การพยาบาลผู้ป่วยภาวะหัวใจสั่นพลิ้วที่รับประทานยา Warfarin ในคลินิก : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย
คำสำคัญ:
การพยาบาล, ภาวะหัวใจสั่นพลิ้ว,, ยา Warfarinบทคัดย่อ
การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการพยาบาล ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจสั่นพลิ้ว ได้รับยา Warfarin เปรียบ เทียบกรณีศึกษา ผู้ป่วย 2ราย โดยการคัดเลือกผู้ป่วยแบบเจาะจง เป็นผู้ป่วยที่มารับ การรักษาในคลินิก Warfarin และรับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน โรงพยาบาลสีชมพู จังหวัดขอนแก่น เครื่องมือที่ใช้ในการวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ เก็บรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์ กำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล โดยใช้แบบประเมินผู้ป่วยตามแบบแผนสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน วิเคราะห์ข้อมูล วางแผนปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาล
ผลการศึกษา : จากการศึกษา เปรียบเทียบ 2 ราย สรุปได้ว่าการใช้กระบวนการพยาบาล ในการดูแลผู้ป่วย ค้นหาความต้องการด้านสุขภาพ ให้การพยาบาลที่สอดคล้อง กับภาวะหัวใจสั่นพลิ้ว ที่ได้รับยา Warfarin ไม่มีภาวะ แทรกซ้อนจากยา ผู้ป่วยปลอดภัย จากกรณี ศึกษาทั้ง 2 ราย มีสาเหตุ การเกิดโรค และโรคร่วมที่ต่างกัน รายที่ 1 ได้รับการวินิจฉัยเป็น ภาวะหัวใจสั่นพลิ้ว มีโรคร่วมคือ โรคหัวใจรูมาติก, โรคลิ้นหัวใจไมทรัลตีบและ เบาหวาน รายที่ 2 ได้รับการวินิจฉัยเป็น โรคหัวใจสั่นพลิ้ว มีโรคร่วมคือ โรคหัวใจขาดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง ต่อมลูกหมากโต และโรคเก๊าท์ ปัญหาการพยาบาลที่เหมือนกัน ดังนี้ 1. เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายจากภาวะเลือดออกง่าย 2. ผู้ป่วยและญาติวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเจ็บป่วยที่ซับซ้อนและมีโรคร่วมหลายโรค และมีปัญหาการพยาบาลที่แตกต่างกัน ดังนี้ รายที่ 1 พบปัญหาทางการพยาบาลได้แก่ 1. เสี่ยงต่อการเกิด ภาวะหัวใจล้มเหลว เนื่องจากมีภาวะน้ำเกิน ลิ้นหัวใจไมทรัลตีบ 2. เสียงต่อการเกิดภาวะพลัดตกหกล้มเนื่องจากPotassium ในเลือดต่ำ 3. ผู้ป่วยและญาติวิตกกังวล เกี่ยวกับภาวะเจ็บป่วยที่ซับซ้อน มีโรคร่วมหลายโรค รายที่ 2 พบปัญหาทางการพยาบาลได้แก่ 1. เสียงต่อภาวะเนื้อเยื่อของร่างกายพร่องออกซิเจนเนื่องจากประสิทธิภาพใน การแลกเปลี่ยนก๊าซที่ปอด ลดลงจากพยาธิสภาพของโรคปอดอักเสบ 2. ไม่สุขสบายเนื่องจาก ติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ 3. มีภาวะพร่องโภชนาการเนื่องจากได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ เนื่องจากมีภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง 4. มีภาวะเสียงต่อการเกิด ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย เนื่องจากไตสูญเสียหน้าที่ 5. ผู้ป่วยและญาติวิตกกังวล เกี่ยวกับภาวะเจ็บป่วยที่ซับซ้อน มีโรคร่วมหลายโรค
References
สำนักงานสนับสนุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ,(2562). อาการภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ สืบค้น วันที่ 1 ก.ค. 2566 https://www.thai health.or.th/อาการภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ/
แนวทางการรักษาผู้ป่วยด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือด ชนิดรับประทาน. สืบค้นวันที่ 14 ก.ค.66, จาก http://www.thaiheart.org/index.php?lay=show&ac=article&Id=539252670&Ntype
การใช้ยาวาร์ฟารินสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ. สืบค้นวันที่ 29 มิ.ย.66, จากhttps://www.siphhospital.com/th/news/article/share/warfarin
กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข .(2563). แนวทางการจัดการด้านยาใน Service Plan สาขาโรคหัวใจและสาขาโรคไต. สมุทรสาคร : บริษัท บอร์น ทู บี พับลิชชิ่ง จำกัด.
งานเวชสถิติ โรงพยาบาลสีชมพู.(2565) ขอนแก่น ข้อมูลผู้ป่วยรับยาต้านการแข็งตัวของเลือด ชนิดรับประทาน เอกสารคัดสำเนา โรงพยาบาลสีชมพู
เกษราภรณ์ จันดี. (2563). การพยาบาลผู้ป่วยหัวใจสั่นพลิ้ว ที่รับประทานยาวาร์ฟารินในคลินิก :กรณีศึกษา. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม , 4 (8) 244-265
ผ่องพรรณ อรุณแสง. (2560). การพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด. ครั้งที่11. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
วันเพ็ญ มูลอินต๊ะ. (2562). การพัฒนาระบบการบริบาลผู้ป่วยในคลินิกวาร์ฟารินโรงพยาบาลพระเยา. เชียงรายเวชสาร, 11(2), 1-8
ยมนา ชนะนิล, ณัฐนันท์ คําพิริยะพงศ์. (2565). การพยาบาลผู้สูงอายุที่มีต่อมลูกหมากโต.วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 38(2) 11-23
ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเรม. สืบค้นวันที่ 29 มิ.ย.66 ,จาก https://www.gotoknow.org/posts/115427