ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันโรคไข้เลือดออกของตัวแทนครัวเรือนบ้านนาโพธิ์เหนือ ตำบลนาโพธิ์กลาง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, โรคไข้เลือดออก, ตัวแทนครัวเรือนบทคัดย่อ
การวิจัยแบบกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว (One-Group Pretest-Posttest Design) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของตัวแทนครัวเรือนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาโพธิ์ใต้ ตำบลนาโพธิ์กลาง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นตัวแทนครัวเรือนในบ้านนาโพธิ์เหนือ หมู่ที่ 8 ตำบลนาโพธิ์กลาง จำนวน 30 คน ซึ่งคัดเลือกโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยเก็บข้อมูลก่อนและหลังการทดลอง ระยะเวลา 8 สัปดาห์ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) และ paired t-test เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลอง
ผลการศึกษาพบว่า คะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นจากระดับปานกลาง (mean=66.27, SD=13.32) เป็นระดับดี (mean=88.17, SD=4.66) โดยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นจากระดับปานกลาง (mean=16.63, SD=3.79) เป็นระดับดี (mean=25.60, SD=2.28) โดยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และอัตราการพบลูกน้ำยุงลาย ร้อยละของบ้านและภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลายลดลงอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับก่อนการทดลอง
References
กรมควบคุมโรค. ปัญหาสุขภาพของคนไทย. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค, 2566.
กองโรคติดต่อนำโดยแมลง. สถานการณ์โรคไข้เลือดออก. นนทบุรี: กองโรคติดต่อนำโดยแมลง, 2567.
กระทรวงสาธารณสุข. รายงานโรคเฝ้าระวังโรคโรงพยาบาลโขงเจียมและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาโพธิ์ใต้. อุบลราชธานี: กระทรวงสาธารณสุข, 2567.
ชาติ ศรีสุข และวุฒิชัย ประภากิตติรัตน์. ผลการใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและควบคุม โรคไข้เลือดออก บ้านวังกรด ตำบลสำโรงชัย อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ 2556; 3(5): 97-108.
หาญณรงค์ แสงแก. ผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของแกนนำครัวเรือน ตำบลเมืองไผ่ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว. วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ 2558; 10(1): 65-81.
ภาวิณี มนตรี และคณะ. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคที่มียุงลายเป็นพาหะของแกนนำครัวเรือน ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี. สระบุรี: กรมควบคุมโรค, 2564.
ทวีศักดิ์ สิมณี. ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลจาน อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ 2567; 3(3): 1-11.
เฉลิมพล ตันสกุล และจีรศักดิ์ เจริญพันธ์. พฤติกรรมสุขภาพ. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2549.
อนุกูล พลวัชรินทร์. โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ตำบลหงษ์เจริญ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร. วารสารวิชาการเพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิและสาธารณสุข. 2566; 3(1): 101-113.
ปรรรณพัชร์ วงศ์ธีราพงษ์. ประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนในพื้นที่สวนมะม่วง ตำบลวังทับไทร อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2565.