การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการอัตรากำลังพยาบาลเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย โรงพยาบาลนามน จังหวดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • เชิด วรพันธ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลนามน จังหวัดกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

แนวทางการพยาบาล, การพัฒนาอัตรากำลังพยาบาล, ความปลอดภัยผู้ป่วย

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและใช้รูปแบบการบริหารจัดการอัตรากำลังพยาบาลเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย โรงพยาบาลนามน จังหวดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างในเชิงคุณภาพ คือคณะผู้บริหาร หัวหน้าฝ่าย หัวหน้างาน จำนวน 22 คน เชิงปริมาณคือพยาบาลวิชาชีพผู้ปฏิบัติงานขึ้นเวรนอกเวลา จำนวน 38 คน ดำเนินการวิจัยเดือนพฤษภาคม ถึง ตุลาคม 2567 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แนวคำถามปลายเปิดการสนทนากลุ่มการบริหารจัดการอัตรากำลังพยาบาลเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย แบบเก็บข้อมูลทั่วไป แบบทดสอบสมารรถนะความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วย และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาณในการทดสอบก่อนหลังพัฒนาด้วย pared t-test ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้วิเคราะห์เนื้อหา
     ผลการวิจัย พบว่า กระบวนการพัฒนารูประกอบด้วย 7 กระบวนการดังนี้ 1) ทบทวนและกำหนดบทบาทของหัวหน้าพยาบาล 2) ทบทวนนโยบายการบริหารจัดการอัตรากำลัง 3) แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการอัตรากำลัง 4) พัฒนาแนวทางการบริหารจัดการอัตรากำลังเพื่อความปลอดภัย 5) กำหนดเกณฑ์การจัดอัตรากำลังตามบริบทสุขภาพตามวิถีชีวิตบุคลากร (Life style medicine) 6) การผสมผสานอัตรากำลังพยาบาลร่วมกับแนวคิด Care D+ 7) การบริหารงานแบบลีนในกลุ่มการพยาบาลร่วมกับฝ่ายอื่นๆในโรงพยาบาล ผลการใช้รูปแบบส่งผลให้พยาบาลมีสมรรถนะการดูแลผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจากระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.12 ภายหลังการพัฒนารูปแบบ สมรรถนะการดูแลผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.68 ระดับความพึงพอใจก่อนการพัฒนารูปแบบความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง 3.28 ภายหลังการพัฒนารูปแบบความพึงพอใจเพิ่มเป็นระดับมากคะแนนเฉลี่ย มีค่า 4.32 อัตราอุบัติการณ์ด้านความปลอดภัยที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้วลดลงร้อยละ 21.85 การทดสอบผลลัพธ์ของรูปแบบพบว่าพยาบาลมีสมรรถนะการดูแลผู้ป่วยด้วยความปลอดภัยและความพึงพอใจเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  

References

Roger AE. The effects of fatigue and sleepiness on nurse performance and patient safety. In: Hughes RG, editor

เรมวล นันศุภวัฒน์, อรอนงค์ วิชัยคำ, อภิรดี นันท์ศุภวัฒน์. ความสัมพันธ์ระหว่างชั่วโมงการปฏิบัติงานเกินเวลาของ พยาบาลและผลลัพธ์ด้านผู้ป่วย พยาบาลและองค์การในโรง พยาบาลทั่วไป. พยาบาลสาร 2557;41:58-69.

วิจิตร ศรีสุพรรณ, กฤษดา แสวงดี. ข้อเสนอเชิงนโยบายในการแก้ปัญหาการขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทย. วารสารสภาการพยาบาล 2565;27:5-12.

ทรียาพรรณ สุภามณี, วิภาดา คุณาวิกติกุล, ผ่อนศรี เกียรติ- เลิศนภา. การปฏิบัติงานเกินเวลาของพยาบาลและผลลัพธ์ด้านพยาบาลในโรงพยาบาลชุมชน. พยาบาลสาร 2557;41 (ฉบับพิเศษ พฤศจิกายน 2557):48-58.

กฤษดา แสวงดี. วิกฤติขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพในหน่วย บริการสุขภาพของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข: ข้อ เสนอเชิงนโยบาย. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2560;26: 456-68.

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. การประชุมเพื่อกำหนดระยะเวลาที่เหมาะสมของบุคลากรทางการแพทย์ กระทรวง สาธารณสุข, เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2567. นนทบุรี: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2567.

รายงานบุคลากรโรงพยาบาลนามน. โรงพยาบาลนามน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. 2567.

ธีรพร สถิรอังกูร, กนกพร แจ่มสมบูรณ์, สมจิตต์ วงศ์สุวรรณสิริ. สถานการณ์ชั่วโมงการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทย. วารสารกองการพยาบาล 2562;46:242- 56.

จรีรัตน์ อินทวัฒน์ และคณะ. กระบวนทัศน์ในการดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์บทเรียนจากค่ายคิลานุธรรม. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร 2560;5(2):376-387.

จุฑาทิพย์ หิรัญสาลี และคณะ.การพัฒนาระบบการจัดอัตรากำลังทางการพยาบาลด้วยอิเล็กทรอนิกส์ โรงพยาบาลชลประทาน. เอกสารการประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 12 วันที่ ณ อาคารสัมมนา 1-2 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช วันที่ 4-5 กันยายน 2565.

วนิดา สิงหชาติปรีชากุล. การจัดอัตรากำลังบุคลากรทางการพยาบาลตามความต้องการการพยาบาลของหอผู้ป่วยใน : กรณีศึกษา โรงพยาบาลเจ็ดเสมียน จังหวัดราชบุรี. วารสารแพทย์เขต4-5 2563;39(3):500-509.

จรูญผล แสงสิริไพบูลย์. การศึกษาภาระงานเพื่อกำหนดอัตรากำลังบุคลากรทางการพยาบาล ของกลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลกระบุรี. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ 2565;5(2):179-188.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

วรพันธ์ เ. . (2024). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการอัตรากำลังพยาบาลเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย โรงพยาบาลนามน จังหวดกาฬสินธุ์. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(6), 824–830. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3682