การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลสำหรับวิสัญญีพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะตกเลือด หลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องในห้องพักฟื้น โรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย
คำสำคัญ:
แนวปฏิบัติการพยาบาล, ตกเลือดหลังคลอด, การผ่าตัดคลอดบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลสำหรับวิสัญญีพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังผ่าตัดคลอดในห้องพักฟื้น โรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย กลุ่มตัวอย่างเป็น มารดาหลังผ่าตัดคลอดที่เข้าพักฟื้นในห้องพักฟื้นจำนวน 62 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกการดูแลผู้ป่วยหลังการระงับความรู้สึก แบบสอบถามความพึงพอใจต่อแนวปฏิบัติ และแบบสังเกตการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติเชิงพรรณนา โดยการแจกแจงความถี่ และร้อยละ
ผลการศึกษา พบว่า แนวปฏิบัติการพยาบาลสำหรับวิสัญญีพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องในห้องพักฟื้น โรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัยที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย แนวปฏิบัติการประเมินสภาพผู้ป่วย การประเมินการหดรัดตัวของมดลูก การดูแลกรณีมดลูกหดรัดตัวดีและหดรัดตัวไม่ดี การประเมินเลือดออกทางช่องคลอด การรายงานแพทย์ การส่งต่อข้อมูล การจำหน่ายจากห้องพักฟื้น ประเมินผลพบว่า บุคลากรทางการพยาบาลปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาลเพิ่มขึ้นทุกด้าน มีความพึงพอใจต่อแนวปฏิบัติการพยาบาลในระดับมากที่สุด มารดาหลังผ่าตัดคลอดมีภาวะมดลูกหดรัดตัวไม่ดีจำนวน 3 คน(4.84 %) ไม่มีภาวะตกเลือดหลังคลอด ผ่าตัดซ้ำ และตัดมดลูก ส่งผลให้มารดาหลังคลอดปลอดภัย
References
บัณฑิต หวังสันติวงศา, และนิติยา สุนารัตน์. (2562). วิเคราะห์อัตราผ่าคลอดตามการจำแนกของรอบสัน. มหาราชนครศรีธรรมราช เวชสาร, 2(2), 69-79.
ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. (2563). แนวทางเวชปฏิบัติ เรื่อง การป้องกันและรักษาภาวะตกเลือดหลังคลอด. สืบค้น 1 กันยายน 2565 จาก http://www.rtcog.or.th/home/wp-Content/uploads/2020/09/OB-63-020-Prevention-and-Management-of-Postpartum-Hemorrhage.pdf.
อุษา โปร่งใจ, และยุพา แก้วอ้วน. (2565). การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องในห้องพักฟื้นโรงพยาบาลแพร่. วารสารสาธารณสุขแพร่เพื่อการพัฒนา, 2(1), 30-43.
สมทรง บุตรตะ. (2563). การพยาบาลมารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องที่มีภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรก : กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 17(3), 185-198.
กิตติยา วงษ์ขันธ์. (2561). รูปแบบการวิจัยและพัฒนา(R&D)และรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม(PAR) [อินเตอร์เน็ต].สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2564.จากเว็ป ไซต์: http://www.ubu.ac.th /web /files_up /08f2018072012262188.pdf
รัตนะ บัวสนธ์. (2552).การวิจัยและพัฒนา.ใน ประมวลสาระชุดวิชาระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์. หน่วยที่ 6. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช53.
สุพักตร์ พิบูลย์ และคณะ.(2556). การวิจัยและพัฒนางานวิชาการ(R&D). [อินเตอร์เน็ต].สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2564./ จากเว็ปไซต์:https://nakhonsawanresearch . blogspot.com
พิสมัย หวังผล,สุภาพร สมหวัง. (2567). การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือดในระยะ 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด ด้วยการเฝ้าระวังและป้องกันภาวะมดลูกไม่หดรัดตัวในมารดาหลังคลอด โรงพยาบาลทรายมูล จังหวัดยโสธร. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร, 2(1), 1-15.
กรรณิการ์ วามานนท์. (2561). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดและระงับความรู้สึกในห้องพักฟื้นในเวลาราชการของกลุ่มงานการพยาบาล วิสัญญี โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร. วารสารการพยาบาลสุขภาพและการศึกษา, 17(1), 17-25.