ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรู้ในการจำหน่ายยาอย่างปลอดภัยสำหรับผู้ประกอบการร้านชำในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวนาคำ อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • มยุเรศ ฤทธิ์ทรงเมือง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวนาคำ

คำสำคัญ:

โปรแกรมส่งเสริมความรู้, การจำหน่ายยา, ผู้ประกอบการร้านชำ

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) แบบ 2 กลุ่ม วัดผลก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และติดตามผลหลังการทดลอง 1 เดือน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมความรู้ในการจำหน่ายยาอย่างปลอดภัยสำหรับผู้ประกอบการร้านชำในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวนาคำ อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ประกอบการร้านชำที่จำหน่ายยา จำนวน 36 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ด้วยวิธีเลือกแบบจับคู่อย่างมีระบบ กลุ่มละ 18 คน โดยกลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมฯ และกลุ่มควบคุมจะได้รับการเฝ้าระวังและสุ่มตรวจร้านตามปกติ ระยะเวลาในการวิจัยตั้งแต่เดือน มิถุนายน 2567 ถึง กันยายน 2567 รวม 4 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมส่งเสริมความรู้ในการจำหน่ายยาอย่างปลอดภัยสำหรับผู้ประกอบการร้านชำ, สื่อ/อุปกรณ์การอบรม, แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล, แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการจำหน่ายยาอย่างปลอดภัย, แบบสอบถามความคาดหวังต่อการจำหน่ายยาอย่างปลอดภัย และแบบทดสอบการตัดสินใจเลือกซื้อยามาจำหน่ายในร้านชำ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติ Independent t – test และสถิติ Repeated Measure ANOVA ด้วยเทคนิค LSD
     ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังได้รับโปรแกรมฯ กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ในการจำหน่ายยาอย่างปลอดภัยมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) คะแนนเฉลี่ยความคาดหวังต่อการจำหน่ายยาอย่างปลอดภัยมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) และค่าคะแนนเฉลี่ยการตัดสินใจเลือกซื้อยามาจำหน่ายในร้านชำมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) เมื่อติดตามผลหลังการทดลอง 1 เดือน กลุ่มทดลองยังคงมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทุกด้าน ทั้งด้านความรู้ (p < 0.001) ความคาดหวัง (p < 0.001) และการตัดสินใจเลือกซื้อยา (p < 0.001) โดยด้านการตัดสินใจยังมากกว่าระยะหลังการทดลองทันทีอีกด้วย (p < 0.001) จากผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมฯมีประสิทธิผลในการพัฒนาผู้ประกอบการร้านชำทั้งด้านความรู้ ความคาดหวัง และการตัดสินใจเลือกซื้อยามาจำหน่าย ดังนั้นควรนำไปใช้สำหรับพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการร้านชำในการจำหน่ายยาอย่างปลอดภัย พร้อมทั้งสนับสนุนงบประมาณและทรัพยากรที่จำเป็นในการขยายผลโปรแกรมฯ ให้ครอบคลุมพื้นที่ต่อไป

References

World Health Organization. The rational use of drugs. Report of the Conference of Experts Nairobi 25-29 November 1985. Geneva: WHO; 1985.

World Health Organization. Promoting rational use of medicines: core components. Geneva: WHO; 2002.

Kongnakorn T, et al. Economic burden of antimicrobial resistance and inappropriate empiric treatment in Thailand. Antimicrobial Stewardship & Health Care Epidemiology; 2023; 31. doi:10.1017/ash.2023.169.

สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ. แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข); 2560[เข้าถึงเมื่อ 21 มกราคม 2567]เข้าถึงได้จาก: http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABIN FOCENTER2/DRAWER023/GENERAL/DATA0000/00000077.PDF.

กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานพัฒนาระบบการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน. นนทบุรี: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2563.

จันทร์จรีย์ ดอกบัว, รัตนาภรณ์ ขันติมัง, หทัยรัตน์ พุกสะอาด และณัฐพร สู่หนองบัว. สถานการณ์การจำหน่ายยาในร้านขายของชำ อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ. 2564;1(1):37-44.

อัญชลีน ณ พัทลุง. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการนำยาที่ไม่เหมะสมเข้ามาจำหน่ายในร้านชำในจังหวัดภูเก็ต. วารสารการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ. 2567;4(1):95-114.

นพมาศ จันทร์ลออ. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการจำหน่ายยาอันตรายในร้านขายของชำ อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง. วารสารการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ. 2566;3(2):147-160.

ธนพงศ์ ภูผาลี, สมศักดิ์ อาภาศรีทองสกุล, วิษณุ ยิ่งยอด, ตฤณ แสงสุวรรณ, ลัดดา อำมาตร. รูปแบบการพัฒนาร้านชำแบบชุมชนมีส่วนร่วม ตำบลโพนสูง จังหวัดสกลนคร. วารสารอาหารและยา. 2557;21(3):57-63.

Krejcie, Robert V., & Morgan, Daryle W. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 1970; 30(3): 607-610.

Bloom, B.S. (Ed.). Engelhart, M.D., Furst, E.J., Hill, W.H., Krathwohl, D.R. Taxonomy of Educational Objectives, Handbook I: The Cognitive Domain. New York: David McKay Co Inc; 1956.

Vroom, H Victor. Work and Motivation. Now York : Wiley and Sons Inc; 1964.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร; 2546.

กาญจนา เสียงใส, ลีลาวดี ศรีสอน และนริศรา พรมบุตร. การพัฒนาแนวทางเพื่อลดการจำหน่ายยาผิดกฎหมายของร้านชำในอำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2565;14(1): 62-69.

นพมาศ จันทร์ละออ. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการจำหน่ายยาอันตรายในร้านขายของชำ อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง. วารสารการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (Online). 2566;3(2):147-160

จักรี แก้วคำบง และคณะ. การพัฒนาร้านชำต้นแบบจากโครงการส่งเสริมการใช้ยาอย่างปลอดภัยในชุมชนจังหวัดนครราชสีมา. วารสารการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ. 2567;4(1): 227-248.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

ฤทธิ์ทรงเมือง ม. . (2024). ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรู้ในการจำหน่ายยาอย่างปลอดภัยสำหรับผู้ประกอบการร้านชำในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวนาคำ อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ . วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(6), 412–420. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3602