การพัฒนาการจัดบริการการดูแลแบบประคับประคองในผู้ป่วยระยะท้ายเชื่อมโยงสู่ชุมชน อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • นิยากร อินทะขัน พย.บ.โรงพยาบาลนาเชือก อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การดูแลแบบประคับประคอง, ผู้ป่วยระยะท้าย

บทคัดย่อ

      การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการจัดบริการการดูแลแบบประคับประคองในผู้ป่วยระยะท้ายเชื่อมโยงสู่ชุมชน อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ ตามแนวคิดของ Kemmis & McTaggart กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยระยะท้ายในเขตอำเภอนาเชือก จำนวน 48 ราย ดำเนินการระหว่างเดือน กรกฎาคม 2565– มิถุนายน 2566 เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่1)แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยแบบประคับประคอง 2)แบบประเมินPPS v2 3)แบบประเมินESAS 4)แบบฟอร์มการวางแผนการดูแลล่วงหน้า 5)แบบประเมินความพึงพอใจของครอบครัวผู้ป่วยแบบประคับ ประคอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา
     ผลวิจัยพบว่า ระยะวิเคราะห์สถานการณ์ 1)พบแนวโน้มของผู้ป่วยระยะท้ายที่ต้องการการดูแลแบบประคับประคองมีจำนวนมากขึ้น 2)บุคลากรสาธารณสุขยังขาดความเชี่ยวชาญและทักษะในการประเมินปัญหาและการวางแผนการดูแลที่ไม่ครอบคลุม 3)การวางแผนการจำหน่ายและการเชื่อมโยงข้อมูลการดูแลต่อเนื่องไม่ชัดเจน 4)แนวทางการปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายไม่ชัดเจน 5)การวางแผนการดูแลล่วงหน้าที่ยังไม่ครอบคลุมทุกกลุ่มโรค 6)ความไม่เพียงพอด้านเครื่องมือ/อุปกรณ์และยาเพื่อบรรเทาอาการรบกวนต่างๆ ผู้ป่วยไม่ได้รับการดูแลและจัดการอาการอย่างเหมาะสมต่อเนื่อง ระยะการพัฒนา ได้ดำเนินการพัฒนา 2 วงรอบ 1)มีแนวทางการปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายครอบคลุมจากโรงพยาบาลสู่ชุมชนโดยใช้กระบวนการทางการพยาบาลในการดูแลและการวางแผนจำหน่ายที่มีประสิทธิภาพ 2)มีช่องทางการสื่อสารแบบสองทางเพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับการเข้าถึงการดูแลตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านช่องทางโทรศัพท์, ไลน์กลุ่ม,โปรแกรมSmart COC 3)บุคลากรสาธารณสุขผู้ให้บริการได้รับการพัฒนาสมรรถนะจนเกิดทักษะและมีความเชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย เชื่อมโยงการให้บริการเชิงรุกในชุมชน 4)มีเครือข่ายชุมชนในติดตามดูแลที่บ้านอย่างต่อเนื่อง ระยะประเมินผล พบว่า1)ผู้ป่วยระยะท้ายได้รับการดูแลแบบประคับประคอง ร้อยละ 98 2)ผู้ป่วยระยะท้ายได้รับการวางแผนการดูแลล่วงหน้า ร้อยละ 80.46 3)ผู้ป่วยระยะท้ายสามารถเข้าถึงยาชนิดOpioidsในการบรรเทาอาการปวดและหอบเหนื่อย ร้อยละ 57.57 4)ผู้ป่วยระยะท้ายได้รับการติดตามเยี่ยมบ้าน ร้อยละ98 5)ความพึงพอใจของครอบครัวผู้ป่วยประคับประคองต่อบริการพยาบาลแบบประคับ ประคองในร้อยละ 96

References

กรมควบคุมโรค กองโรคไม่ติดต่อ.คู่มือแนวทางการดำเนินงาน NCD Clinic Plus.กระทรวงสาธารณสุข.2565.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองและระยะท้าย (สำหรับบุคลากรทางการแพทย์). นนทบุรี: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2563

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี(ด้านสาธารณสุข) พ.ศ. 2560 –2579. ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข;2560.

ศรีเวียง ไพโรจน์กุล,นภา หลิมรัตน์. Training of the Trainers in Palliative Care Module 7 Discharge Planning and Referral System and Home Care. พิมพ์ครั้งที่1. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2560

ศรีเวียง ไพโรจน์กุล,ปาริชาติ เพียสุพรรณ์. มาตรฐานคุณภาพการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง Quality Standards for Palliative Care. พิมพ์ครั้งที่3. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2564

สารสิน กิตติโพวานนท์, รัตนาภรณ์ประชากูล. รูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายโดยการจัดการรายกรณี และการมีส่วนร่วมของสหสาขาวิชาชีพเครือข่ายสุขภาพ อำเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา 2565; 7(4):64-74

กาญจนา จันทะนุย,ภาคภูมิ อินทร์ม่วง,คำตัน ปินะโต,ศุภชัย แพงคำไหล .รูปแบบการดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยระยะท้ายโดยการมีส่วนร่วมของทีมสหวิชาชีพพยาบาลชุมชนและภาคีเครือข่าย อ.ยางสีสุราช จ.มหาสารคาม. วารสารพัฒนาสุขภาพชุมชนมหาวิทยาลัยขอนแก่น 2563; 8(1):129-145.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

อินทะขัน น. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . (2024). การพัฒนาการจัดบริการการดูแลแบบประคับประคองในผู้ป่วยระยะท้ายเชื่อมโยงสู่ชุมชน อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(6), 851–860. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3651