การจัดบริการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดโดยการมีส่วนร่วมของทีมสหวิชาชีพและภาคีเครือข่ายชุมชน อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
จัดบริการดูแล, วัณโรคปอด, ส่วนร่วมบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการจัดบริการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดโดยการมีส่วนร่วมของทีมสหวิชาชีพและภาคีเครือข่ายชุมชน อำเภอยางสีสุราช ดำเนินการวิจัย เดือน กันยายน 2563 – สิงหาคม 2564 ผู้มีส่วนร่วมวิจัย 2 กลุ่ม ได้แก่ `1) กลุ่มที่ร่วมพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยวัณโรค ได้แก่ ทีมสหวิชาชีพในรพ. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขรพ.สต. อสม. อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ และ ผู้นำชุมชน 2) ผู้ป่วยและครอบครัวที่มีป่วยด้วยวัณโรคปอด จำนวน 35 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบจำแนกระดับความรุนแรงผู้ป่วยวัณโรค แบบบันทึกการรับประทานยาระบบ DOTS`แบบฟอร์มการคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มผู้สัมผัสร่วมบ้าน/ผู้ใกล้ชิด แบบบันทึกการเยี่ยมบ้าน แบบประเมินผู้ป่วยตามแนวทาง INHOME-SSS แบบสังเกต แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณโดยจำนวน ค่าเฉลี่ยและร้อยละ
ผลการศึกษา พบว่า การจัดบริการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดโดยการมีส่วนร่วมของทีมสหวิชาชีพและภาคีเครือข่าย โรงพยาบาลยางสีสุราชโดย ประกอบด้วย 1) พัฒนาระบบบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม มีการนิเทศงานและติดตามประเมินผลของเครือข่าย เกิดจากการมีส่วนร่วมและผลักดันให้เกิดแผนงานโครงการสนับสนุนจากอปท.และพชอ. 2) พัฒนาจัดบริการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดในคลินิกบริการและในชุมชน ประกอบด้วย การพัฒนาศักยภาพทีมหสวิชาชีพใน โรงพยาบาล,รพ.สต.และภาคีเครือข่ายชุมชน,พัฒนา CNPG การจัดการรายกรณีผู้ป่วยวัณโรคปอดที่มีโรคร่วม / ผู้ที่มีปัญหาด้านผู้ดูแลและการรับประทานยาวัณโรค รวมถึงพัฒนา CPG ,พัฒนาการจัดบริการ one stop service, จัดทำคู่มือแนวทางการจัดการอาการแทรกซ้อนทางยาให้แก่ผู้ป่วยและครอบครัว,พัฒนาระบบส่งต่อ, พัฒนาระบบดูแลต่อเนื่องในชุมชน 3) พัฒนาระบบการข้อมูลและการส่งต่อข้อมูล รวมถึงระบบการให้คำปรึกษาแก่ รพ.สต./ชุมชน 4) พัฒนาเครือข่ายชุมชนในการดูแลระบบ DOTที่บ้าน ประเมินผล พบว่า ผู้ป่วยขาดนัดลดลงจาก 2.25 เป็น 0 ร้อยละการหยุดยาเอง 1.58 เป็น 0 ร้อยละการเกิดภาวะทุพโภชนาการ จาก 3.47 เป็น 1.32 ร้อยละการกลับมารักษาซ้ำภายใน 1 เดือน จาก 3.67 เป็น 0 อัตราความครอบคลุมการรักษาเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 79.63 เป็น 91.33 อัตราเสียชีวิตลดลงจากร้อยละ 15.63 เป็น 3.52 อัตราผลสำเร็จการรักษา เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 78.22 เป็น 88.05 ส่งผลให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรักษา ลดการเสียชีวิต รักษาสำเร็จตามระยะเวลาที่กำหนด ลดค่าใช้จ่ายในการรักษา
References
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แผนปฏิบัติการระดับชาติ ด้านการต่อต้านวัณโรค พ.ศ. 2560- 2564. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์. 2560
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดําเนินงานขับเคลื่อนงานวัณโรคภายใต้กรอบคำรับรองการปฏิบัติราชการกระทรวงสาธารณสุข (Performance Agreement : PA) และแนวทางการ ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562.
World Health Organization (WHO).Global tuberculosis report 2023. URL http://www.tbonline. info/posts/2016/10/16/global-tb-report-2023/ สืบค้น เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2564
โรงพยาบาลยางสีสุราช . (2563). รายงานการดำเนินงานผู้ป่วยวัณโรค พ.ศ. 2561-2563. มหาสารคาม : โรงพยาบาลยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม.
ปัทมา โกมุทบุตร, กฤษฏิ์ ทองบรรจบ. เอกสารประกอบการ เรียนรู้ Chronic Care Model [อินเทอร์เน็ต]. เชียงใหม่: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2551 [สืบค้น เมื่อ 14 พ.ค. 2563]. แหล่งข้อมูล: www.med.cmu.ac.th/ dept/commed
Kemmis S, McTaggart R. The action research planner. 3rd ed. Victoria: Deakin University; 1988.
เกษราวัลณ์ นิลวรางกูร. (2558). การวิจัยเชิงปฏิบัติการสำหรับวิชาชีพการพยาบาล. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
วัฒนา สว่างศรี.(2562). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคในชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 16 (3), 116-129.
สุภาภรณ์ มิตรภานนท์ และคณะ. (2563). การพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมวัณโรคสำหรับผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่และผู้สัมผัสโรคร่วมบ้านในเครือข่ายสุขภาพอำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 3 (3),164-174.