พัฒนากระบวนการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่นโดยภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในบริบทโรงพยาบาลชุมชน

ผู้แต่ง

  • จินตหรา ปัญโยวัฒน์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลนาเชือก

คำสำคัญ:

วัยรุ่น, กระบวนการ, การตั้งครรภ์ซ้ำ, การป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำ

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในมารดาวัยรุ่น 10-19 ปี ผู้มีส่วนร่วมวิจัยประกอบด้วย1) วัยรุ่นที่มาคลอดโรงพยาบาลนาเชือก จำนวน 60 ราย , 2) ผู้ให้คำปรึกษา/ติดตามต่อเนื่อง เจ้าหน้าที่ ANC จำนวน 3 ราย 3) เจ้าหน้าที่ห้องคลอด จำนวน 7 ราย,4) เจ้าหน้าที่คลินิกวัยรุ่นจำนวน 8 ราย 5) เจ้าหน้าที่รพ.สต จำนวน 12 ราย 6) อสม บัดดี้ 12 ราย ,7) ผู้ปกครองหรือสามีของหญิงตั้งครรภ์จำนวน 60 ราย ดำเนินงานวิจัย ในพื้นที่อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม ดำเนินงานระหว่าง เดือนตุลาคม 2563 – กันยายน 2565
     ผลการวิจัยพบว่า เกิดกระบวนการพัฒนา 3 วงจรปฏิบัติการตามแนวคิดของเคมมิสและแมกแทกการ์ท PAOR มีการเชื่อมโยงกระบวนการดูแล ระหว่างโรงพยาบาลครอบครัว, อสม และ รพ.สต, 1) แผนกฝากครรภ์ (anc)ให้ความรู้ให้บริการให้ความรู้เรื่องการวางแผนครอบครัว หญิงตั้งครรภ์และญาติ เพื่อให้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจการวางแผนคุมกำเนิดที่ถูกวิธี,2)คลินิกวัยรุ่นรับให้คำปรึกษา (Youth Friendly HealthServices) กรณีมารดาหลังคลอดที่ยังไม่ตัดสินใจในการคุมกำเนิดไม่ได้ ยังมีความลังเลใจ ให้ความรู้เรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์ พร้อมเบอร์โทรผู้รับผิดชอบงานวัยรุ่นให้มารดาตั้งครรภ์เพื่อเปิดช่องทางการติดต่อสื่อสาร 3) ห้องคลอด(Labour Room) ให้ความรู้เรื่องการการวางแผนครอบครัวหลังคลอดพร้อมญาติ กำหนด วัน เวลา สถานที่ในการคุมกำเนิดการวางแผนครอบครัวไม่เกิน 7 วันหลังคลอดที่มาตรวจแผลฝีเย็บ 4) ครอบครัว(Home) มีส่วนร่วมวางแผนในการคุมกำเนิดเพราะครอบครัวมีอำนาจในการช่วยเหลือ เสริมแรงในการคุมกำเนิด 5) ติดตามเยี่ยมบ้านพร้อมเจ้าหน้าที่รพ.สต อสม.เนื่องจากมีหน้ารับข้อมูลหลังจากที่จากคลินิกวัยรุ่นในการประสานให้เยี่ยมบ้าน มารดาหลังคลอดในวัยรุ่น7วันหลังคลอด ส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ กระบวนการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในมารดาวัยรุ่น ANC -YFHS - LR- Family planning – home อำเภอนาเชือก ไม่พบมารดาวัยรุ่นตั้งครรภ์ซ้ำ       

References

เกตย์สิรี ศรีวิไล.(2559)การตั้งครรภ์ซ้ำในมารดาวัยรุ่นในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งของภาคใต้.วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กระทรวงสาธารณสุข . (2560). รายงานเฝ้าระวังการตั้งครรภ์แม่วัยรุ่น

ปวีณภัทร นิธิตันติวัฒน์ ขวัญใจ เพทายประกายเพชร .(2559). การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์และการทำแท้ง: แนวทางป้องกันสำหรับวัยรุ่น.วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ , 32(2)

มัลลิตา กัณทาพันธุ์.(2562).ประสบการณ์เป็นมารดาของแม่วัยรุ่นในจังหวัดหนองบัวลำพูน

อรอุมา ทางดี. (2559). การป้องกันและประสบการณ์การตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น จังหวัดนนทบุรี. ในวิทยานิพนธ์ สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการผดุงครรภ์ชั้นสูง.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ทิพานันท์ แดนสีแก้วและคณะ. (2566).การพัฒนารูปแบบการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่นหลังคลอดของโรงพยาบาลเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม.วารสารการวิจัยพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพแบบรายงานเฝ้าระวังการตั้งครรภ์แม่วัยรุ่น พ.ศ. 2563

พรรณพิไล ศรีอาภรณ์. (2563). ประสิทธิผลโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการคุมกำเนิดเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในมารดาวัยรุ่นหลังคลอด. สืบค้นจากHTTPS://KB.HSRI.OR.TH/DSPACE/HANDLE/11228 /5245?LOCALE-ATTRIBUTE=TH

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

ปัญโยวัฒน์ จ. . . (2024). พัฒนากระบวนการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่นโดยภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในบริบทโรงพยาบาลชุมชน . วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(6), 201–207. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3631