ผลการใช้รูปแบบการบำบัดยาเสพติดแบบมีส่วนร่วมในชุมชน ตำบลหัวโทน อำเภอสุวรรณภูมิ
คำสำคัญ:
การบำบัดยาเสพติด, การมีส่วนร่วมในชุมชนบทคัดย่อ
การศึกษานี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การบำบัดยาเสพติดแบบมีส่วนร่วมในชุมชน ตำบลหัวโทน อำเภอสุวรรณภูมิ และศึกษารูปแบบการบำบัดยาเสพติดแบบมีส่วนร่วมในชุมชน ตำบลหัวโทน อำเภอสุวรรณภูมิ มีระยะเวลาในการศึกษาระหว่าง เดือน กันยายน 2567 ถึง เดือนธันวาคม 2567 รวม 4 เดือน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ แกนนำชุมชน ตำบลหัวโทน อำเภอสุวรรณภูมิ จำนวน 60 คน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent t – test
ผลการศึกษา พบว่า หลังดำเนินงาน ความคิดเห็นของแกนนำชุมชนต่อศักยภาพของชุมชนในการบำบัดยาเสพติดแบบมีส่วนร่วมในชุมชน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด และความคิดเห็นของแกนนำชุมชนต่อศักยภาพของชุมชนในการบำบัดยาเสพติดแบบมีส่วนร่วมในชุมชน ก่อนและหลังดำเนินงาน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยที่ความคิดเห็นของแกนนำชุมชนต่อศักยภาพของชุมชนในการบำบัดยาเสพติดแบบมีส่วนร่วมในชุมชน หลังการดำเนินงานมีค่าคะแนนเฉลี่ยมากกว่าก่อนการดำเนินการ
References
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม.(2565). แผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2565. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.
คณะทำงานจัดทำรายงานสุขภาพคนไทย.(2566). เปิด 4 ปัญหาใหญ่ “ยาเสพติดในชุมชน”. คณะทำงานจัดทำรายงานสุขภาพคนไทย สถานการณ์เด่น | พฤษภาคม 2566 https://www.thaihealthreport.com/th/articles_detail.php?id=182
กระทรวงสาธารณสุข.(2567). การดำเนินงานเพื่อการบำบัดดูแลผู้ป่วยยาเสพติดโดยมีส่วนร่วมของชุมชน (Community Based Treatment and x.. (CBTx) ภายใต้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.). สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุข(สลบ.สธ.)
ฤทธิ์ศรี สุกัญญา วัฒนประไพจิตร ศุภลักษณ์ จันหาญ.(2565). รูปแบบการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชุมเป็นศูนย์กลาง : กรณีศึกษาในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม.19(2). 50-62
สุกัญญา วัฒนประไพจิตร . การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดที่มีอาการทางจิต โดยชุมชนมีส่วนร่วมกรณีศึกษา บ้านหนองแวง หมู่1 ตำบลแวงน่าง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. 2567 วารสารวิชาการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม
ประพัทธ์ ธรรม วงศา. 2567. การพัฒนารูปแบบการบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยยาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. วารสาร สำนักงาน สาธารณสุข จังหวัดขอนแก่น
พุธันวา มหาทรัพย์สมบัติ, & มาลี จิรวัฒนานนท์. (2024). “ผู้นำ ชุมชน” กับกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนในการทำงานด้านยาเสพติดในชุมชนแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร.
ราศรี อาษาจิตร. 2566 เรื่อง การพัฒนารูปแบบการบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนแห่งหนึ่งในอำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร
มานะ น้อยดี (2567). การมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์.
ชนิสรา มณีรัตน์. 2567 เรื่อง การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุุมชุนในการดําเนินงานโครงการชุมชุนยั่งยืนเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด กรณีศึกษา ชุมชุนบ้านโคกขามี ตำบลโคกขามี อําเภอเมีอง จังหวัดสมุทรสาคร
ราชกิจานุเบกษา. พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๖๔. ราชกิจานุเบกษา. 2564; เล่ม 138, ตอนที่ 52ง: 1-10.
ปรัชญานี คำเหลือ . 2566 เรื่อง การพัฒนารูปแบบการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาและสารเสพติดระยะกลาง (Intermediate care) โดยชุมชนมีส่วนร่วมอำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ ปี 2566
อาภรณ์ ภูมี . 2567 เรื่อง การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดที่มีอาการทางจิตแบบบูรณาการจังหวัดมหาสารคาม
นิตยา ฤทธิ์. 2565 เรื่อง รูปแบบการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชุมเป็นศูนย์กลาง : กรณีศึกษาในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม
นภธร ศิวารัตน์ . 2566 เรื่อง การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในครอบครัวที่แตกแยกในกลุ่มจังหวัด ร้อยแก่นสารสินธุ์