ผลของรูปแบบการปฏิบัติการพยาบาลและการประเมินความเสี่ยงต่อการป้องกันการตกเลือดหลังคลอดระยะแรก โรงพยาบาลเขาวง
คำสำคัญ:
ภาวะตกเลือดหลังคลอด, รูปแบบการปฏิบัติการพยาบาล, การประเมินความเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอดบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental research) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอัตราการตกเลือด อัตราความรุนแรงของการตกเลือดหลังคลอด และความพึงพอใจของพยาบาลต่อการใช้รูปแบบการปฏิบัติการพยาบาลและการประเมินความเสี่ยงการตกเลือดหลังคลอดระยะแรก โรงพยาบาลเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายน 2567 – เดือนสิงหาคม 2567 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ข้อมูลในเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ที่บันทึกภาวะสุขภาพ (การสูญเสียเลือดจากการคลอดทางช่องคลอด) และรายงานการคลอดของมารดาที่คลอดทางช่องคลอดที่บันทึกในโปรแกรม HOSxP แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มก่อนใช้รูปแบบฯ จำนวน 15 คน กลุ่มหลังใช้รูปแบบฯ จำนวน 15 คน และพยาบาลที่ปฏิบัติงานในห้องคลอดอย่างน้อย 12 เดือน จำนวน 5 คน เครื่องมือวิจัย คือ รูปแบบการปฏิบัติการพยาบาลและการประเมินความเสี่ยงการตกเลือดหลังคลอดระยะแรก แบบประเมินความเสี่ยง และแบบสอบถามความพึงพอใจสำหรับพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติเชิงพรรณนา และปรียบเทียบอุบัติการณ์ตกเลือดก่อนและหลังการใช้รูปแบบการปฏิบัติการพยาบาลข้อมูลที่ได้นำมาทดสอบวิเคราะห์ด้วยสถิติทดสอบฟิชเชอร์ (Fisher’s exact probability test)
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มผู้คลอดทางช่องคลอดที่ได้รับการดูแลโดยใช้รูปแบบการปฏิบัติการพยาบาลและการประเมินความเสี่ยงการตกเลือดหลังคลอดระยะแรก มีอัตราการตกเลือดหลังคลอดในระยะแรกแตกต่างกับกลุ่มผู้คลอดทางช่องคลอดที่ได้รับการดูแลตามปกติ (p = < 0.001) กลุ่มผู้คลอดทางช่องคลอดที่ได้รับการดูแลโดยใช้รูปแบบฯ มีอัตราความรุนแรงของการตกเลือดหลังคลอดในระยะแรกน้อยกว่ากลุ่มผู้คลอดทางช่องคลอดที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = < 0.001) พยาบาลมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบฯ ในระดับมาก 5 คน (ร้อยละ 100) โดยพยาบาลร้อยละ 100 มีความคิดเห็นว่าแนวปฏิบัติดังกล่าวสามารถป้องกันการเกิดการตกเลือดหลังคลอดระยะแรกในห้องคลอดรวมทั้งสามารถปฏิบัติตามได้ทุกข้อ และสามารถใช้รูปแบบฯ ได้อย่างต่อเนื่อง
References
นววรรณ มณีจันทร์ และอุบล แจ่มนาม. ศึกษาประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอดในระยะแรกโรงพยาบาลราชบุรี. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 2559; 31(1): 143-155
สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) กระทรวงสาธารณสุข. เวทีสัมมนาออนไลน์ “ชี้เป้าภาระโรค: ลดเสี่ยงเตรียมพร้อมเพื่อลูกรัก” จัดโดยโครงการเสริมสร้างศักยภาพการศึกษาดัชนีภาระโรคแห่งประเทศไทย (BOD Thailand) สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) กระทรวงสาธารณสุข วันที่ 7 สิงหาคม 2566 https://www.thaihealth.or.th/?p=345473
สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล. การป้องกันการตกเลือดใน 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด: บทบาทผดุงครรภ์. วารสารพยาบาล ศาสตร์และสุขภาพ 2557;37(2):155-62
พิกุล นันทชัยพันธ์. (2547). เอกสารประกอบการบรรยายการพัฒนาคุณภาพการพยาบาล โดยอาศัยหลักฐานความรู้ชิงประจักษ์ในการอบรม. จัดโดยศูนย์ความรู้เชิงประจักษ์ทางการพยาบาลและผดุงครรภ์แห่งประเทศไทย, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ปทุมมา กังวานตระกูล, อ้อยอิ่น อินยาศรี. (2560). การพัฒนาแนวทางปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอดในระยะ 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอดในห้องคลอด โรงพยาบาลอุดรธานี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี, 33(2):121-134.
เฟื่องลดา ทองประเสริฐ. ตำราภาวะฉุกเฉินทางสูติ – นรีเวช. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2557.
WHO, UNICEF, UNFPA, World Bank Group and the United Nations Population Division. Trends in Maternal Mortality: 1990 to 2015. Geneva: WHO; 2015: 16-21. แอนด์ เซอร์วิส.
จิตร สิทธอมร, อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล, สงวนสิน รัตนเลิศ, และ เกียรติศักดิ์ ราชบรีรักษ์. (2543).Clinical practice guideline: การจัดทำและการนำไปใช้. กรุงเทพฯ: ดีไซร์.
ณฐนนท์ ศิริมาศ,ปิยรัตน์ โสมศรีแพง, สุพางค์พรรณ พาดกลาง, จีรพร จักษุจินดา. การพัฒนาระบบการดูแล หญิงตั้งครรภ์ในการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดในโรงพยาบาลสกลนคร. วารสารการพยาบาลและการ ดูแลสุขภาพ 2557;32(2):37-46.
ลัดดาวัลย์ ปลอดฤทธิ์, สุชาตา วิภวกานต์, อารีกิ่งเล็ก. การพัฒนาแนวปฏิบัติการป้องกันการตกเลือดหลัง คลอดระยะแรกในห้องคลอด โรงพยาบาลกระบี่. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุข ภาคใต้2559;3(3):127-141.