การกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพสำหรับการประเมินความมั่นคงทางอาหาร ในแปลงพืชร่วมยาง
คำสำคัญ:
การกำหนดขอบเขต, การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ, ความมั่นคงทางอาหาร, พืชร่วมยางบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำขอบเขตเชิงเนื้อหาและตัวชี้วัดในการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ สำหรับการประเมินความมั่นคงทางอาหารในแปลงพืชร่วมยางของเกษตรกรต้นแบบที่คัดเลือกแบบเจาะจงจากพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดระนอง จังหวัดชุมพร จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดนราธิวาส วิธีดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย 1) การกำหนดขอบเขตโดยผู้เชี่ยวชาญ (Expert scoping) โดยผู้วิจัยและผู้เชี่ยวชาญทำการทบทวนเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจำนวน 49 เรื่อง สรุปวิเคราะห์จัดทำเป็นร่างขอบเขตเชิงเนื้อหาและตัวชี้วัดการประเมินฉบับที่ 1 เพื่อนำเข้าสู่ขั้นตอนที่ 2 คือการกำหนดขอบเขตโดยผู้เชี่ยวชาญและชุมชน (Expert and community scoping) เก็บข้อมูลจากการระดมความคิดเห็นด้วยการสนทนากลุ่ม (Focus group) กับผู้ให้ข้อมูลจำนวน 16 คน ที่ถูกคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่าขอบเขตเชิงเนื้อหาและตัวชี้วัดสำหรับการประเมินความมั่นคงทางอาหารในแปลงพืชร่วมยาง ประกอบด้วย 4 มิติ คือ มิติด้านความเพียงพอของอาหาร มิติด้านการเข้าถึงอาหาร มิติด้านการใช้ประโยชน์ด้านอาหาร และมิติด้านการมีเสถียรภาพทางอาหาร โดยมีรายละเอียดตัวชี้วัดแต่ละมิติ ดังต่อไปนี้ 1) มิติด้านความเพียงพอของอาหาร ได้แก่ การถือครองที่ดิน การใช้ประโยชน์ที่ดิน การมีพื้นที่ผลิตอาหารที่ปลอดภัยเพียงพอ การมีปัจจัยการผลิตอาหาร การมีอาหารที่มีคุณภาพไว้บริโภคอิ่มทุกมื้อ และการมีอาหารเพียงพอต่อสมาชิกในครัวเรือนทุกคน 2) มิติด้านการเข้าถึงอาหาร ได้แก่ ความสามารถในการหาอาหารจากแหล่งธรรมชาติใกล้บ้าน การมีรายได้ที่เพียงพอ การมีอาชีพเสริมที่สร้างรายได้อย่างเพียงพอ จำนวนแหล่งจำหน่ายสินค้าอาหารอาหารปลอดภัย และความสามารถในการเข้าถึงแหล่งจำหน่ายสินค้า 3) มิติด้านการใช้ประโยชน์ด้านอาหาร ได้แก่ ความหลากหลายของผลผลิตที่ได้ การบริโภคอาหารที่หลากหลาย ครบทั้ง 5 หมู่ การบริโภคพืชผักปลอดภัยที่เพียงพอ และความสามารถในการแปรรูปผลผลิต และ 4) มิติด้านการมีเสถียรภาพทางอาหาร ได้แก่ มีระบบการวางแผนการจัดการการผลิตทางการเกษตร มีปฏิทินการเพาะปลูกผลผลิตทางการเกษตร และการเก็บพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ไว้ขยายพันธุ์ในอนาคต ตัวชี้วัดถูกนำไปจัดทำเครื่องมือเพื่อทำการประเมินความมั่นคงทางอาหารในแปลงพืชร่วมยาง
References
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปี 2565. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพมหานคร.
คณะกรรมการบูรณาการนโยบายพัฒนาภาค (ก.บ.ภ.). แผนพัฒนาภาคใต้ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564).
ปราโมทย์ แก้ววงศรี. แนวทางสร้างความหลากหลายในสวนยางพารา. พิมพ์ครั้งแรก. พงค์เทพ สุธีรวุฒิ, เพ็ญ สุขมาก, วรรณา สุวรรณชาตรี, บรรณาธิการ. สงขลา: โฟ-บาร์ด; 2561.
ภัทรพงศ์ วงศ์สุวัฒน์, วันชัย รัตนวงษ์, วัชรวี จันทรประกายกุล. ความยั่งยืนของเกษตรกรชาวสวนยางในประเทศไทย. วารสารสุทธิปริทัศน์. กรกฎาคม – กันยายน 2564;35(3):174-193.
ศจีรัตน์ แรมลี. การเสริมรายได้ในสวนยาง. ศูนย์วิจัยยางหนองคาย สถาบันวิจัยยาง การยางแห่งประเทศไทย; 2562.
นัดดา รัศมีแพทย์, สุพัตรา ศรีสุวรรณ. การปลูกพืชเสริมรายได้ในสวนยางพาราของเกษตรกร อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า. 2560;35(1):117-124.
เพ็ญ สุขมาก, วรรณา สุวรรณชาตรี, บรรณาธิการ. รูปธรรมความสำเร็จการทำพืชร่วมยาง ทางเลือก ทางรอดของเกษตรกร. สงขลา: โฟ-บาร์ด; 2564.
