การศึกษาการวางแผนตั้งครรภ์ การคุมกำเนิดและลักษณะทางสังคมแม่วัยรุ่น โรงพยาบาลศรีสะเกษ ปี 2564
คำสำคัญ:
แม่วัยรุ่น, ยรุ่นตั้งครรภ์, คุมกำเนิดในวัยรุ่น, เด็กออกกลางคันบทคัดย่อ
องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้การลดอัตราคลอดในวัยรุ่นอายุ 15 - 19 ปี เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดของเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (MDGs) อัตราการคลอดในวัยรุ่นของไทยยังคงจัดอยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนาน้อย (Less developed regions) การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเกิดจากการขาดความรู้ความเข้าใจและการใช้วิธีการคุมกำเนิดที่ไม่ถูกต้อง การถูกล่วงละเมิดทางเพศรวมถึงการข่มขืนและถูกบังคับให้มีเพศสัมพันธ์ ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นที่ส่งผลกระทบในหลายมิติ งานคลินิกวัยรุ่น โรงพยาบาลศรีสะเกษจึงทำการศึกษาแม่วัยรุ่นที่มาคลอดในโรงพยาบาลศรีสะเกษ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการวางแผนการตั้งครรภ์ การคุมกำเนิด และลักษณะทางสังคมของแม่วัยรุ่น ประชากรคือแม่วัยรุ่นที่มาคลอดในโรงพยาบาลศรีสะเกษ พ.ศ. 2564 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 412 คน รูปแบบการศึกษา เชิงพรรณนา (Descriptive Research) เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง (Serial Cross Sectional Study) โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
ผลการวิจัยพบว่า แม่วัยรุ่นตั้งครรภ์โดยที่ไม่ได้วางแผน ไม่ได้ตั้งใจ ไม่คุมกำเนิดและคุมกำเนิดไม่สม่ำเสมอ เพื่อนชาย (พ่อของเด็ก) คุมกำเนิดต่ำ แม่วัยรุ่นตั้งครรภ์ในขณะที่ยังไม่จบการศึกษาและออกกลางคัน เพื่อนชาย (พ่อของเด็ก) อาชีพไม่มั่นคงและตกงาน ยังมีสถานะเป็นนักเรียน นักศึกษา ครอบครัวแม่วัยรุ่นพึ่งพิงรายได้จากพ่อแม่ผู้ปกครอง
References
สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัยร่วมกับโครงการประสานงานการวิจัยเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs). โครงการประสานงานการวิจัยเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) การประชุมเสนอรายงานขั้นกลางโครงการสำรวจสถานะของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทประเทศไทยและทางเลือกมาตรการเศรษฐศาสตร์ สังคมและกฎหมาย รายงานความก้าวหน้าโครงการครั้งที่ 1. [ไม่ได้ตีพิมพ์]. เอกสารประกอบการนำเสนอการประชุม. ณ โรงแรมแมนดาริน, กรุงเทพมหานครฯ ประเทศไทย : สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัยร่วมกับโครงการประสานงานการวิจัยเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs); 2560.
บุญฤทธิ์ สุขรัตน์. การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นนโยบายแนวทางการดำเนินงานและติดตามประเมินผล. พิมพ์ครั้ง 2. นนทบุรี : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2557. 20-4.
กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย. ขนาดและแนวโน้มการตั้งครรภ์/การคลอดในวัยรุ่น. แม่วัยใสความท้าทายการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น 2557. 11.
ปังปอนด์ รักอำานวยกิจ และคณะ. แม่วัยใส : สถานการณ์และบริบทในสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556.
กฤตยา อาชวนิจกุล. เพศวิถีที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปในสังคมไทย. วารสารประชากรและสังคม 2554; 43- 65.
สำนักสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. เอกสารการตรวจราชการและนิเทศงานกระทรวงสาธารณสุข กรณีปกติ รอบที่ 2 ประจำปีงบประมาณ 2561 เขตสุขภาพที่ 10. จังหวัดศรีสะเกษ : สำนักสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. 2561.
สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานเฝ้าระวังการตั้งครรภ์แม่วัยรุ่น พ.ศ. 2561 Teenage Pregnancy Surveillance Report 2018. [เอกสารอัดสำเนา] : กระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี. 2561. [สืบค้น 20 มีนาคม พ.ศ. 2562] เข้าถึงได้จาก https://rsathai.org/contents/15768/
สำนักตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสรุปผลการตรวจราชการกรณีปกติรอบที่ 1/2560. [เอกสารอัดสำเนา]. นนทบุรี : 2560.
Henshaw SK.. Unintended pregnancy in the United States. Fam Plann Perspect. 1998; 30(46) : 24-9.
Pungbangkadee R. and Ratinthorn. A Factors and Consequences of Repeat Pregnancy among Teenagers : A Case Study in Bangkok Metropolis. Journal of Nursing Science. 2014; 32(2) : 23-31.
วิชญา เวชยันต์ศฤงคาร. ผลของการตั้งครรภ์ในมารดาวัยรุ่นที่คลอดครรภ์แรกในโรงพยาบาลบางใหญ่. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 2555; 29(2) : 82-92