กระบวนการขับเคลื่อนกิจกรรมการดำเนินการแก้ไขปัญหาโรคเรื้อรัง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • วิทยา วัฒนเรืองโกวิท นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร
  • สุรเชษฐ์ ภูลวรรณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ Corresponding Authur
  • ธีรพัฒน์ สุทธิประภา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ Corresponding Authur

คำสำคัญ:

กระบวนการ, การดำเนินการแก้ไขปัญหา, โรคเรื้อรัง

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การดำเนินการแก้ไขปัญหาโรคเรื้อรัง และศึกษากระบวนการขับเคลื่อนกิจกรรมการดำเนินการแก้ไขปัญหาโรคเรื้อรัง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยศึกษาระหว่างเดือนมีนาคม 2567 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2567 รวม 9 เดือน เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบบันทึกสภาวะสุขภาพ และ แบบวัดความเข้าใจบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการใช้ระบบออนไลน์ในการติดตามเฝ้าระวังการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent t – test
     ผลการศึกษา พบว่า ความเข้าใจบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการใช้ระบบออนไลน์ในการติดตามเฝ้าระวังการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ก่อนและหลังกระบวนการมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยที่หลังกระบวนการมีความเข้าใจบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการใช้ระบบออนไลน์ในการติดตามเฝ้าระวังการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง สูงกว่าก่อนกระบวนการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ผู้ป่วยเลือกได้แก่ การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย การใช้ยาตามคำแนะนำ สมาธิบำบัด การนอนอย่างมีประสิทธิภาพ การนับคาร์บ การแพทย์ทางเลือก เป็นต้น ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพิ่มขึ้นจากเดิม ร้อยละ 40.59 ผู้ป่วยโรคโรคความดันโลหิตสูง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพิ่มขึ้นจากเดิม ร้อยละ 44.13 และผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง สามารถควบคุมระดับน้ำตาลและความดันโลหิตได้ดีขึ้น

References

กองโรคไม่ติดต่อ/สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค. (2567)."กรมควบคุมโรค รณรงค์วันเบาหวานโลก 2567 มุ่งเน้นให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุข แม้จะต้องอยู่ร่วมกับโรคเบาหวาน. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2567. https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=47609&deptcode=brc&news_views=186

กรมอนามัย.(2566). สถานการณ์ สถิติกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable diseases). [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2567 https://hp.anamai.moph.go.th/web-upload/4xceb3b571ddb70741ad132d75876bc41d/tinymce/OPDC/OPDC2567F/04WKA/IDC34/OPDC2567_IDCD3-4_01.pdf

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.(2566). แผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อของประเทศไทย (พ.ศ. 2566 - 2570). สำนักงานเลขานุการการขับเคลื่อนแผนโรคไม่ติดต่อชาติ กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

Budreviciute A, Damiati S, Sabir DK, Onder K, Schuller-Goetzburg P, Plakys G, Katileviciute A, Khoja S, Kodzius R. Management and Prevention Strategies for Non-communicable Diseases (NCDs) and Their Risk Factors. Front Public Health. 2020 Nov 26;8:574111. doi: 10.3389/fpubh.2020.574111. PMID: 33324597; PMCID: PMC7726193.

สำนักงานสถิติจังหวัดกาฬสินธุ์. (2565). จังหวัดกาฬสินธุ์. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2567 https://www.nso.go.th/nsoweb/storage/file_or_link/2024/20240606092540_84265.pdf

World Health Organization.(2001). National burden of disease studies: a practical guide. edition 2.0. Geneva: World Health Organization.

ดาราวรรณ รองเมือง.(2561). การทบทวนทฤษฎีทางพฤติกรรมศาสตร์ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคอ้วน. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 ม.ค. - มี.ค. 2561 77-92

เอกพล เหมรา, ธิดา เหมือนพะวงศ์.(2565). การพัฒนาแนวทางการติดตามพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง ในชีวิตวิถีใหม่ภายใต้สถานการณ์โรคโควิด-19 อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล. วารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2565 50-66

นิตยา หนูนวล.(2566). ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและการติดตามด้วยแอปพลิเคชันไลน์ ต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และระดับน้ำตาลในเลือด ของสตรีที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ. 6(2) 1-15

ณปาล ศรีตระการ.(2566). ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานในพื้นที่ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ. รายงานการวิจัย. บึงกาฬ; โรงพยาบาลบึงโขงหลง

ณัฐดนัย สดคมขํา.(2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการควบคุมระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดปฐมภูมิ จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารวิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต. 2(2). 25-36

นิอร สิริมงคลเลิศกุล ชมพุนุท สิงห์มณี ธัญพร รัตนวิชัย และ ศราวุธ พงษ์ลี้รัตน์.(2563). การพัฒนาแอปพลิเคชันติดตามผู้ป่วยโรคเบาหวานในชุมชน. เวชสารแพทย์ทหารบก 2563;73(3):141-50.

โอภาส เอี่ยมศิริวงศ์. (2559). วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชน.

อัจฉรา มีนาสันติรักษ์ ชาลี ศิริพิทักษ์ชัย ณัฐวุฒิ สุริยะ.(2567). การพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่นในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้. วารสารการพยาบาล สุขภาพ และการศึกษา. 7(1). 1-14

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2557). พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน. ออนไลน์ http://www4.opdc.go.th/content.php?menu_id=14&content_id=2959

สุดาฟ้า วงศ์หาริมาตย์. (2563). รูปแบบนวัตกรรมบริการโดยประยุกต์แนวคิดการบริหารภาครัฐแนวใหม่โดยการวางระบบบริหารราชการแบบบูรณาการในเขตสุขภาพ. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 29(2), 332-344.

วิจารณ์ พานิช. (2548). การจัดการความรู้ ฉบับนักปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ.

Dalkir, K. (2005). Knowledge Management In Theory And Practice. Oxford: Elsevier Inc: Jordan Hill. pp. 132–133.

สถาบันดำรงราชานุภาพ.(2553). เทคนิคการประสานงาน. เอกสารความรู้ สดร. ลำดับที่ 18/ปีงบประมาณ 2553

Trivedi, Prajapati (1990). "Lack of Understanding on Memorandum of Understanding". Economic and Political Weekly. 25 (47): M175–M182.

ศิราณี คำอู พินรัฐ จอมเพชร ผนึกแก้ว คลังคา จิราพร น้อมกุศล รัชดาภรณ์ กาญจนเสถียร รัตนา ทองแจ่ม อุทุมพร ศรีสถาพร ปนิตา มีระเกตุ.(2566). การพัฒนา Smart Heart Care Application ในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด. วารสารวิชาการทางการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 3(2). 143-54

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

วัฒนเรืองโกวิท ว. ., ภูลวรรณ ส. ., & สุทธิประภา ธ. . (2024). กระบวนการขับเคลื่อนกิจกรรมการดำเนินการแก้ไขปัญหาโรคเรื้อรัง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(6), 1–9. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3684