การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดในชุมชนโดยการมีส่วนร่วม ของภาคีเครือข่ายโรงพยาบาลวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ดวงจันทร์ บัวรัตน์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การป้องกันการติดเชื้อในกระแสเลือด, การพัฒนารูปแบบการพยาบาล, ภาคีเครือข่ายชุมชน

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและใช้รูปแบบการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายโรงพยาบาลวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ภาคีเครือข่ายสุขภาพและพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานด้านการป้องกันการติดเชื้อ จำนวน 53 คน และ ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อในกระแสเลือด จำนวน 56 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แนวคำถามปลายเปิดการสนทนากลุ่ม, แบบวัดความรู้การดูแลผู้ป่วยในภาคีเครือข่าย แบบวัดความรู้ในการดูแลตนเองในผู้ป่วย การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ใช้วิเคราะห์เนื้อหา สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบ ก่อน-หลัง ด้วยสถิติ Paired t-test
     ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาประกอบด้วย 8 รูปแบบสำคัญ ดังนี้ 1) พัฒนาแบบฟอร์มค้นหาความเสี่ยงโดย อสม. 2) แนวทางปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด สำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 3) พัฒนาแนวทางแก้ไขเบื้องต้นในการประเมินทางคลินิก 4) พัฒนาโครงสร้างพยาบาลผู้ประสานงาน 5) พัฒนาสมรรถนะพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด 6) พัฒนาคู่มือและแนวปฏิบัติ 7) สร้างการมีส่วนร่วมของทีมสหวิชาชีพและภาคีเครือข่ายชุมชนตามบทบาทหน้าที่ 8) พัฒนาแบบฟอร์มและระบบส่งต่อผู้ป่วยติดเชื้อในชุมชน ผลลัพธ์ของรูปแบบส่งผลให้ภาวะการติดเชื้อลดลง ระดับความรู้การดูแลในภาคีเครือข่าย และ ความรู้การดูแลตนเอง เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 10.24, 11.29)

References

World Health Organization. Sepsis.[อินเทอร%เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2567]. เข้าถึงได้จาก: http://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/sepsis, 2024.

Jason HM, David FG and Mark EM.Early Recognition: The reallimitingstep to quality care for severesepsispatients in the emergency department.Journal of Clinical Outcomes Management2023; 22(5): 21-211.

Singer M, Deutschman CS, Seymour C.The third international consensus definitions for sepsis and septic shock(sepsis-3). Journal of the American MedicalAssociation 2023; 315(8): 10-801.

สาธร ธรรมเนียมอินทร์. การพัฒนาแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 2560; 16(2) เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2561.

นิตย ทัศนิยม. เอกสารคำสอนเรื่องการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาสุขภาพ; ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุขศาสตร์คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557.

ศูนย์ข้อมูลและสถิติโรงพยาบาลวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. ข้อมูลสถิติผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด จังหวัดมหาสารคาม; 2566.

ประไพพรรณ ฉายรัตน์ และสุพัฒศิริ ทศพรพิทักษกุล. ประสิทธิผลของรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวการณ์ติดเชื้อในกระแสโลหิต. ว.การพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2560; 35: 224-230.

สุภาภรณ์ บุญยานาม. การมีส่วนร่วมของเครือข่ายในการเฝ้าระวังและป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิตแบบรุนแรงชนิด Community Acquired Sepsis กลุ่มผู้สูงอายุป่วย ต.หนองบัว อ. เมือง จ.อุดรธานี.วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี. 2565; 30(3): 341-351.

ทวิกานต์ รักสวนจิก และคณะ. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ด้วยระบบทางด่วน โรงพยาบาลแกดำ อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. 2567; 8(16): 198-212.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

บัวรัตน์ ด. . . . . (2024). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดในชุมชนโดยการมีส่วนร่วม ของภาคีเครือข่ายโรงพยาบาลวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(6), 796–802. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3703