ผลของโปรแกรมการเสริมพลังและแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานของประชาชนกลุ่มเสี่ยงในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าโพธิ์ศรี ตำบลท่าโพธ์ศรี อำเภอเดชอุดมจังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
การเสริมพลัง , แรงสนับสนุนทางสังคม , โรคเบาหวาน , กลุ่มเสี่ยงบทคัดย่อ
การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมพลังและแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานของประชาชนกลุ่มเสี่ยงในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าโพธิ์ศรี ตำบลท่าโพธ์ศรี อำเภอเดชอุดมจังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 46 คน รวม 92 คน กลุ่มทดลอง คือ กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในตำบลท่าโพธ์ศรี อำเภอเดชอุดมจังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มเปรียบเทียบ คือ กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในตำบลแก้ง อำเภอเดชอุดมจังหวัดอุบลราชธานี โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 2 ครั้ง ก่อนและหลังการทดลอง ระหว่างวันที่ 3 ตุลาคม 2567 ถึงวันที่ 3 ธันวาคม 2567 เปรียบเทียบผลต่างของคะแนนเฉลี่ยของตัวแปรภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบโดยใช้สถิติ paired t-test และระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ Independent t-test กำหนดนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
ผลการศึกษาพบว่า หลังการทดลองผลต่างคะแนนเฉลี่ยของความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ทัศนคติเกี่ยวกับโรคเบาหวาน การรับรู้พลังอำนาจของตนเอง แรงจูงใจในการป้องกันโรคเบาหวาน แรงสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานของประชาชนกลุ่มเสี่ยงของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
International Diabetes Federation. (2019). IDF Diabetes Atlas (9th ed.). Brussels, Belgium: International Diabetes Federation.
กรมอนามัย. (2563). สถิติสุขภาพประชากรไทย. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข.
World Health Organization. (2016). Global report on diabetes. Geneva, Switzerland: World Health Organization.
American Diabetes Association. (2018). Standards of medical care in diabetes—2018. Diabetes Care, 41(Suppl. 1), S1-S159.
Bandura, A. Health promotion by social cognitive means. Health Education & Behavior 2004; 31(2): 143-164.
Viswanathan et al. Interventions to improve adherence to self-management prescriptions for chronic illnesses in the United States: A systematic review. Annals of Internal Medicine 2010; 153(11): 736-750.
Heisler, M. Building peer support programs to manage chronic disease: Seven models for success. Oakland, CA: California HealthCare Foundation, 2006.
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าโพธิ์ศรี. ข้อมูลสถิติกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน. ศรีสะเกษ: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าโพธิ์ศรี, 2563.
เกียรติศักดิ์ วิจักษณกุล. ผลของการสร้างการมีส่วนร่วมและแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานของประชาชนกลุ่มเสี่ยงในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเพียเก้า ตำบลคำน้ำแซบ อำเภอวารินชำราบจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน 2567; 9(3): 518-527.
วีรวัฒน์ ทางธรรม และคณะ. ผลของโปรแกรมเสริมสร้างการป้องกันโรคที่ประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจการป้องกันโรคต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคในประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน : กรณีศึกษา. Journal of Roi Kaensarn Academi 2566; 8(7): 211-225.
สมจิตร ธรรมบันเทิง. ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองของประชาชนกลุ่มเสี่ยงไขมันในเลือดสูงตำบลโคกตาล อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน 2566; 8(3): 1067-1075.
เพ็ญวดี โรจน์เรืองนนท์ และคณะ. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความสามารถของตนเองเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน แขวงคลองต้นไทร เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร 2564; 46(3): 81-88.
เกสราวรรณ ประดับพจน์. ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3 self ต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต และเส้นรอบเอวของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ 2564; 8(5): 148-161.
วิไล แสนยาเจริญกุล. ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนการบริโภคอาหารต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารในกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวาน. วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยมหิดล, 2561.
รวีวรรณ ยิ้มเนียม. ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตที่มีต่อแรงจูงใจในการป้องกันโรค และการควบคุมน้ำตาลในเลือดของประชาชนกลุ่มเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารการแพทย์ 2561; 43(2): 118-123.
ยุวดี รอดจากภัย, สมพล กิตติเรืองเกียรติ, ประสิทธิ์ กมลพรมงคล. ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน อำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา. 2555;7(2):116-23.
อานนท์ วัฒนกรกุล. (2562). ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ตำบลสันป่าม่วง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วารสารสหวิชาการเพื่อสุขภาพ. 1(2), 17-31.
ดวงดาว ศรียากูล และคณะ. ประสิทธิผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตต่อการป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในประชากรไทยกลุ่มเสี่ยง. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2567; 18(1): 72-92.