ผลของการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีของประชาชนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศรีมงคล(บ้านเปือย) ตำบลโนนกาเล็น อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • วันเพ็ญ เถาว์ทุมมา วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, โรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี , ประชาชน

บทคัดย่อ

     การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีของประชาชนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศรีมงคล ตำบลโนนกาเล็น อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชานี กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มทดลอง คือ ประชาชนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศรีมงคล ตำบลโนนกาเล็น อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชานี จำนวน 67 คน กลุ่มเปรียบเทียบ คือ ประชาชนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพนเมือง ตำบลโนนกาเล็น อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชานี จำนวน 67 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ กลุ่มเปรียบเทียบได้รับโปรแกรมปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 2 ครั้ง ก่อนและหลังการทดลอง ระหว่างวันที่ 3 ตุลาคม 2567 ถึงวันที่ 3 ธันวาคม 2567 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนานำเสนอด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐาน เปอร์เซนต์ไทล์ที่ 25 และ 75 เปรียบเทียบผลต่างของคะแนนเฉลี่ยของตัวแปรภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบโดยใช้สถิติ paired t-test และระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ Independent t-test
     ผลการศึกษาพบว่า หลังการทดลองผลต่างคะแนนเฉลี่ยของการเข้าถึงข้อมูลโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี การเข้าใจข้อมูลโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี การสืบค้นข้อมูลโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี การตัดสินใจด้านสุขภาพโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี การประยุกต์ใช้ข้อมูลโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี และพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

มูลนิธิมะเร็งท่อน้ำดี. (2564). รายงานสถานการณ์โรคมะเร็งท่อน้ำดีในประเทศไทย. สืบค้นจาก http://cco.in.th/th/index.php/about-cca/key-stiatistics.

กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์การตายจากโรคมะเร็งในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์, 2560.

กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการตรวจคัดกรองพยาธิใบไม้ตับ. อุบลราชธานี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี, 2566.

กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการตรวจคัดกรองมะเร็งท่อน้ำดี. อุบลราชธานี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี, 2566.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสำโรง. ปัญหาการเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี, 2566)

สุชญา สีหะวงษ์ และคณะ. การพัฒนารูปแบบสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ในนักเรียนถิ่นทุรกันดาร โรงเรียนโครงการพระราชดำริ เขตสุขภาพที่ 10 2566; 30(2): 144-156.

ปรีชา ปิยะพันธ์. การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี โดยใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี 2566; 21(1): 52-68.

จิรารัตน์ สิงทองทัศน์ และคณะ. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ ตำบลเหล่าหมี อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร 2565; 8(3): 131-142.

ปัญญาพร ชมบ้านแพ้ว และปวีณา ลิมปิทีปราการ. ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับตามทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงของประชาชน ตำบลโคกสะอาด อำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา 2566; 29(1): 27-40.

ลักขณา มาคะพุฒ และคณะ. ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อเสริมสร้างความรอบรู้ด้านการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับของประชาชนกลุ่มเสี่ยง. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ 2565; 1(1): 60-73.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

เถาว์ทุมมา ว. . (2024). ผลของการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีของประชาชนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศรีมงคล(บ้านเปือย) ตำบลโนนกาเล็น อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(6), 623–630. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3642