ผลของการรับรู้ความสามารถแห่งตนและแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการจัดการขยะของประชาชนตำบลกลาง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
การรับรู้ความสามารถแห่งตน , แรงสนับสนุนทางสังคม , การจัดการขยะบทคัดย่อ
การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการรับรู้ความสามารถแห่งตนและแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการจัดการขยะของประชาชนตำบลกลาง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 36 คน รวม 72 คน กลุ่มทดลอง คือ ประชาชนตำบลกลาง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มเปรียบเทียบ คือ ประชาชนตำบลบัวงาม อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ กลุ่มเปรียบเทียบได้รับโปรแกรมปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 2 ครั้ง ก่อนและหลังการทดลอง ระหว่างวันที่ 2 กันยายน 2567 ถึงวันที่ 2 ธันวาคม 2567 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนานำเสนอด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐาน เปอร์เซนต์ไทล์ที่ 25 และ 75 เปรียบเทียบผลต่างของคะแนนเฉลี่ยของตัวแปรภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบโดยใช้สถิติ paired t-test และระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ Independent t-test กำหนดนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
ผลการศึกษาพบว่า หลังการทดลองผลต่างคะแนนเฉลี่ยของความรู้ ทัศนคติ การรับรู้ความสามารถแห่งตน การมีส่วนร่วม แรงสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมการจัดการขยะของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
Jambeck, J. R., et al. Plastic waste inputs from land into the ocean. Science 2015; 347(6223), 768-771.
กรมควบคุมมลพิษ. ข้อมูลขยะมูลฝอยชุมชน เอกสารประกอบการจัดทำรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2565.
Bandura, A. Self – efficacy : The exercise of control. New York : W.H. Freeman. and company, 1997.
House, J. S. Work Stress and Social Support. Reading, MA: Addison-Wesley, 1981.
Li, F., & Zhang, Y. Social support and recycling behavior: Evidence from urban China. Journal of Environmental Studies 2011; 12(3): 45-60.
Tadesse, T. Environmental concern and its implications to household waste separation and disposal: Evidence from Mekelle, Ethiopia. African Journal of Environmental Science and Technology 2009; 3(11): 410-415.
Ojedokun, O., & Balogun, S. K. Self-efficacy and attitude towards waste management. Journal of Applied Social Psychology 2011; 41(1): 90-99.
Strecher, V. J., DeVellis, B. M., Becker, M. H., & Rosenstock, I. M. The role of self-efficacy in achieving health behavior change. Health Education Quarterly 1986; 13(1), 73-92.
Lemeshow, S. Adequacy of Sample Size in Health Studies. Chichester: John Wiley & Sons, 1990.
ณัทกร วิฑิตถิรานันท์. ผลการสร้างการมีส่วนร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการขยะของประชาชนเขตชุมชนชลประทาน อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน 2565; 7(3): 31-42.
ศศิวิมล จันทร์มาลี และคณะ. ผลของโปรแกรมการให้ความรู้และทัศนคติต่อการจัดการขยะมูลฝอยในตำบลข้าวงาม อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 ปี 2566; 17(1): 150-165.
ณิชรัตน์ ป้องแก้ว, สามารถ ใจเตี้ย, และสิวลี รัตนปัญญา. ผลของกิจกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน โดยใช้หลัก 5R ของประชาชน ตำบลกลางเวียง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, 2565.
ณัทกร วิฑิตถิรานันท์. ผลการสร้างการมีส่วนร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการขยะของประชาชนเขตชุมชนชลประทาน อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน 2565; 7(3): 31-42.
ณัฐวุฒิ กกกระโทก และคณะ. ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรู้และพฤติกรรมสุขภาพในการจัดการขยะ กรณีศึกษาตำบลหนองหอย อำเภอพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี 2565; 14(1): 322-336.
สุทธิดา สืบทรัพย์. ผลของโปรแกรมการจัดการขยะมูลฝอยตามหลัก 3Rs ต่อความรู้การจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนเทศบาลตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี 2564; 9(1): 101-114. 2564.
ฉัตรนภา สนองบุญ. ผลของโปรแกรมสร้างแรงจูงใจในการลดปริมาณขยะมูลฝอยครัวเรือน ของประชาชน ตำบลเมืองบางขลัง อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2563.
พระทองเจริญ อุปสนโต, และคณะ. โปรแกรมการพัฒนาจิตสำนึกและพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะตามหลักภาวนา 4 ด้วยนิเวศวิทยาเชิงพุทธในประชาชนตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร 2562; 7(3): 698-709.
วิริยะภูมิ จันทร์สุภาเสน. ผลของโปรแกรมอบรม “Cleaners Safety” ต่อความรู้ และพฤติกรรมความปลอดภัยในการจัดการขยะมูลฝอยติดเชื้อ ในพนักงานทำความสะอาด โรงพยาบาลพะเยา. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา 2560; 18(1): 113-122.