การศึกษาความพร้อมของครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุ

ผู้แต่ง

  • พฤกษาชล เหล่าสกุลศิริ กลุ่มงานสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยสูงอายุ, ความพร้อมของครอบครัว, ครอบครัว

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพร้อมของครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุชาวไทยอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่เข้ารับบริการกลุ่มงานสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 ถึง มีนาคม พ.ศ. 2567 กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาจำนวน 210 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามการประเมินความพร้อมของครอบครัว ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ (1) ข้อมูลทั่วไปของผู้ดูแล และ (2) ระดับความพร้อมของครอบครัวในการดูแลผู้ป่วย 10 ด้าน โดยเครื่องมือดังกล่าวผ่านการตรวจสอบคุณภาพ มีค่า IOC เท่ากับ 0.8-1.0 และค่าความเที่ยง/ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.908
     ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยจำนวนและร้อยละ พบว่า ครอบครัวส่วนใหญ่มีระดับความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุในระดับน้อยที่สุด โดยเฉพาะความพร้อมด้านความรู้ในการดูแลผู้ป่วย มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด 0.21 อย่างไรก็ตาม ด้านรายได้พบว่ามีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 3.03 แสดงให้เห็นว่า แม้โดยรวมครอบครัวจะมีรายได้เพียงพอต่อการสนับสนุนการดูแล แต่ความพร้อมในด้านการจัดการความรู้และทักษะการดูแลผู้สูงอายุยังอยู่ในระดับที่ต้องการการพัฒนาเพิ่มเติม นอกจากนี้ ปัจจัยด้านการสื่อสารและการทำความเข้าใจของสมาชิกครอบครัวมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดูแลผู้สูงอายุอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น ควรมีการเสริมสร้างทักษะการดูแลและการสนับสนุนทางสังคมแก่ครอบครัว รวมถึงการสร้างเครือข่ายชุมชนที่มีบทบาทในการช่วยเหลือครอบครัว เพื่อให้การดูแลผู้สูงอายุมีคุณภาพและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้ดียิ่งขึ้น

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. สถิติผู้สูงอายุ. [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [สืบค้นเมื่อ 3 เม.ย. 67]. เข้าถึงจาก: https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/2449

กรมกิจการผู้สูงอายุ. ลักษณะของสังคมผู้สูงอายุ. [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [สืบค้นเมื่อ 3 เม.ย. 67]. เข้าถึงจาก: https://www.dop.go.th/th/know/15/926

สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. โครงการศึกษารูปแบบการเตรียมความพร้อมให้กับประชาชนในการเข้าสู่วัยผู้สูงอายุอย่างมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์; 2557.

ปิยากร หวังมหาพร. ผู้สูงอายุไทย พัฒนาการเชิงนโยบายภาครัฐจากอดีตสู่ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม; 2554.

Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Education and Psychological Measurement, 1970;30:607-610.

Adams B, Sydie RA. Contemporary Sociological Theory. Thousand Oaks: Pine Forge Press; 2002.

ดวงใจ ดูเบ, พฤกษาชล เหล่าสกุลศิริ และพิมพ์ชนก จีนเมือง. ความต้องการบริการด้านสังคมของผู้ป่วยสูงอายุที่มารับบริการกลุ่มงานสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ โรงพยาบาลนพรันตราชธานี. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี; 2565.

ถิรพร ตังจิตติพร, รัตนาวรรณ ตันกุระ, สุฑาวรรณ์ ไชยมูล และศศิเมษ มีศิริ. ความพร้อมของครอบครัวและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความพร้อมของครอบครัวในการดูแลเด็กป่วยประคับประคอง ณ สถาบันเด็กฯ. วารสารกรมการแทพย์. 2562;2:74-82.

ณิชชารีย์ พิริยจรัสชัย และศิริพันธุ์ สาสัตย์. ปัจจัยทำนายความพร้อมของผู้ดูแลในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพาในระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้าน. วารสารพยาบาลทหารบก. 2561;19:231-240.

คณะทำงานหมวดวิชาสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์, คณาจารย์วิชาเฉพาะสวัสดิการเด็ก–เยาวชนและครอบครัว, คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. เครื่องมือการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ 1. [กรุงเทพฯ]; 2552.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

เหล่าสกุลศิริ พ. (2024). การศึกษาความพร้อมของครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุ. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(6), 733–740. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3677