ผลของโปรแกรมการจัดการรายกรณีต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยยาเสพติดที่มีโรคจิตเภทร่วมในโรงพยาบาลธัญญารักษ์ปัตตานี
คำสำคัญ:
โปรแกรมการจัดการรายกรณี, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, ผู้ป่วยยาเสพติดที่มีโรคจิตเภทร่วมบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการรายกรณีต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยยาเสพติดที่มีโรคจิตเภทร่วม ดำเนินการวิจัยในเดือนพฤษภาคม - กันยายน 2567 กลุ่มตัวอย่าง 24 คน เป็นผู้ป่วยยาเสพติดที่มีโรคจิตเภทร่วมที่เข้ารับการรักษาในระยะบำบัดด้วยยา โรงพยาบาลธัญญารักษ์ปัตตานี คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย (1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป (2) แบบประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเอง และ (3) โปรแกรมการจัดการรายกรณี สำหรับเครื่องมือแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และโปรแกรมการจัดการรายกรณีผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน ได้ค่าความสอดคล้องตามวัตถุประสงค์ เท่ากับ 1.0 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติทีคู่ (paired t-test)
ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองหลังได้รับโปรแกรมการจัดการรายกรณี มากกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -30.06, p < .001) สรุปได้ว่าโปรแกรมการจัดการรายกรณีมีประสิทธิผลสามารถเพิ่มพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยยาเสพติดที่มีโรคจิตเภทร่วมได้
References
โรงพยาบาลธัญญารักษ์ปัตตานี. สถิติผู้เข้ารับการบำบัดรักษา. ปัตตานี: โรงพยาบาลธัญญารักษ์; 2567.
บุญศิริ จันศิริมงคล. โปรแกรมบูรณาการการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยสุราและยาเสพติดที่มีโรคร่วมทางจิตเวช. กรุงเทพฯ: พรอสเพอรัส; 2558.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงสำหรับสถาบัน/โรงพยาบาล สังกัดกรมสุขภาพจิต. กรุงเทพฯ: พรอสเพอรัสพลัส จำกัด; 2563.
สุทิสา ถาน้อย. สมองและสารสื่อประสาทความผิดปกติในภาวะติดสารเสพติด. พิษณุโลก: รัตนสุวรรณการพิมพ์; 2561.
สยาภรณ์ เดชดี, วินีกาญจน์ คงสุวรรณ. การพัฒนาและผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังสุขภาพจิตร่วมกับการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อความเข้มแข็งในการมองโลกและพลังสุขภาพจิตในผู้ป่วยโรคจิตจากสารเสพติด. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2562;27(3):196-210.
วีรพล ชูสันเทียะ, สมเดช พินิจสุนทร. ผลกระทบจากการใช้สารเสพติดในผู้ป่วยเข้ารับการบำบัดรักษาในโรงพยาบาลธัญญารักษ์อุดรธานี: กรณีศึกษา. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2560;5(3):523-533.
ศุภาพิชญ์ มณีนาค. ความสัมพันธ์ระหว่างอาชญากรรมยาเสพติดและอาชญากรรมเกี่ยวกับทรัพย์. วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ. 2563;6(1):133-148.
ปุณยนุช สุทธิพงค์, จุฑามาศ สุวรรณวัฒน์, อรวรรณ หนูแก้ว, วีณา คันฉ้อง, พิเชษฐ์ สุวรรณจินดา, กรวิกา บวชชุม, ธนิกา คชรัตน์, จุฑารัตน์ ประพันธ์ไพโรจน์. แนวทางการดูแลแบบการจัดการรายกรณี สำหรับผู้ป่วยจิตเวชยุ่งยากซับซ้อนในชุมชน. สงขลา: สยามพริ้นติ้ง; 2565.
Finkelman AW. Case management for nurses. Pearson Education, Inc.; 2021.
สยาภรณ์ เดชดี, อรวรรณ หนูแก้ว. การพัฒนาและผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคจิตจากสารเสพติด. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2564;35(1):91-111.
กชพร เผือกผ่อง, นุชนาถ บรรทุมพร, ชมชื่น สมประเสริฐ. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการควบคุมตนเองของผู้เสพติดแอมเฟตามีน. วารสารยาบาลทหารบก. 2561;19:118-128.
Maj M, van Os J, De Hert M, Gaebel W, Galderisi S, Green MF, Guloksuz S, Harvey PD, Jones PB, Malaspina D, McGorry P, Miettunen J, Murray RM, Nuechterlein KH, Peralta V, Thornicroft G, van Winkel R, Ventura J. The clinical characterization of the patient with primary psychosis aimed at personalization of management. World Psychiatry. 2021;20(1):4-33. doi:10.1002/wps.20809.
ปาริชาติ ขุนศรี. ผลการจัดการรายกรณีผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติดที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง (SMI–V) หอผู้ป่วยใจสว่าง โรงพยาบาลสกลนคร. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร. 2567;27(1):68-82.
Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. 2nd ed. Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers; 1988.
Grove SK, Burns N, Gray JR. The practice of nursing research: appraisal, synthesis, and generation of evidence. 7th ed. St. Louis, MO: Saunders; 2013.
Srijan K, Kongsuwan V, Pummanee T. Mentalization-Based Group Therapy Intervention for Males with Amphetamine Dependence: A Quasi-Experimental Study. PRIJNR [Internet]. 2024 Sep. 18 [cited 2024 Dec. 11];28(4):872-84. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/PRIJNR/article/view/267565
Isaramalai S. Development of a cross-cultural measure of the self-as-carer inventory questionnaire for the Thai population. Doctoral dissertation, University of Missouri-Columbia, USA; 2002.
ศุภฤกษ์ นาคดิลก. อุบัติการณ์ของผู้ป่วยที่ใช้สารเมทแอมเฟตามีนซ้ำในสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.). วารสารวิชาการเสพติด. 2563;6(1):47-58.
ไกรวุฒิ ศรีจันทร์, อัญชลี เจตวรานนท์, รัชณีย์ วรรณขาม, ทิพสุคนธ์ มูลจันที. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการกลับไปเสพซ้าในผู้ติดยาเสพติดชนิดผสมผสาน: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 2567;16(3):149-172.
ทองพูน ชุาบุญมี. ผลของการดูแลแบบการจัดการรายกรณีในชุมชนที่มีต่ออาการทางจิตของผู้ป่วยจิตเภทที่ซับซ้อน อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ. 2567;5(3):137-145.
นุษณี เอี่ยมสอาด, ปพิชญา ทวีเศษ, พรเลิศ ชุ่มชัย. ผลการจัดการรายกรณีต่อความสามารถโดยรวมของผู้ป่วยจิตเภทที่มีความเสี่ยงก่อความรุนแรง. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. 2563;14(1):10-22.