รักพงษ์ รติคุณูปกร. บทบาทของการยางแห่งประเทศไทยในการพัฒนายางพาราทั้งระบบ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. กรกฎาคม-ธันวาคม 2562;10(2):259-269.
ระวี เจียรวิภา. พืชร่วมในสวนยางพาราทางภาคใต้ของประเทศไทย: ผลกระทบและรูปแบบการปลูกอย่างยั่งยืน. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า 2562;37(1):179-189.
สมบูรณ์ เจริญจิระตระกูล, อริศรา ร่มเย็น, พลากร สัตย์ซื่อ. พัฒนาการระบบการปลูกพืชร่วมยางในภาคใต้ ปัญหาและอุปสรรคในการขับเคลื่อน. KASETSART JOURNAL OF SOCIALSCIENCES. 2017; 38:588–599.
ธนรัฐ สะอาดเอี่ยม, พระครูปริยัติวิสุทธิคุณ, พระมหายุทธพิชาญ ทองจันทร์, พระครูศรีปรีชากร. หลักมัตตัญญุตากับการประกันความมั่นคงทางอาหารในมุมมองพระพุทธศาสนา. วารสารมหาจุฬาคชสาร.มกราคม-มิถุนายน 2565;13(1): 23-34.
สุพรรณี ไชยอำพร. ความมั่นคงทางอาหาร: สิ่งบ่งชี้ต่างวัฒนธรรมในสังคมไทย. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์. 2560;57(1):200-223.
เพ็ญ สุขมาก. แนวทางการจัดทำแผนและโครงการระบบอาหารในระดับชุมชนท้องถิ่น. พิมพ์ครั้งแรก. วรรณา สุวรรณชาตรี, บรรณาธิการ. สงขลา: โฟ-บาร์ด; 2564.
สุพรรณี ไชยวรรณ. การส่งเสริมความมั่นคงทางอาหารของชุมชนตำบลเกาะรัง อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี [ปริญญานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2562.
Meital Izraelov, Jacques Silber. An assessment of the global food security index. Food Security. 2019;11:1135–1152.
เพ็ญจันทร์ รวิยะวงศ์. ผลกระทบและการบริหารจัดการการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ต่อความมั่นคงทางอาหารของประเทศไทย. วารสารธรรมวัตร. มกราคม - มิถุนายน 2564;2(1):13-22.
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพที่เกิดจากนโยบายสาธารณะ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2559. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:บริษัทสำนักพิมพ์สุภา.
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. ประกาศคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพที่เกิดจากนโยบายสาธารณะ พ.ศ.2564. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 138, ตอนที่ 289 ง ตอนพิเศษ (ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2564).
คณน ไตรจันทร์, ธีรศักด์ิ จินดาบถ, อนุวัต สงสม. องค์ประกอบความมั่นคงทางอาหารระดับครัวเรือนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้. KASETSART JOURNAL OF SOCIALSCIENCES. 2017; 38:577–587.
บุษบา ทองอุปการ. อาหารท้องถิ่น: ความมั่นคงทางอาหารในมิติวัฒนธรรมกรณีศึกษาชุมชนบ้านตลิ่งแดง จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. สิงหาคม 2561;5(ฉบับพิเศษ):107-119.
Inna Irtyshcheva, Maryna Ponomarova, Iryna Dolzhykova. CONCEPTUAL FUNDAMENTALS OF DEVELOPMENT OF THE FOOD SECURITY SYSTEM. Baltic Journal of Economic Studies. 2019;5(2):57-64.
พัชราวดี อรรถวิวัฒนากุล. การศึกษาความมั่นคงทางอาหารของผู้สูงอายุในชุมชนบ้านหินผุด อาเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ. กรกฎาคม – ธันวาคม 2561;1(2):ISSN 2651-1312.
อัยลดา มุสลีมาณุกูล, เพ็ญมาศ สุคนธจิตต์, กิตติพร เนาว์สุวรรณ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความมั่นคงทางอาหารของผู้สูงอายุในอำเภอรามัน จังหวัดยะลา. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. มกราคม – มีนาคม 2565;8(1):45-59.
เพ็ญจันทร์ รวิยะวงศ์, เมตตา ตาละลักษณ์. แนวทางการเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารของครัวเรือนเกษตรกรในจังหวัดน่าน. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 11. 440-453.
ธันยชนก ปะวะละ, ภณิตา สุนทรไชย. รูปแบบการสร้างความมั่นคงทางอาหารบนฐานทรัพยากรทางธรรมชาติและทุนทางสังคมเพื่อความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น ตำบลหนองเม็ก อำเภอนาเชือก จังหวัด มหาสารคาม. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. มกราคม-มิถุนายน 2561;5(1):143-154.
Carlo Cafiero, Sara Viviani, Mark Nord. Food security measurement in a global context: The food insecurity experience scale. Measurement. 2018;116:146–152.
Charles F. Nicholson, Emma C. Stephens, Birgit Kopainsky, Andrew D. Jones, David Parsons, James Garrett. Food security outcomes in agricultural systems models: Current status and recommended improvements. Agricultural Systems. 2021:188:103028
Lotsmart N Fonjong and Adwoa Y Gyapong. Plantations, women, and food security in Africa: Interrogating the investment pathway towards zero hunger in Cameroon and Ghana. World Development. 2021;138: 105293.