การพัฒนารูปแบบการจัดการอาการปวดผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
การจัดการความปวด, มะเร็ง, ระยะท้ายบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการพัฒนาและประเมินผลรูปแบบการจัดการอาการปวดผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย อำเภอยางสีสุราช จากการดำเนินงานกันยายน 2565- ตุลาคม 2566 ผู้มีส่วนร่วมวิจัย 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มที่ร่วมพัฒนารูปแบบ ประกอบด้วย ทีมสหวิชาชีพในรพ./รพ.สต. อสม.และ CG ในชุมชน รวม 43 คน 2) ผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายและครอบครัว 20 คน ขั้นตอนวิจัย ศึกษาปัญหาและสถานการณ์ จากการทบทวนอุบัติการณ์ ประชุมระดมสมอง ทบทวนเวชระเบียน สังเกตการดูแล หลังจากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อนำสู่การ พัฒนารูปแบบฯ นำไปใช้ปรับปรุงตามวงรอบและประเมินผล เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบประเมินระดับการปวด แบบบันทึกการเยี่ยมบ้านโดยทีมสหวิชาชีพ แบบสังเกตการปฏิบัติการพยาบาล แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติ ซึ่งดัดแปลงมาจากแบบประเมินของสำนักพยาบาล การวิเคราะห์ข้อมูล เชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณโดย จำนวน ค่าเฉลี่ยและร้อยละ
ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการจัดการอาการปวดผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย อำเภอยางสีสุราช คือ P-A-I-N Model ประกอบด้วย 1) Pain & Performance : การประเมินอาการปวดและความสามารถในการช่วยเหลือทั้งเจ้าหน้าที่และผู้ดูแลในครอบครัว มีการกำหนด กำกับติดตาม แนวทางประเมินความปวดที่ชัดเจน 2) Assurance of guiline : มีแนวทางปฏิบัติ คู่มือการจัดการความปวด 3) Information & Communication: การบันทึกข้อมูล Pain score การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ พัฒนา Link ในการประเมินอาการปวด มี PCWN ระหว่างหน่วยงานและผู้ดูแลที่บ้านเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลและคลิปสั้นการให้ยา 4 ) Net Work : เครือข่ายเข้มแข็งโดยการมีส่วนร่วมของทีมสหวิชาชีพและผู้ดูแลในชุมชน พบว่าระดับคะแนนความปวดผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายจากระดับรุนแรงหลังได้รับการจัดการ 48 ชม.พบว่าลดลงร้อยละ50 และผู้ป่วยและครอบครัวมีความพึงพอใจต่อการจัดการความปวดอยู่ในระดับมาก (Mean=4.57,S.D 0.54) เครือข่ายบริการในชุมชนมีความพึงพอใจในในการประเมินโดยใช้ Link ประเมิน PPS score อสม.และCG มีทักษะและความมั่นใจเกี่ยวกับการดูแลอาการปวดเพิ่มขึ้น
References
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ.ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล พ.ศ.2565 กลุ่มงานดิจิตัลทางการแพทย์ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรุงเทพฯ[อินเตอร์เน็ต].2565[เข้าถึงเมื่อ 2565 ต.ค.10]เข้าถึงได้จาก: https://www.nci.go.th/e_book/hosbased_2565/index.html
พุทธพร แก้วมีศรี, ลัดดาวัลย์ เส็งกันไพร. การแพร่กระจายของมะเร็ง และเป้าหมายสำหรับการรักษา ศรีนครินทร์เวชสาร. 2562; 34(2): 211-226
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.แนวทางการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองระยะท้าย.พิมพ์ครั้งที่3.กรุงเทพฯ; 2558.
คู่มือสำหรับประชาชน การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง (Palliative Care) พิมพ์ครั้งที่ 1 : บริษัท สร้างสื่อจำกัด.นนทบุรี ; 2558.
ปริพนธ์ พิชยพาณิชย์. ชวลิต ชยางศุ. ปวดจากมะเร็ง สำหรับนักศึกษาแพทย์ แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปและบุคคลที่สนใจ.วารสารแพทย์โรงพยาบาลสีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์.2564;36(2):475-84.
ศศิกานต์ นิมมานรัชต์.Pain&pain management in special population. ใน: ศศิกานต์ นิมมานรัชต์, ชัชชัย ปรีชาไว,บรรณาธิการ. ความปวดและการจัดการความปวดในกลุ่มผู้ป่วยที่มีปัญหาพิเศษ.สงขลา:ชานเมืองการพิมพ์;2550.หน้า 16-25.
เต็มศักดิ์ พึ่งรัศมี. การพัฒนาระบบดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์.ใน: ลักษณมี ชาญเวชช์, บรรณาธิการ. การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย.กรุงเทพมหานคร:โอเอสพริ้นติ้งเฮ้าส์;2547.หน้า 35-40.
นิตยา ทรัพย์วงศ์เจริญ. ทีปทัศน์ ชินตาปัญญากุล.บทบาทพยาบาลในการดูแลแบบประคับประคองในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ. วารสารพยาบาลทหารบก. 2563: 21 (1): 26-34.
Kemmis, S & Mctaggart. R. The Action Research Planer (3 rd ed.) Victoria: Deakin University;1988.
มนต์รัตน์ ภูกองชัย. แนวปฏิบัติการพยาบาลการจัดการความปวดในผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายที่ได้รับการดูแลแบบ ประคับประคองโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 2563. 5 (4): 128-135.
สารสิน กิตติโพวานนท์, รัตนาภรณ์ ประชากูล. รูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายโดยการจัดการรายกรณี และการมีส่วนร่วมของสหสาขาวิชาชีพ เครือข่ายสุขภาพ อำเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น.วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 2565. 7 (4): 64-74.