ผลของโปรแกรมการสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในคลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการดูแลตนเอง, หญิงตั้งครรภ์, ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ในการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางก่อนและหลังได้รับโปรแกรมฯ, เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมในการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางก่อนและหลังได้รับโปรแกรมฯ และเพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยฮีมาโตคริตก่อนและหลังได้รับโปรแกรมฯ กลุ่มตัวอย่าง คือ หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจาง ที่มารับบริการฝากครรภ์ครั้งแรก ณ คลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ในช่วงเดือน สิงหาคม-ธันวาคม 2567 จำนวน 25 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในคลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลสันทราย จังหวัดเชียงใหม่, แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป, แบบสอบถามพฤติกรรมในการดูแลตนเองเพื่อลดภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก, แบบบันทึกการรับประทานยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กและแบบบันทึกการติดตามผลการตรวจหาความเข็มข้นของเม็ดเลือดแดง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและ Paired- Samples t-test
ผลการศึกษาพบว่า เฉลี่ยคะแนนความรู้ในการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางก่อนและหลังได้รับโปรแกรมฯ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p-value<0.01 โดยหลังได้รับโปรแกรมฯ เท่ากับ 8.8 คะแนน (SD±1.224) มากกว่าหลังได้รับโปรแกรมฯ เท่ากับ 6.7 คะแนน (SD±2.259) ค่าเฉลี่ยคะแนนคะแนนพฤติกรรมในการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางก่อนและหลังได้รับโปรแกรมฯ ภาพรวมค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมในการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p-value<0.001 โดยหลังได้รับโปรแกรมฯ เท่ากับ 75 คะแนน (SD±3.115) มากกว่าหลังได้รับโปรแกรมฯ เท่ากับ 63.2 คะแนน (SD±12.508) และค่าเฉลี่ยฮีมาโตคริตก่อนและหลังได้รับโปรแกรมฯ และค่าเฉลี่ยฮีมาโตคริตก่อนและหลังได้รับโปรแกรมฯ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p-value<0.001 โดยหลังได้รับโปรแกรมฯ เท่ากับ 33.6 vol% (SD±5.7) มากกว่าหลังได้รับโปรแกรมฯ เท่ากับ 30.7 vol% (SD±1.1)
References
ศิริกนก กลั่นขจร. (2564). บทบาทพยาบาลในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 14(1), 54-62.
American College of Obstetricians and Gynecologists [ACOG]. (2021). Anemia in pregnancy: ACOG practice bulletin, number 233. Obstetrics and Gynecology, 138(2), e55-e64.
Tongsong, T., & Wanapirak, C. (2021). Obstetrics (6th ed.). Chiang Mai: Department of Obstetrics and Gynaecology, Faculty of Medicine, Chiang Mai University.
World Health Organization. [WHO]. (2021). Worldwide prevalence of anemia 2016 - 2019, WHO Global database on anemia. Retrieved from https://www.who.int/data/gho/data/themes/topics/anaemia_in_women_and_children
ระบบสารสนเทศสนับสนุนงานส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. (2566). ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ระดับจังหวัด. Retrieved from https://dashboard.anamai.moph.go.th/dashboard/anemia/changwat?year=2023&kid=27&rg=01
ศูนย์ข้อมูลและสถิติ โรงพยาบาลสันทราย อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. (2564-2566). สถิติหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางที่มาฝากครรภ์คลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลสันทราย จังหวัดเชียงใหม่.
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ กระทรวงสาธารณสุข. (2559). แผนพัฒนาการสาธารณสุขฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. Retrieved from https://dmsic.moph.go.th/index/detail/6991
Finkelstein, J. L., Kurpad, A. V., Bose, B., Thomas, T., Srinivasan, K., & Duggan, C. (2020). Anemia and iron deficiency in pregnancy and adverse perinatal outcomes in Southern India. European Journal of Clinical Nutrition, 74(1), 112-125.
Young, M. F., Oaks, B., Tandon, S., Martorell, R., Dewey, K., & Wendt, A. (2019). Maternal hemoglobin concentrations across pregnancy and maternal and child health: A systematic review and meta-analysis (P11-033-19). Annals of the New York Academy of Sciences, 1450(1), 47-68.
Pavord, S., Daru, J., Prasannan, N., Robinson, S., Stanworth, S., Girling, J., & BSH Committee. (2020). UK guidelines on the management of iron deficiency in pregnancy. British Journal of Hematology, 188(6), 819-830.
Brannon, P. M., & Taylor, C. L. (2017). Iron supplementation during pregnancy and infancy: Uncertainties and implications for research and policy. Nutrients, 9(12), 1327.
ราณี ผลวัฒน์. (2560). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรู้ด้านโภชนาการต่อการเพิ่มความเข้มข้นเลือดในหญิงตั้งครรภ์. ราชาวดีสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์, 7(1), 11-19.
พันธิภา จารนัย, มยุรี นิรัตธราดรและณัฐพัชร์ บัวบุญ. (2561). ผลของโปรแกรมส่งเสริมโภชนาการพฤติกรรมด้านโภชนาการ และระดับความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 30(1), 59-69.
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2563). แนวทางการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ. กรุงเทพฯ : องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
วรรณพร คำพิลา, เบญจพร ฐิติญาณวิโรจน์, สุกัญญา รักศรี, ปวินตรา มานาดี, ทิพวรรณ ทัพซ้ายและสุธิดาสิงห์ศิริเจริญ. (2565). การดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก : บทบาทที่ท้าทายของพยาบาล .วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 30(2),134-142.
Orem, D. E. (2001). Nursing concept of practice (6th ed.). Louis: Mosby.
อัจฉราวดี มั่งจิตร. (2567). ผลของโปรแกรมการสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในโรงพยาบาลแก่งคอย จังหวัดสระบุรี. Retrieved from http://www.kkhos.com/kkhos/data_office_academic/adcharavadee_2024.pdf
ธีราภรณ์ บุณยประภาพันธ์, ศิริวรรณ แสงอินทร์และสุพิศ ศิริอรุณรัตน์. (2561). ผลของโปรแกรมการสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับฮีมาโตคริตในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา, 26(4), 40-48.