ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่รับการรักษาในโรงพยาบาลราชวิถี
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิต, ภาระการดูแล, สัมพันธภาพในครอบครัว, การสนับสนุนทางสังคม, ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ระดับภาระการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ระดับสัมพันธภาพในครอบครัว และระดับการสนับสนุนทางสังคมของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ประวัติโรคประจำตัว ประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ปัจจัยภาระการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ปัจจัยสัมพันธภาพในครอบครัว และปัจจัยการสนับสนุนทางสังคม กับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่รับการรักษาในโรงพยาบาลราชวิถี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่รับการรักษาที่แผนกตรวจผู้ป่วยนอกคลินิกโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลราชวิถี จำนวน 133 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และสเปียร์แมน
ผลการศึกษา พบว่า 1) คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอยู่ในระดับน้อย ภาระในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอยู่ในระดับน้อย สัมพันธภาพในครอบครัวอยู่ในระดับน้อย และการสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับมาก และ 2) ประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 อายุและภาระในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง มีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระดับต่ำและระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .01 ส่วนเพศ สถานภาพสมรส อาชีพ ระดับการศึกษา รายได้ และโรคประจำตัว ไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
References
World Health Organization. World Stroke Campaign. 2004 [cited 2023 Oct 21]. Available from http://www.world-stroke.org
World Stroke Organization. The top 10 causes of death. 2022 [cited 2023 Oct 21]. Available from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/the-top-10-causes-of-death#.YhJBDX oc8HO.
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. สถิติสาธารณสุข 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. กระทรวงสาธารณสุข; 2564.
งานเวชระเบียนและสถิติโรงพยาบาลราชวิถี. สถานการณ์ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสามปีย้อน พ.ศ.2564, พ.ศ.2565 และ พ.ศ.2566; 2566.
วรรณภา ศรีหาบรรดิษฐ์. ความต้องการของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและปัจจัยทำนายความต้องการของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต; 2560.
เชิดชาย ชยวัฑโฒ. การศึกษาภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลผู้ป่วยโรคอัมพาตหลอดเลือดสมอง. วารสารแพทย์เขต 4–5 2559; 35(1):14–26.
ศรัณยา แสงมณี และคณะ. กรณีศึกษา: การปรับตัวของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ทำงานนอกบ้าน. วารสารรามาธิบดีพยาบาลสาร 2555; 18(1):119-133.
Taro Yamane. Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper&Row: 1973.
สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล และคณะ. แบบวัดความเครียดโรงพยาบาลสวนปรุง. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2545.
อรวรรณ แผนคง. ผลของกลุ่มช่วยเหลือตนเองต่อความรู้สึกมีภาระและความผาสุกในชีวติของผู้ดูแลผู้สูงอายุภาวะสมองเสื่อม [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2547.
บุษราคัม จิตอารีย์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุในชุมชนจังหวัดนครปฐม [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2555.
ภรภัทร อิ่มโอฐ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลที่บ้านของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2550.
Orem. Nursing: Concept of practice (6th ed.). St. Louis: Mosby Year Book; 2001.
รัชนี วงษ์คํา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคอง. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ 2564; 2(3):9-21.
จิตราพร โคตรมหา. การศึกษาสัมพันธภาพในครอบครัว และความเครียดของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองในพื้นที่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารการพยาบาลสุขภาพและการศึกษา. 2564; 4(2):25-32.
อริญาพร จันทราสินธุ์. การสนับสนุนทางสังคมในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง กรณีศึกษาโรงพยาบาลนครนายก [สารนิพนธ์มหาบัณฑิต]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2560.
ภานุชนาถ พูสี, โสภิณ แสงอ่อน และพัชรินทร์ นินทจันทร์. ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2561; 33 (1):18-35.
รัชนี วงษ์คํา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคอง. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ 2564; 2(3):9-21.
จิตราพร โคตรมหา. การศึกษาสัมพันธภาพในครอบครัว และความเครียดของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองในพื้นที่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารการพยาบาลสุขภาพและการศึกษา 2564; 4(2):25-32.
วันเต็ม สังข์ขาว. คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในอำเภอเมือง จังหวัดตรัง. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก 2567; 11(1):1-13.
เยาวลักษณ์ ทวีเอกสิคัม และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะพึ่งพาในไทย อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท. วารสารการพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข. 2558; 24(23):104-118.