การพัฒนารูปแบบการป้องกันและดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน

ผู้แต่ง

  • ธมภร โพธิรุด พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลเชียงกลาง จังหวัดน่าน
  • จิรพันธ์ อินทรศักดิ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลเชียงกลาง จังหวัดน่าน
  • กัญชริญา ส่องสี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพระพุทธบาท จังหวัดน่าน

คำสำคัญ:

รูปแบบการป้องกันและดูแลผู้ป่วย, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบการป้องกันและดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย เชิงคุณภาพ ได้แก่ ภาคีเครือข่ายสุขภาพชุมชน 40 คน เชิงปริมาณ ได้แก่ ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 30 คน ดำเนินการวิจัยในช่วงเดือนตุลาคม 2564 ถึงกันยายน 2565 เครื่องมือเชิงคุณภาพ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง แนวคำถามในการสนทนากลุ่ม เครื่องมือเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบเก็บข้อมูลทั่วไป แบบประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเอง แบบประเมินความรุนแรงของอาการหายใจเหนื่อย แบบประเมินผลกระทบจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังต่อระดับคุณภาพชีวิต แบบบันทึกระยะทางที่เดินได้บนพื้นราบใน 6 นาที และแบบเก็บข้อมูลด้านคุณภาพการดูแลผู้ป่วย สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบก่อนหลังพัฒนาด้วยสถิติ Paired t test
     ผลการศึกษา พบว่ารูปแบบการป้องกันและดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ 1) ระบบบริการสุขภาพสำหรับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 2) การสนับสนุนการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วย 3) การสนับสนุนการตัดสินใจให้กับบุคลากรทีมสุขภาพ 4) ระบบฐานข้อมูลโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 5) การสร้างนโยบายที่เอื้อต่อสุขภาพในชุมชน 6) การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพในชุมชน          7) เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนแบบบูรณาการและการมีส่วนร่วม ผลการใช้รูปแบบฯ พบว่าผู้ป่วยมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเอง และระยะทางที่เดินได้บนพื้นราบใน 6 นาทีเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p <.05, t = 8.80, 14.78) ตามลำดับ คะแนนเฉลี่ยความรุนแรงของอาการหายใจเหนื่อย และผลกระทบจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังต่อระดับคุณภาพชีวิตลดลงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p <.05, t= -12.23, -10.02) ตามลำดับ และพบว่าผลลัพธ์ด้านคุณภาพการดูแลดีขึ้น

References

World Health Organization. Chronic obstructive pulmonary disease, (2024). Retrieved August, 11, 2024, from https://www.who.int/news-room/factsheets/detail/chronic-obstructive-pulmonary-disease-(copd)

World Health Organization. The top 10 causes of death, 2020. Retrieved August, 11, 2024, from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/the-top-10-causes-of-death

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข. (2565). จำนวนและอัตราผู้ป่วยในต่อประชากร 100,000 คน (รวมทุกการวินิจฉัยโรค) จำแนกตามเพศ รายภาค กรุงเทพมหานคร และสาเหตุการป่วย (ตารางการป่วยตามบัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศ ฉบับแก้ไขครั้งที่ 10: 298 กลุ่มโรค) ปี พ.ศ. 2564 (ต่อ) จาก https://spd.moph.go.th/

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข. (2565). จำนวนและอัตราตายต่อประชากร 100,000 คน ตามกลุ่มสาเหตุ (บท) การตาย 10 กลุ่มแรก (ตามบัญชีจําแนกโรคระหว่างประเทศฉบับแก้ไขครั้งที่ 10) พ.ศ. 2560-2564 https://spd.moph.go.th/

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. การประชุมพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรัง, 2560. ค้นเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2564, จาก https://www.nhso.go.th/frontend/ NewsInformationDetail.aspx?newsid=Njgy

Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease (GOLD). Global Strategy for Prevention, Diagnosis and Management of COPD, 2022. Retrieved October, 22, 2022, from https://goldcopd.org/2022-gold-reports/

Ding. B., Mark. M., Bergstrom. G., Holmgren. U. COPD symptom burden: impact on health care resource utilization, and work and activity impairment. 2017. Retrieved August, 20, 2024, from https://www.tandfonline.com/doi/epdf/10.2147/COPD.S123896?needAccess=true

Hurst. J. R., Siddiqui. M. K., Singh. B., Varghese. P., Holmgren. U., & Nigris. E. 2021. A Systematic Literature Review of the Humanistic Burden of COPD. Retrieved August, 20, 2024, from https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/34007170/

โรงพยาบาลเชียงกลาง หน่วยงานเวชระเบียนและสถิติ. (2561). รายงานประจำปี พ.ศ. 2562-2564. น่าน: ผู้แต่ง.

Barr, V., Robinson, S., Marin-Link, B., Underhill, L., Dotts, A., Ravensdale, D., & Salivaras, S., (2003), The expanded Chronic Care Model: an integration of concepts and strategies from population health promotion and the Chronic Care Model. Hospital Quarterly, 7(1), 73-82. doi: 10.12927/hcq.2003.16763

Wagner, E.H., Austin, B.T., Davis, C., Hindmarsh, M., Schaefer, J. and Bonomi, A. (2001). Improving Chronic Illness Care: Translating Evidence into Action. Health Affairs, 20, 64-78.

Grove, S., Burns, N., & Gray, J. The Practice of Nursing Research. Appraisal, Synthesis, and Generation (7ed) 2013. Missouri; Elesevier Saunders.

Gray, J, R., Grove, S, K., & Sutherland, S. Burns and Grove’s the Practice of Nursing Research. Appraisal, Synthesis, and Generation of Evidence (8ed). 2016. Philadelphia:

Gift, A.G. (1989). Validation of vertical visual analogue scale as a measure of clinical dyspnea. Rehabilitation Nursing, 14(6), 323-325. doi: 10.1002/j.2048-7940.1989. tb01129.x

สินีนาฏ ทองสุข และอรสา กงตาล. การพัฒนาระบบการดูแลกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองในชุมชนของโรงพยาบาลพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2564, 44(2). 86-97.

ปัทมา สําราญ และ เพชรไสวลิ้มตระกูล. การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสมาคมพยาบาลฯสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2556, 31(1). 16-23.

จุฬารัตน์ สุริยาทัย. ผลลัพธ์ของการใช้ต้นแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังภาคขยายในกลุ่มผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ไทย 2557, 1(1). 72-82.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

โพธิรุด ธ. ., อินทรศักดิ์ จ. ., & ส่องสี ก. . (2024). การพัฒนารูปแบบการป้องกันและดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(6), 678–688. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3689