การพัฒนารูปแบบการให้บริการประคบสมุนไพรเพื่อลดอาการปวดหลังส่วนล่างในหญิงตั้งครรภ์แรก ที่มีอายุครรภ์ไตรมาสที่ 3

ผู้แต่ง

  • จุฑารัตน์ แวดล้อม แพทย์แผนไทยชำนาญการ โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การให้บริการ, ประคบสมุนไพร, ปวดหลังส่วนล่าง, หญิงตั้งครรภ์

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยประเภทการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ด้วยวิธีศึกษาแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง  (One-Group Pretest-Posttest Design) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การให้บริการประคบสมุนไพรเพื่อลดอาการปวดหลังส่วนล่างในหญิงตั้งครรภ์แรกที่มีอายุครรภ์ไตรมาสที่ 3 เพื่อพัฒนารูปแบบการให้บริการประคบสมุนไพรเพื่อลดอาการปวดหลังส่วนล่างในหญิงตั้งครรภ์แรกที่มีอายุครรภ์ไตรมาสที่ 3 และเพื่อศึกษาผลการพัฒนารูปแบบการให้บริการประคบสมุนไพรเพื่อลดอาการปวดหลังส่วนล่างในหญิงตั้งครรภ์แรกที่มีอายุครรภ์ไตรมาสที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่
หญิงตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 3 ที่มาฝากครรภ์ ณ โรงพยาบาลโพนพิสัย อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ด้วยวิธีการแจกแจงความถี่ และค่าร้อยละ และสถิติ paired t test
     ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการให้บริการประคบสมุนไพรเพื่อลดอาการปวดหลังส่วนล่างในหญิงตั้งครรภ์แรกที่มีอายุครรภ์ไตรมาสที่ 3 มีการพัฒนาโดยใช้กระบวนการ PAOR ประกอบด้วย 1) การวางแผน (Planning: P) 2) การปฏิบัติตามแผน (Action: A) 3) การสังเกต ตรวจสอบผลจากการปฏิบัติ (Observation: O) 4) การสะท้อนการปฏิบัติ (Reflection: R) เกิดกระบวนการแนวทางการให้บริการที่ชัดเจน มีกระบวนการทำงานเชิงระบบ มีแนวทางเวชปฏิบัติการคัดกรองและการส่งต่อผู้ป่วยด้านการแพทย์แผนไทย การบริบาลหญิงตั้งครรภ์ด้วยการประคบสมุนไพร โรงพยาบาลโพนพิสัย พบว่าความพึงพอใจของการให้บริการประคบสมุนไพรเพื่อลดอาการปวดหลังส่วนล่างในหญิงตั้งครรภ์แรกที่มีอายุครรภ์ไตรมาสที่ 3 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.76  (S.D. = 0.33) โดยเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระดับความปวดก่อนและหลังการประคบสมุนไพรร้อนชื้น พบว่า การประคบสมุนไพรร้อนชื้นมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับความปวดหลังส่วนล่างในหญิงตั้งครรภ์แรกที่มีอายุครรภ์ไตรมาสที่ 3 ก่อนและหลังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001)

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2559). นโยบายและ ยุทธศาสตร์ การพัฒนาอนามัยการเจริญ พันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ 2 (2560-2569) ว่าด้วยการส่งเสริมการเกิดและการ เจริญเติบโตอย่างมึคุณภาพ. นนทบุรี: ไม่ได้ตีพิมพ์.

ศิริมา เขมะเพชร. (2555). เอกสารการสอนเรื่องการเปลี่ยนแปลงของหญิงตั้งครรภ์. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

กาญจนา โกทิยะ. (2554). ผลของโปรแกรมกายบริหารต่ออาการปวดหลังส่วนล่างในหญิงตั้งครรภ์ [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาการผดุงครรภ์ขั้นสูง, บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

กาญจนา โกทิยะ และศิริพันธุ์ ศิริพันธุ์. (2559). การบริหารร่างกายของหญิงตั้งครรภ์เพื่อบรรเทาอาการปวดหลังส่วนล่าง. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 8(3), 154-167.

