ความรู้และพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง ในเขตภาคเหนือ

ผู้แต่ง

  • พรรณพิไล สุทธนะ อาจารย์ ประจำวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี แพร่
  • ปิ่นนเรศ กาศอุดม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี แพร่
  • ดาราวรรณ บุญสนธิ อาจารย์ ประจำวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี แพร่

คำสำคัญ:

ความรู้โรคหลอดเลือดสมอง, พฤติกรรมป้องกัน, กลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการวิจัยสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้โรคหลอดเลือดสมองและพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง ในเขตภาคเหนือ กลุ่มตัวอย่างเป็นประชากรกลุ่มเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 385 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามความรู้และพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความรู้โรคหลอดเลือดสมอง (KR-20) เท่ากับ .64 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง (Cronbach's alpha) เท่ากับ .82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
     ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 57.66 อายุส่วนใหญ่ อยู่ในช่วง 51-60 ปี ร้อยละ 59.74 BMI อยู่ในช่วง 23-24.90 (ท้วม หรือ โรคอ้วนระดับ 1) มากที่สุด ร้อยละ 58.70 ค่าความดันโลหิตตัวบน (Systolic Blood Pressure) อยู่ในช่วง 121-129 mmHg มากที่สุด ร้อยละ 74.03 ส่วนใหญ่เคยได้รับข้อมูลเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง หรืออัมพฤกษ์ อัมพาต ร้อยละ 63.38 แต่ไม่เคยได้ยินคำว่า “ทางด่วนโรคหลอดเลือดสมอง” ร้อยละ 79.74 และส่วนใหญ่ ร้อยละ 86.49 รับรู้ว่าตนเองไม่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง หรืออัมพฤกษ์ อัมพาต กลุ่มตัวอย่าง มีความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง อยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 66.49 และ มีพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 76.10

References

Truelsen T, Begg S, Mathers C. The global burden of cerebrovascular disease. Geneva: World Health Organization; 2006.

World Health Organization. Cardiovascular diseases (CVDs): fact sheets. Geneva: WHO; 2020.

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถิติการป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2562.

กระทรวงสาธารณสุข. อัตราป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง 2563-2567 [อินเทอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 2567 ต.ค. 23]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/

นุชรี อาบสุวรรณ, และคณะ. พฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. 2553;40(3):12-21.

ธิดารัตน์ สุภานันท์, และคณะ. ความเครียดและความต้องการของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารพยาบาลศาสตร์. 2560;44(4):60-8.

สุดศิริ หิรัญชุนนะ. การเตรียมพร้อมของผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารพยาบาล. 2561;45(2):12-20.

ปิยนุช ภิญโย, ภิตติภูมิ ภิญโย, สมศักดิ์ เทียมเก่า, จิราพร วรวงค์, วิฑูรย์ เชื้อสวน, วชิรศักดิ์ อภิพัฒฐ์กานต์, ภาวินี พรหมบุตร. การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสารวิชาการ. 2558;23(1):35-43.

Pramote T. Chronic care model: A guideline for the care of chronic disease patients. J Public Health. 2560;40(2):25-33.

Warlow C, Dennis M, van Gijn J, Hankey GJ, Sandercock PAG, Bamford J, et al. Stroke: Practical management. 3rd ed. Oxford: Wiley-Blackwell; 2008.

Kleindorfer DO, Miller R, Moomaw CJ, Alwell K, Broderick JP, Khoury J, Woo D, Flaherty ML, Schneider A, Kissela BM. Stroke knowledge among the general population: a population-based survey. Am J Prev Med. 2009;37(5):350-5.

Mueller S, Prell T, Klingelhoefer L, Lang M, Gartner U, Reichmann H. Knowledge of risk factors and warning signs of stroke. Stroke Res Treat. 2014;2014:190573.

Ueshima H, Sekikawa A, Miura K, Turin TC, Takashima N, Kita Y, et al. Impact of cardiovascular risk factors on stroke awareness among middle-aged Japanese men and women. Stroke. 2008;39(12):2886-92.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

สุทธนะ พ. ., กาศอุดม ป., & บุญสนธิ ด. . (2024). ความรู้และพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง ในเขตภาคเหนือ. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(6), 696–701. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3675