การพยาบาลผู้ป่วยปอดอักเสบที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด : กรณีศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
ปอดอักเสบที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นกรณ๊ศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยปอดอักเสบที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นการศึกษาเปรียบเทียบ ผู้ป่วยปอดอักเสบที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือดจำนวน 2 ราย เลือกแบบเฉพาะเจาะจงในผู้ป่วยที่เข้ารักษาในโรงพยาบาลห้วยเม็ก ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2567 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่วย การสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ การสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบพยาธิสภาพ อาการและอาการแสดง การรักษา ประเมินปัญหาทางการพยาบาลด้วยแบบแผนสุขภาพ 11 ของกอร์ดอน กำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล ให้การพยาบาล และประเมินผลลัพธ์การพยาบาล
ผลการศึกษา : เป็นการศึกษาเปรียบเทียบผู้ป่วย 2 ราย ที่ได้รับการวินิจฉัย Pneumonia with Septic shock โดยรายที่ 1 หญิงไทย อายุ 70 ปี ไข้ เหนื่อยเพลีย ทานได้น้อย มา 3 วัน มีโรคประจำตัวคือ Diabetes mellitus type 2 with Hypertension with Ischemic heart disease และพบ SIRs 3 ข้อ , NEWs 12 คะแนน แพทย์ให้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ จนอาการดีขึ้น และจำหน่ายกลับบ้าน รวมระยะเวลารักษาในโรงพยาบาล 8 วัน รายที่ 2 หญิงไทย อายุ 89 ปี ไข้ ซึม ทานได้น้อย มา 2 วัน มีโรคประจำตัวคือ Diabetes mellitus type 2 with Hypertension with Old cerebrovascular accident และพบ SIRs 2 ข้อ , NEWs 8 คะแนน แพทย์ให้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ จนอาการดีขึ้น และจำหน่ายกลับบ้าน รวมระยะเวลารักษาในโรงพยาบาล 6 วัน
References
กองนโยบายและแผนกระทรวงสาธารณสุข.ข้อมูลการเสียชีวิตพ.ศ.2563-2565
จันจิรา กุยแก้ว. การพยาบาลผู้ป่วยปอดอักเสบที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือด: กรณีศึกษา. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน. 2565; 7:22-29
ชิโนรส วงค์ธิดา. การศึกษาประสิทธิภาพจากการใช้สัญญาณเตือนภาวะวิกฤตในการคัดกรองผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลชุมชน. วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว 2563; 3: 39 - 50
นงณภัทร รุ่งเนย. การประเมินสุขภาพแบบองค์รวม. นนทบุรี: โครงการสวัสดิการวิชาการสถาบันพระบรมราชชนก.2560;2
ผ่องพรรณ อรุณแสง. การประเมินภาวะสุขภาพผู้ใหญ่และผู้สูงอายุผู้สูงอายุสำหรับพยาบาล.ขอนแก่น: ห้างหุ้นส่วนจำกัดโรงพิมพ์คลังนานาธรรม. 2551; 4
เพชรรุ่ง อิฐรัตน์. การพยาบาลผู้ป่วยปอดอักเสบที่มีภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน: กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2562; 13 : 72 - 80
ศุภโชค เข็มลา. อัตราการตายภายใน 30 วัน ของผู้ป่วยที่มีภาวะ Septic shock ภายหลังการให้สารน้ำปริมาณไม่เกิน 1,500ml. เปรียบเทียบกับ การให้สารน้ำปริมาณมากกว่า 1,500ml. วารสารโรงพยาบาลนครพนม.2561 ;4 : 4 - 16
ศูนย์ข้อมูลโรงพยาบาลห้วยเม็ก. ฐานข้อมูลHDC ผู้รับบริการโรคติดเชื้อ พ.ศ.2565. กาฬสินธุ์.
ศิริพันธุ์ สาสัตย์. การพยาบาลผู้สูงอายุ ปัญหาที่พบบ่อยและแนวทางในการดูแล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2551; 2
สุภาคินี สุคนธนากุล. การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด: กรณีศึกษา 2 ราย.วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 2563; 5 :201 - 208
อัชฌาณัฐ วังโสม. ฐิตินันท์ วัฒนชัย. การพยาบาลผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่มีภาวะหายใจล้มเหลวแบบเฉียบพลันที่ได้รับการรักษาด้วยออกซิเจนอัตราการไหลสูง: กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2561; 18 : 123 - 132 256