การพัฒนารูปแบบการคัดกรองและจัดบริการพยาบาลขณะรอตรวจ แผนกผู้ป่วยนอกทั่วไป โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • เพ็ญจันทร์ โฮมหงษ์ โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย
  • ศิริวรรณ สิงหศิริ โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย
  • นงค์นุช โฮมหงษ์ โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย

คำสำคัญ:

คัดกรอง, รอตรวจ, แผนกผู้ป่วยนอก

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ ดำเนินการพัฒนาการจัดบริการพยาบาลร่วมกับทีมการพยาบาลแผนกผู้ป่วยนอกและทีมสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ตามแนวคิดคุณภาพบริการ (Service Quality) ของ Parasuraman, Zeithaml & Berry, 1990 ระยะเวลาวิจัย เดือน กันยายน 2564 -ตุลาคม 2565 เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์และสนทนากลุ่มการจัดบริการพยาบาลในการเฝ้าระวังภาวะฉุกเฉินขณะรอตรวจ แบบรายงานความเสี่ยง RCA FORM แบบรายงานข้อมูลผู้ป่วยทรุดลง แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลข้อมูลเชิงปริมาณโดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Paired t test ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา
     ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการคัดกรองและจัดบริการพยาบาลขณะรอตรวจ แผนกผู้ป่วยนอกทั่วไป โรงพยาบาลโพนพิสัย คือ OPD CARE ประกอบด้วย O=OPD triage : แนวทางการคัดกรองเพื่อแยกประเภทผู้ป่วย P=Preceptor : การมีพี่เลี้ยง D=Job Description : กำหนดหน้าที่รับผิดชอบชัดเจน C= Competency :พัฒนาสมรรถนะพยาบาล A=Awareness : ตระหนักในกลุ่มเสี่ยงต่อภาวะทรุดลง R = Response : แนวทางการตอบสนองภาวะฉุกเฉิน E=Evaluation : การประเมินผล สะท้อนกลับ นิเทศติดตาม ประเมินผล พบว่า ผู้ป่วย Under Triage จากร้อยละ 5.03 ลดลงเหลือ 4.17 ผู้ป่วย Over Triage จากร้อยละ 14.75 ลดลงเหลือ 10.20 ร้อยละผู้ป่วยสีเหลืองเกิดภาวะวิกฤตฉุกเฉิน (สีเหลืองกลายเป็นสีแดง) ขณะรอตรวจ OPD จาก 2 ราย เป็น 0 ราย ไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิต ผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่อคุณภาพบริการพยาบาลเพิ่มขึ้นขณะรอตรวจทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ไม่พบอุบัติการณ์ข้อร้องเรียน

References

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล. (2562). ประกาศคณะกรรมการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์กรมหาชน) เรื่อง มาตรฐานสำคัญจำเป็นต่อความปลอดภัย สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2564. จาก https://www.lpnh.go.th/files/quality. มาตรฐานสำคัญจำเป็นต่อความปลอดภัย. pdf

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1990). Delivery quality service: Balancing Customer perception and expectation. New York: Free Press.

งานเวชระเบียนและสถิติ โรงพยาบาลโพนพิสัย. (2565). รายงานสถิติการบริการโรงพยาบาลโพนพิสัย ประจำปี 2562-2564. มหาสารคาม: โรงพยาบาลโพนพิสัย.

กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลโพนพิสัย. (2564). รายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดการพยาบาล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562-2564. หนองคาย.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2558). คู่มือแนวทางการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เกณฑ์และวิธีปฏิบัติการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินและจัดลำดับการบริบาล ณ ห้องฉุกเฉินตามหลักเกณฑ์ที่กพฉ.กำหนด. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ).

สำนักการพยาบาล. (2551). มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล (ปรับปรุงครั้งที่ 2). พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี : องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

เกษราวัลณ์ นิลวรางกูร. (2558). การวิจัยเชิงปฏิบัติการสำหรับวิชาชีพการพยาบาล. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

มยุรี มานะงาน. (2563). ผลการใช้แนวทางการคัดแยกผู้ป่วยตามระดับความฉุกเฉินงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจักราช อําเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 34(3), 52-65.

อิ๋น วงษ์เคน. (2566). การพัฒนาแนวปฏิบัติการบริการทางการพยาบาลเพื่อการเฝ้าระวังผู้ป่วยอาการทรุดระหว่างรอตรวจแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน. 8(2),195-204.

สมเกียรติ โชติศิริคุณวัฒน์. (2565). ผลของการใช้กระบวนการหลักของการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน โดยพยาบาลวิชาชีพห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลราชบุรี. วารสารการพยาบาลสุขภาพและการศึกษา. 5(1), 1-11.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

โฮมหงษ์ เ. . ., สิงหศิริ ศ. . ., & โฮมหงษ์ น. . (2024). การพัฒนารูปแบบการคัดกรองและจัดบริการพยาบาลขณะรอตรวจ แผนกผู้ป่วยนอกทั่วไป โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(6), 455–463. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3659