ลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยสูงอายุโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด ST elevation ที่เข้ารับการรักษา ณ ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยสูงอายุโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดชนิด ST elevationบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา (Retrospective descriptive study) มีวัตถุประสงค์เพื่อ
ศึกษาลักษณะทางคลินิก อัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาลและปัจจัยที่สัมพันธ์กับอัตราการ เสียชีวิตในโรงพยาบาล
ของผู้ป่วยสูงอายุโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด ST elevation. โดยการทบทวนเวชระเบียนตั้งแต่วันที่
1 มกราคม 2562 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563 ศึกษาผู้ป่วยสูงอายุโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด ST
elevation เข้ารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
ผลการศึกษา พบผู้ป่วยสูงอายุโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด ST elevation ที่เข้ารับการ
รักษาที่ห้องฉุกเฉินจานวน 727 ราย โดยพบผู้ป่วยสูงอายุตอนต้น (อายุ 65-74ปี) 412 ราย (56.67%), ผู้ป่วยสูงอายุ
ตอนกลาง (อายุ 75-85 ปี) 256 ราย (35.21%) และผู้ป่วยสูงอายุตอนปลาย (อายุมากกว่า 85ปี) 59 ราย (8.12%)
ผู้ป่วยสูงอายุมาด้วยอาการไม่ชัดเจนทั้งหมด 224 ราย (30.81%) ส่วนใหญ่มาด้วยอาการเหนื่อย อาการจุกแน่นลิ้นปี่
และอาการวูบหมดสติ พบอัตราการเสียชีวิตสูงที่สุดในกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุตอนปลาย 27.12% ผู้ป่วยสูงอายุตอนกลาง
17.58% และผู้ป่วยสูงอายุตอนต้น 9.22% ปัจจัยที่สัมพันธ์การเสียชีวิตในโรงพยาบาลได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยสูงอายุ
ตอนกลาง (Odds ratio,1.72 ;95%CI,1.04-2.84) กลุ่มผู้ป่วยสูงอายุตอนปลาย (Odds ratio,3.06 ;95%CI,1.45-
6.51) และผู้ป่วยที่มีระดับความรุนแรงของภาวะหัวใจวาย Killip Classification ตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป (Odds
ratio,4.80;95%CI,2.96-7.76)