การเสริมสร้างแนวทางการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงของแกนนำชุมชน

ผู้แต่ง

  • สุพัฒน์ วิเศษวงษา สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงแกนนำชุมชน, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์กทางการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง และศึกษาแนวทางการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงแกนนำชุมชน มีระยะเวลาในการศึกษาระหว่าง เดือน กันยายน 2567 ถึง เดือนธันวาคม 2567 รวม 4 เดือน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent t – test
     ผลการศึกษา พบว่า ความเข้าใจของแกนนำชุมชนต่อแนวทางการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงแกนนำชุมชน ก่อนการดำเนินงาน โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้นด้านการเตรียมความพร้อมผู้ป่วย อยู่ในระดับมาก หลังการดำเนินงาน โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด และความเข้าใจของแกนนำชุมชนต่อแนวทางการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงแกนนำชุมชน ก่อนและหลังการดำเนินงาน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยที่หลังการดำเนินงานความเข้าใจของแกนนำชุมชนต่อแนวทางการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงแกนนำชุมชน ดีกว่าก่อนการดำเนินการ

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการวิจัยการทบทวนองค์ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพจิต. [อินเตอร์เน็ต].2565 [เข้าถึงเมื่อ 17 เมษายน 2564]. เข้าถึงได้จาก : https://www.dmh.go.th/faq/mentalhealth.

กองบริหารระบบบริการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.(2563). แนวทางการติดตามดูแล ต่อเนื่อง ผู้ป่วยจิตเวชสุรา ยา สารเสพติด โรงพิมพ์บริษัท พรอสเพอรัสพลัส จำกัด กรุงเทพมหานคร; 2563.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.(2563). คู่มือการดูแลทางสังคมจิตใจ สำหรับแพทย์. พิมพ์ครั้งที่ 2 บริษัท บียอนด์พับลิสชิ่ง จำกัด

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. รายงานผลการดำเนินงานป้องกันและปราบปราม ปี 2564. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เลขที่ 5 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพ; 2564.

กระทรวงสาธารณสุข.(2567). การดำเนินงานเพื่อการบำบัดดูแลผู้ป่วยยาเสพติดโดยมีส่วนร่วมของชุมชน (Community Based Treatment and x.. (CBTx) ภายใต้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.). สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุข (สลบ.สธ.)

ณฐพร ผลงาม. การพัฒนารูปแบบการบําบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนจังหวัดระยอง. วารสารศาสตรสาธารณสุขนวตกรรม ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 พ.ศ.2564 เดือน พฤษภาคม – สิงหาคม 2564 หน้า 49-72.

โกศล เจริญศรี.(2566). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร กรณีศึกษา บ้านนาทาม - ห้วยทราย ตำบลป่าไร่ อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน. 8(2). 266-96

งานจิตเวชโรงพยาบาลเมืองสรวง. เอกสารรายงานประจำเดือน เมษายน 2565 หัวข้อรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วยจิตเวชใช้สารเสพติดและการฆ่าตัวตาย. คลินิกจิตเวช โรงพยาบาลเมืองสรวง อำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด ; 2565.

ศุกร์ใจ เจริญสุข.(2557) แนวคิดทฤษฎีทางการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต (Theoretical Concepts of Psychiatric-Mental Health Nursing). การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต (ฉบับปรับปรุง) เล่มที่ 1 (หน้า 90-113). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร ; 2557.

สยาภรณ์ เดชดี และ อรวรรณ หนูแก้ว. การพัฒนาและผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคจิตจากสารเสพติด. วารสารการพยาบาลจิตเวช และสุขภาพจิต ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 (2021): มกราคม - เมษายน 2564 หน้า 91-111.

พิทภรณ์ พลโคตร.(2567). การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเวชที่เสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง โดยการใช้การจัดการรายกรณีแบบมีส่วนร่วมในชุมชน. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 10(4) 184-94

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

วิเศษวงษา ส. (2024). การเสริมสร้างแนวทางการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงของแกนนำชุมชน. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(6), 943–951. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3733