ความชุกและการกระจายตัวของการติดเชื้อ Human papillomavirus High Risk Group ของสตรีไทยที่ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในโรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • กมล วิสุวรรณ โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ความชุกและการกระจายตัวของการติดเชื้อ, เชื้อไวรัสเอชพีวี, การตรวจเซลล์วิทยา, สตรีไทย

บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและการกระจายตัวของการการติดเชื้อ Human Papillomavirus ในสตรีไทยที่ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในโรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี ระหว่าง เดือนตุลาคม 2566 ถึง เมษายน 2567 จำนวน 1,576 ราย
     ผลการศึกษาพบว่า ความชุกในการติดเชื้อ HPV คิดเป็น ร้อยละ 11.17 สายพันธุ์ที่พบมาก 5 ลำดับแรกคือ สายพันธุ์ 52, 16, 58, 66 และ 39 คิดเป็น ร้อยละ 14.85, 12.60, 9.71, 8.60 และ 8.52 ตามลำดับ ในกลุ่มที่พบติดเชื้อไวรัส HPV พบผลการตรวจเซลล์วิทยาผิดปกติ ร้อยละ 18.28 โดยผลทางเซลล์วิทยาที่ตรวจพบคือ ASC-US ร้อยละ 65.7, LSIL ร้อยละ 25 และ HISL ร้อยละ 6.2 กลุ่มช่วงอายุที่พบการติดเชื้อ HPV มากที่สุดคือ ช่วงอายุน้อยกว่า 40 ปี ร้อยละ 13.66 และปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อ HPV พบว่าการดื่มแอลกอฮอล์ทำให้เพิ่มความเสี่ยง 15.94 เท่า (OR=15.94, 95%CI 10.06-25.27) และการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกในช่วงอายุน้อยกว่า 18 ปี ทำให้เพิ่มความเสี่ยง 3.42 เท่า (OR=3.42, 95%CI=2.44-4.78) สรุปผลการศึกษา พบความชุกและการกระจายตัวของการติดเชื้อ HPV คิดเป็นร้อยละ 11.17 สายพันธุ์ที่พบมาก 5 ลำดับแรก คือ สายพันธุ์ 52, 16, 58, 66 และ 39 ที่ร้อยละ 14.85, 12.60, 9.71, 8.60 และ 8.52 ตามลำดับ

References

Sung H, Ferlay J, Siegel RL, Laversanne M, Soerjoatarm I, Jemal A, et al.(2021). Global Cancer Statistics 2020: GLOBCAN Estimates of Incidence and Mortality Worldwide for 36 Cancer in 185 Countries. CA CANCER J CLIN 71:209-49.

Rojanamatin J, Ukranum W, Supaattagorn P, Chiawiriyabunya I, Wongsena M, Chaiwerawattana A, et al.(2021). Cancer in Thailand Volume X, 2016-2018. Bangkok .[cited 2021 Sep 19]. Available from:https:www.nci.go.th/e_book/cit_x/index.html

International Agency for Research on Cancer Monograph on the Evaluation of Carcinogenic Risk to Human;papillomavirus.Lyon,France:IARC1995;64:35-222.

Smith JS,Lindsay L,Hoots B,Keys J,Franceschi S,Winter R,et al.(2007). Human papillomavirus type distribution in vasive cervical cancer and high-grade cervical lesion: a mata-analysis update.Int J Cancer 121:621-32.

Thainsang P, Krittika B, Jarunya N.(2022) Retrospective study of human papilloma virus infection in Thailand A Systematic Review. THAI CANCER JOURNAL. ภาษาไทย

ศิริญญา เพชรพิชัย, ณัฐพร คล้ายคลึง, อมรรัตน์ โพธิ์ตา, อนุกุล บุญคง และ ปาริชาติ กัญญาบุญ.(2564). ความชุกของการติดเชื้อ Human papillomavirus สานพันธุ์เสี่ยงสูงของสตรีไทยในพื้นที่จังหวัดพิจิตร อุทัยธานี ชัยนาท และกำแพงเพชร. วารสารกรมวิมยาศาสตร์การแพทย์ 63(4) ตุลาคม -ธันวาคม 2564.

Malasan T.(2022). Prevalence and genotypic distribution of human papillomavirus infection among women in Kamalasai District Kalasin Province. Hej. 144-22.

Swangvaree SS, Kongkaew P, Rugsuj P, saruk O.(2010). Prevalence of high-rich humanpapillomavirus ibfection and cytologic result in Thailand. Asia Pac J Cancer Prev 11(6): 1465-8.

Phoolcharoen N, Kantathavorn N, Sricharunrat T, Saeloo S, Krongthong W. A.(2017). population-based study of cervical cytology findings and human papillomavirus infection in a suburban area of Thailand. Gynecol Oncol Rep. 21:73-7.

Paisri T.(2024). Prevalence and factors associated with human papilloma virus (HPV) infection among screening services recipients at Health promotion center 10th (Received: August 5,2024 ; Revised: August 11,2024 ; Accepted: August 13,2024)

Yang D, Zhang J, Cui X, Ma J, Wang C, Piao H.(2022). Risk factors associated with human papillomavirus infection, cervical cancer, and precancerous lesion in large-scale population screening. Frontiers in Microbiology. 13:914516.

ทุมวดี ตั้งศิริวัฒนา, สุขใจ ผลอำไพสถิตย์, อัญชลี ชัยนวล, กรองทิพย์ บุญสม, สังคม วิทยานันทน์, สมคิด ธิจักร และ คณะ.(2562). ความชุกของการติดเชื้อไวรัส Human papillomavirus (HPV) และไทป์ต่างๆ ในสตรีไทยที่มีผลแปปสเมียร์ปกติ. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. 61 (2): 73-85.

ดุริยา ฟองมูล, มินตา นากอง, สมเกียรติ ลลิตวงศา, วรันกร เกยูรวงศ์.(2558). ความชุกและการกระจายตัวของการติดเชื้อไวรัสฮิวแมนแปปปิโลม่าชนิดความเสี่ยงสูงในโรงพยาบาลมะเร็งลำปาง. วารสารเทคนิคการแพทย์เชียงใหม่. 48 (3):231-40.

Clarke MA, Risley C, Stewart MW, Geisinger KR, Hiser LM, et al.(2021). Age-specific prevalence of human papillomavirus and abnormal cytology at baseline in diverse statewide prospective cohort of individuals undergoing cervical cancer screening in Mississippi. Cancer Medicine 10:8651-50.

งานเวชระเบียนและฐานข้อมูลโรคมะเร็ง.(2564). ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล พ.ศ.2563. กรุงเทพมหานคร: สถาบันมะเร็งแห่งชาติ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

วิสุวรรณ ก. (2024). ความชุกและการกระจายตัวของการติดเชื้อ Human papillomavirus High Risk Group ของสตรีไทยที่ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในโรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(6), 562–568. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3730