รูปแบบการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • กลมลี แสนบุดดา โรงพยาบาลห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ, กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนหลัง (Quasi Experiment Research by one group pre – post design) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง และศึกษารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ มีระยะเวลาในการศึกษาระหว่าง เดือน กันยายน ถึง เดือน พฤศจิกายน 2567 รวม 3 เดือน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 60 คน ตามเกณฑ์คัดเข้า เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent t – test
     ผลการศึกษา พบว่า หลังการดำเนินการความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด และ ก่อนและหลังการดำเนินการ โดยรวมและรายด้าน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยที่หลังการดำเนินการความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ ดีกว่าก่อนการดำเนินการ

References

World Health Organization. (2023). Hypertension. Online 14 January 2024. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/hypertension

กรมควบคุมโรค.(2566). กรมควบคุมโรค แนะประชาชนวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ “รู้เลข รู้เสี่ยง เลี่ยงโรคไม่ติดต่อ”. ออนไลน์ สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2567

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค.(2565). กรมควบคุมโรค แนะประชาชนใส่ใจสุขภาพ วัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง. ออนไลน์ สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2567 https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=25290&deptcode=brc&news_views=294

อังศินันท์ อินทรกำแหง.(2560). การสร้างและพัฒนาเครื่องมือความรอบรู้ด้านสุขภาพของคนไทย. รายงานฉบับสมบูรณ์. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=34117&deptcode=brc

สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ.(2564). คู่มือกระบวนการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ. นนทบุรี: บริษัท อาร์ เอ็น พี พี วอเทอร์ จำกัด

เสถียร โนนน้อย.(2567). ผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ 2ส ของประชาชนในเขตตำบลพิงพวย อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ. 3(1). 46-60

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. (2566) ข้อมูลจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์

เอื้อมพร ประวาฬ. (2567). ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ที่มารับบริการที่คลินิกความดันโลหิตสูงของ กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวมโรงพยาบาลพรเจริญ จังหวัดบึงกาฬ. รายงานการวิจัย. โรงพยาบาลพรเจริญ ออนไลน์ สืบค้นเมื่อ 17สิงหาคม 2567 https://bkpho.moph.go.th/ssjweb/bkresearch/require/files/post-doc/20240418133035.pdf

ปวิตรา ทองมา.(2563). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและผลลัพธ์ทางสุขภาพในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. 13(1). 50-62

สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์. (2555) คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง, สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก

สมศรี ภูแพง. (2567). รูปแบบการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกุดโดน. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน. 9(4). 526-34

วรรณภา ประทุมโทน พนารัตน์ เจนจบ สมตระกูล ราศิริ นันทวรรณ ธีรพงศ์.(2562). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพแบบมีส่วนร่วมต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพและสถานะสุขภาพของบุคลากร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี. วารสารวิชาการสาธารณสุข ปีที่ 28 ฉบับพิเศษ พฤษภาคม - มิถุนายน 2562

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

แสนบุดดา ก. (2024). รูปแบบการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(6), 181–189. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3627