูแลผู้ป่วยมีคะแนนความรู้เฉลี่ย 12.86 (S.D. = 1.59) พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานด้านการควบคุมอาหาร และด้านจัดการความเครียด พบว่า คะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานก่อนการได้รับคำแนะนำสูงกว่าหลังได้รับคำแนะนำ ส่วนด้านพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานด้านการออกกำลังกาย ด้านการพักผ่อน และด้านการใช้ยา พบว่า คะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานหลังการได้รับการแนะนำสูงกว่าก่อนการได้รับการแนะนำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. จำนวนและอัตราผู้ป่วยในด้วยโรคเบาหวาน (ราย) ปี พ.ศ. 2554-2555 [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 7 ส.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/information-statistic/non-communicabledisease-data.php
เวธกา กลุ่นวิชิต, พิสิษฐ์พิริยาพรรณ, พวงทอง อินใจ. การศึกษาภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานและกลุ่มอาการเมตะบอลิคการรับรู้พฤติกรรม การส่งเสริมสุขภาพ และการสนับสนุนทางสังคม. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2553;3(2):86-89.
โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์, ปารณัฐ สุขสิทธิ์. อาสาสมัครสาธารณสุข: ศักยภาพและบทบาทในบริบทสังคมไทยที่เปลี่ยนไป. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2550;1(3-4):268-279.
นิดา มีทิพย์, เดชา ทำดี, ประพิมพ์ พุทธิรักษ์กุล. ผลของการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ต่อความรู้และการปฏิบัติการคัดกรองและการให้คำแนะนำโรคความดันโลหิตสูงของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารพยาบาลสาร 2559;43(ฉบับพิเศษ):104-115.
เสาวลักษณ์ ภารชาตรี. ผลของโปรแกรมส่งเสริมความยืดหยุ่นทางอารมณ์ต่อความเครียดของนักเรียนที่เตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2551. doi:10.14457/CMU.the.2008.934
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพฯ: คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
กมลทิพย์ ทิพย์สังวาลย์, นิธิพงศ์ ศรีเบญจมาศ, ประจวบ แหลมหลัก. ผลโปรแกรมการพัฒนาสมถรรถนะอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารมนุษยศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 2561;12(1):275-291.