ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนความรู้และทักษะการจัดการตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุม น้ำตาลในเลือดไม่ได้ โรงพยาบาลเขาวง
คำสำคัญ:
โปรแกรมปรับเปลี่ยนความรู้และทักษะการจัดการตนเอง, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมน้ำตาลในเลือดไม่ได้, ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนความรู้และทักษะการจัดการตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โรงพยาบาลเขาวง ต่อความรู้ พฤติกรรม และระดับน้ำตาลในเลือด จำนวน 120 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 60 คน และกลุ่มทดลอง 60 คน กลุ่มควบคุมไม่ได้รับโปรแกรม กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมฯ ระยะเวลา 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ประกอบด้วย 1) โปรแกรมปรับเปลี่ยนความรู้และทักษะการจัดการตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โรงพยาบาลเขาวง 2) เครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดอัตโนมัติ fasting blood glucose และแบบบันทึกระดับน้ำตาลในเลือด 3) แบบทดสอบความรู้ของผู้ป่วยเบาหวาน มีค่าความเชื่อมั่น 0.84 4) แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพการปฏิบัติตัวในการควบคุมโรคเบาหวาน มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที ได้แก่ paired t-test, Independent t-test และสถิติทดสอบแบบนอนพาราเมตริก ได้แก่ Wilcoxon-signed rank test และ Mann Whitney U test
ผลการวิจัย พบว่า 1) ภายหลังการใช้วง ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การตั้งเป้าหมาย 2) การรวบรวมข้อมูล 3) การวิเคราะห์และประเมินข้อมูล 4) การตัดสินใจ 5) การปฏิบัติ ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) สอนให้ความรู้ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ. 3 ลด. 2) การสนับสนุนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยการติดตามเยี่ยมบ้าน ประเมินความสามารถของตนเองการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามบริบทของผู้ป่วย โดยมีระยะเวลาการดำเนินการตามโปรแกรมทั้งหมด 4 ครั้ง และ 6) การสะท้อนผลการปฏิบัติหรือการประเมินตนเอง ส่งผลต่อระดับค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ พฤติกรรม และระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ดีกว่าก่อนการใช้โปรแกรมฯ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ p-value<.052) ภายหลังการใช้โปรแกรมฯ ส่งผลต่อระดับค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ พฤติกรรม และระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 กลุ่มทดลองดีกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ p-value< .05
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564, 13 พฤศจิกายน). กรมควบคุมโรค เผยสถานการณ์โรคเบาหวานทั่วโลก มีผู้ป่วยแล้ว 537 ล้านคน มีส่วนทําให้เสียชีวิต สูงถึง 6.7 ล้านคน หรือเสียชีวิต 1 ราย ในทุกๆ 5 วินาที. https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/181256/
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. HDC, 2566
กระทรวงสาธารณสุข. (2565). ทบทวนตัวชี้วัดเพื่อกํากับติดตามคุณภาพบริการด้านโรคไม่ติดต่อ พ.ศ.2563-2566 .นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กองโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข.
Akaratanapol, P., Aumaor, T., Khungtumneam, K., Limteerayos, P., Pidet, K., Phuangprasonka, R., Phuthasane, C., ... & Kompayak, J. (2021). Risk to major complicationsamong diabetic and hypertensive Patients in Nong-Prue health promoting hospital, Bangphli, Samutprakan. APHEIT Journal of Nursing and Health, 3(2), 37-52.
Rakchim A, Lerkiatbundit S, Saengcharoen W. Factors affecting blood sugar control among diabetes mellitus type 2 patients in Pak Phanang hospital at Nakhon Si Thammarat province.
Diabetes Clinic Public Health Center 47 Khlong Khwang disease registration. Bangkok: Public Health Center 47 Khlong Khwang; 2017. (in Thai)
Wankham C, Wattana C, Khampalikit S. The effects of a self-management program on hypertension-controlling behaviors and mean arterial pressure among persons with hypertension. Nursing Journal 2015;42(1):49-60. (In Thai).
วิชัย เทียนถาวร. (2556). ระบบเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกัน โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในประเทศไทย:นโยบายสู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 3 ปรับปรุง). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด
Creer, L.T. (2000). Self-management at chronic illness. Handbook at self-regulation. California: Academic.
Kongsakul S. The effects of a self-management skill training program on self-management behaviors regarding glycemic control and blood sugar level among persons with type 2 diabetes mellitus (master’s thesis). Pathumthani: Thammasat University;2009. (in Thai).
Nato S, Vannarit T, Somrarnyart M. Effects of self-management promotion through diabetic camp participation on glycemic control behaviors and hemoglobin A1C level among persons with type 2 diabetes. Nursing Journal 2016;43(4):92-104. (in Thai).