ความสุขและความต้องการกิจกรรมสร้างความสุขของผู้สูงอายุในชุมชน ตำบลบางกระเจ็ด อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา

ผู้แต่ง

  • สมรทิพย์ วิภาวนิช อาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

คำสำคัญ:

ความสุข, ความต้องการกิจกรรมสร้างความสุข, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความสุขและความต้องการกิจกรรมสร้างความสุขของผู้สูงอายุในชุมชน ตำบลบางกระเจ็ด อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุ ที่มีอายุ 60-74 ปี ทั้งเพศชายและเพศหญิงที่พักอาศัยในตำบลบางกระเจ็ด อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 268 คน โดยใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา โดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
     ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับความสุขโดยรวมของผู้สูงอายุในชุมชนตำบลบางกระเจ็ด อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทราอยู่ในระดับมาก (equation=4.50) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า คะแนนเฉลี่ยสูงสุดของความสุขของผู้สูงอายุ คือ ท่านเป็นคนหัวเราะง่าย (equation=5.05) รองลงมาคือ ท่านรู้สึกว่าชีวิตนั้นมีคุณค่ามาก (equation=5.04) ส่วนคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ท่านใส่ใจคนรอบข้าง อย่างมาก (equation=3.81) 2. ความต้องการกิจกรรมสร้างความสุขโดยรวมทั้ง 4 ด้าน ของผู้สูงอายุในชุมชนตำบลบางกระเจ็ด อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา อยู่ในระดับมาก (equation=3.54) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า คะแนนเฉลี่ยสูงสุดของความต้องการกิจกรรมสร้างความสุขของผู้สูงอายุอยู่ในระดับมาก คือ กิจกรรมด้านสุขภาพ (equation=3.85) รองลงมา คือ กิจกรรมด้านเศรษฐกิจ (equation=3.79) และกิจกรรรมด้านนันทนาการ (equation=3.55) ส่วนความต้องการกิจกรรมสร้างความสุขของผู้สูงอายุ อยู่ในระดับ ปานกลาง คือ กิจกรรมด้านสื่อออนไลน์ (equation=3.01)

References

United Nation. (2020). World Population Ageing 2020 Highlights: Living arrangements of older persons. New York: Office of the Director, Population Division.

สำนักงานกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2567). สรุปผลที่สำคัญการทำงานของผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2566. กรุงเทพฯ: กองสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

ปราโมทย์ ประสาทกุล, บรรณาธิการ. (2560). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2559. นครปฐม: พริ้นเทอรี่.

Roach, S.S. (2001). Introductory gerontological nursing. Philadelphia: Lippincott.

Winstead V, Yost EA, Cotten SR, Berkowsky RW, Anderson WA. The impact of activity interventions on the well-being of older adults in continuing care communities. J Appl Gerontol. 2014; 33(7): 888-911.

Yamane, Taro. (1970). Statistics - Introductory Analysis. 2 Hill, Inc.

Hills, P., & Argyle, M. (2002). The Oxford happiness questionnaire: a compact scale for the measurement of psychological well-being. Personality and Individual Differences, 33, 1073-1082.

Best, J.W. (1977). Research in Education. (3rd ed) Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall, Inc.

อรวรรณ แสนบริสุทธิ์ และเลิศชัย เจริญธัญรักษ์. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสุขของผู้สูงอายุในตำบลคำใหญ่ อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยสาธารณสุข, 13(2): 14-25.

พิทยุตม์ โตขำ วันเพ็ญ อนิวรรตนพงศ์ และธัญพัฒน์ ทองนิ่ม. (2566). ความสุขในชีวิตของผู้สูงวัยยุค 4.0 ในกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 6(1): 84-103.

Tan JH, Abdin E, Shahwan S, et al. Happiness and cognitive impairment among older adults: investigating the mediational roles of disability, depression, social contact frequency, and loneliness. IJERPH. 2019;16(24):4954.

ปนัดดา บิลหมัด พชรดนย์ เปาะทอง วาริษาฮ์ เหล็มโส๊ะ สุนัดดา แก้วสด และฮาซันอักริม ดงนะเด็ง. (2563). ความต้องการด้านสุขภาพอนามัยของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลนครตรัง จังหวัดตรัง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, 2(1), 29-50.

ภักศจีภรณ์ ขันทอง และคณะ. (2560). ความสุขและความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุในตำบลหนองขอน อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารหมอยาไทยวิจัย, 3(2): 7-15.

รพีพรรณ พงษ์อินทร์วงศ์ และคณะ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขของแรงงานผู้สูงอายุ กรณีศึกษาชุมชนบ้านยาง ตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 11(1), 80-91.

วณัฐพงศ์ เบญจพงศ์ จิตรา ดุษฎีเมธา สุเมษย์ หนกหลัง และวรสรณ์ เนตรทิพย์. (2561). ผลของโปรแกรมนันทนาการ ที่มีต่อความสุขภายในของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาผู้สูงอายุ จังหวัดสระแก้ว. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, 8(2), 55-68.

สิทธิพรร์ สุนทร วัชรินทร์ สุทธิศัย และพงษ์ศักดิ์ ซิมมอนด์ส. (2563). รูปแบบการพัฒนาความสุขของผู้สูงวัยในจังหวัดมหาสารคาม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา, 15(2), 153-161.

สุนันทรา ขำนวนทอง, พิทยุตม์ คงพ่วง, พิมพ์พรรณ อำพันธ์ทอง, และวัชรี เพ็ชรวงษ์. (2565). การมีส่วนร่วมในชุมชนและการใช้สื่อสังคมออนไลน์มีผลต่อรูปแบบความสุขของผู้สูงอายุ ในยุค 4.0 ตำบลวังหว้า อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(12), 698-713.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

วิภาวนิช ส. . (2024). ความสุขและความต้องการกิจกรรมสร้างความสุขของผู้สูงอายุในชุมชน ตำบลบางกระเจ็ด อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(6), 60ึ7–613. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3640