สุชาดา มหาวนากูล และดุจใจ ชัยวานิจศิริ. (2559). อาการปวดหลังขณะตั้งครรภ์ของหญิงที่มาฝากครรภ์ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร, 9, 33-40.

โรงพยาบาลโพนพิสัย. (2567). ทะเบียนให้บริการหญิงตั้งครรภ์. โรงพยาบาลโพนพิสัย, หนองคาย.

จุฑารัตน์ แวดล้อม. (2567). ผลของการประคบสมุนไพรร้อนชื้นเพื่อลดอาการปวดหลังส่วนล่างในหญิงตั้งครรภ์แรกที่มีอายุครรภ์ไตรมาสที่ 3. วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ, 9(2), 192-199.

Likert. (1967). The Human Organization: Its Management and Value. New York: McGraw Hill.

สำเริง จันทรสุวรรณ และสุวรรณ บัวทวน. (2547). ระเบียบวิธีวิจัยด้านสังคมศาสตร์. ขอนแก่น: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Kemmis, S. & McTaggart, R. (1988). The Action Reacher Planer. Victoria: Deakin University.

Kemmis, S., & McTaggart, R. (2005). Participatory action research: Communicative action and the public sphere. In N. Denzin, N.K. and Lincoln, Y.S. (Eds.), The SAGE handbook of qualitative research. 3rd ed. Thousand Oaks, California: SAGE.

ซูฟียา เลาะมะ และคณะ. (2565). ประสิทธิผลของการใช้ลูกประคบสมุนไพรเพื่อบรรเทาอาการปวดของกลุ่มออฟฟิศซินโดรมศูนย์การเรียนรู้ด้านการแพทย์วิถีไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.งานประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาภาคใต้ ครั้งที่ 7 (NSCIC2022) (น. 583-596). สุราษฎ์ธานี: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎ์ธานี.

ชัยญา นพคุณวิจัย. (2563). การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของยาทาสมุนไพรกับยาประคบสมุนไพรต่อการรักษาอาการปวดในโรคลมปลายปัตคาด สัญญาณ 1 และ3 หลังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะค่าอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี, วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 17(2), 285-295.

ประวิทย์ อินทรสุขุม. (2560). การเปรียบเทียบประสิทธิผลระหว่างการใช้ลูกประคบร้อนสมุนไพรกับลูกประคบผ้าร้อนในการบรรเทาความปวดในระยะคลอดขแงผู้คลอดครรภ์แรก, วารสารวิชาการสาธารณสุข, 26(1), 149-157.

Sita Pleejan, et al. (2017). The effect of using herbal compress in promoting elderly physical-mental health in Ban Phaeng Hospital, Ban Phaeng District, Nakhon Phanom Province. [Online], Available: https://www.npm.moph.go.th. (2024, 20 June). (in Thai)

Tussawan Zungkarak, et al. (2013). Effects of Hot Compress, Thigh Muscle Exercise and Homebased Support on Pain Level, Joint Stiffness and Daily Activities in Patients with Primary Osteoarthritis of the Knee. Journal of Public Health Nursing. 25(1), 64-84. (in Thai).

ศุภรัตน์ ผุดวัฒน์, กาญจนา ปานจีน และมนภาส ธรรมโชติ. (2563). การสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยการแพทย์แผนไทย กรณีศึกษาชมรมผู้สูงอายุ บ้านคลองใหญ่ จังหวัดพัทลุง. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 13 (1), 360-367.

จุไรรัตน์ บุญรวบ. (2561). รายงานการวิจัย การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของการประคบสมุนไพร ประคบร้อน กับยาทาไดโคลฟีแนกในผู้ป่วยปวดกล้ามเนื้อบ่าทราพรีเซียสส่วนบน. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Zhu X, Poctor M, Bensoussan A, Wu E, Smith C A. (2008). Chinese herbal medicine for primary dysmenorrhea. [Online], Available: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/18425916/. (2024, 20 June).(in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

แวดล้อม จ. . (2024). การพัฒนารูปแบบการให้บริการประคบสมุนไพรเพื่อลดอาการปวดหลังส่วนล่างในหญิงตั้งครรภ์แรก ที่มีอายุครรภ์ไตรมาสที่ 3. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(6), 569–578. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3710