การศึกษาภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยที่