การพัฒนารูปแบบการป้องกันและเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายหรือกระทำรุนแรงต่อตนเองโดยกลไกการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย อำเภอละแม จังหวัดชุมพร

ผู้แต่ง

  • มนต์ทิพา เทพเทียมทัศน์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอละแม
  • ฤทธี เพ็ชรนิล นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอละแม
  • วิษณุ อนิลบล นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลละแม

คำสำคัญ:

การป้องกันและเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายหรือกระทำรุนแรงต่อตนเอง , การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม Participatory Action Research (PAR)  มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันและเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายหรือกระทำรุนแรงต่อตนเอง อำเภอละแม จ.ชุมพร กลุ่มตัวอย่าง เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Selection) ได้แก่ ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ ตัวแทนภาคเอกชน ภาคีเครือข่าย ผู้นำชุมชน แกนนำชุมชน แกนนำครอบครัว แกนนําผู้สูงอายุ ปราชญชาวบ้าน พระ บุคลากรสาธารณสุข แกนนําเยาวชนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ญาติผู้ป่วยเรื้อรัง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการเฝ้าระวังดูแลผู้ป่วยจิตเวช ผู้มีภาวะซึมเศร้าและเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในชุมชน อำเภอละแม จังหวัดชุมพร ตามความสมัครใจ จำนวน 55 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง (Non -Structured interview) การสังเกต (Observation) การสัมภาษณ์เจาะลึก (In – depth Interview) กับผู้เกี่ยวข้องในชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis)
      ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มผู้มีปัญหาสุขภาพจิต กลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง และกลุ่มผู้ติดสุราและสารเสพติด ซึ่งได้รับการคัดกรองและเฝ้าระวังการฆ่าตัวตาย ร้อยละ 100 และผู้ที่เข้าเกณฑ์ต้องรับการรักษาได้รับการส่งต่อไปยังโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 3 คน ในรอบ 1 ปี มีผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายและกระทำรุนแรง จำนวน 94 คน คิดเป็น 12.75 ต่อแสนประชากร ผู้พยายามฆ่าตัวตายทุกรายได้รับการติดตามเยี่ยมบ้านภายใน 30 วัน อย่างน้อย 1 ครั้ง โดยบุคลากรสุขภาพใช้แผนการดูแลรายบุคคล และติดตามอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 1 ปี จากบุคลากรสุขภาพและ/หรือเครือข่ายชุมชน จนปลอดภัยจากการฆ่าตัวตาย ส่วนอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ ปี พ.ศ.2567 ลดลง เหลือ 3.40 ต่อแสนประชากร

References

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล (วปส.). สุขภาพคนไทย 2567: ความเครียดภัยเงียบของสังคมไทย. 2567. เข้าถึงได้จาก: https://ipsr.mahidol.ac.th/wp-content/uploads/2024/04/601-Thaihealth-report-2567-edit20240509.pdf

คณะทำงานจัดทำรายงานสุขภาพคนไทย. เกิดความเครียดจนป่วยเพิ่ม. 2567. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaihealthreport.com/th/articles_detail.php?id=294

โกวิทย์ นพพร. Mental Health ความเครียดสะสม เสี่ยงฆ่าตัวตาย. 2561. เข้าถึงได้จาก: https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%A1

สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ. ปัญหาการฆ่าตัวตายเรื่องร้ายของคนไม่มีทางออก. 2567. เข้าถึงได้จาก: https://olderlampang.dop.go.th/download/knowledge/th1716530839-132_0.pdf

ธรณินทร์ กองสุข. TK โมเดล 5 ปัจจัยอธิบายการเกิดอุบัติการณ์ฆ่าตัวตายและพยายามฆ่าตัวตาย. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2567; 39(2).

ศูนย์เฝ้าระวังการฆ่าตัวตาย โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์. รายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด. 2567. เข้าถึงได้จาก: https://suicide.dmh.go.th/report/

จุฑามาศ หน่อตุ่น, ชนากานต์ เจนใจ, ชิดชนก เรือนก้อน. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการฆ่าตัวตายในผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพจิตที่เกี่ยวข้องกับสุรา. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2559; 10(2): 137–151.

โฆษิต กัลยา, หยกฟ้า เพ็งเลีย, สุขเสริม ทิพย์ปัญญา. การศึกษาปัจจัยที่นำไปสู่การฆ่าตัวตายของประชาชน เขตสุขภาพที่ 2. 2561. เข้าถึงได้จาก: https://www.mhc2.go.th/newweb/files/docs/Research005.pdf

นุษณี เอี่ยมสะอาด, ปพิชญา ทวีเศษ. การศึกษาระบาดวิทยาการฆ่าตัวตายของโรงพยาบาลพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. 2563; 16(3): 23–30.

กลุ่มระบาดวิทยาสุขภาพจิต. อัตราการรับบริการต่อแสนประชากรของสตรีที่ตั้งใจทำร้ายตนเองและถูกทำร้าย ม.ค.-ต.ค. 2567. เข้าถึงได้จาก: https://dmh-elibrary.org/files/original/720b251d0ae481853cbc0594683b599e.png

ศูนย์เฝ้าระวังการฆ่าตัวตาย โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์. ปัญหาการฆ่าตัวตายในคนไทย ปี 2565. 2565.เข้าถึงได้จาก: https://suicide.dmh.go.th/news/view.asp?id=78

จงรักษ์ ใจจันทร์, เสด็จ ทะลือ, สุภาวดี จันทร์อินทร์, ศิริพร กุณา, จันทร์เพ็ญ คำอุ่น, เอกรินทร์ โนจิต. การพัฒนารูปแบบการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยสุขภาพจิตในชุมชนโดยกระบวนการ AIC ในบริบทของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอ่ายนาไลย อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2562; 28(ฉบับเพิ่มเติม 1): s76–87.

นงคราญ คชรักษา, ศรีประไพ อินทร์ชัยเทพ. การพัฒนารูปแบบการป้องกันการฆ่าตัวตายโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน จังหวัดลำปาง. วารสารแพทย์นาวี. 2563; 47(2): 446–463.

ศรีประไพ อินทร์ชัยเทพ, สิริอร พัวศิริ, มณีรัตน์ พันธุ์สวัสดิ์, ประภาศรี ทุ่งมีผล, วินัย รอบคอบ. การพัฒนาตัวบ่งชี้การรู้เท่าทันสุขภาพจิตสำหรับประชาชนทั่วไป. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์. 2561; 10(2): 97–109.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

เทพเทียมทัศน์ ม. ., เพ็ชรนิล ฤ. ., & อนิลบล ว. . (2024). การพัฒนารูปแบบการป้องกันและเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายหรือกระทำรุนแรงต่อตนเองโดยกลไกการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย อำเภอละแม จังหวัดชุมพร. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(6), 483–492. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3662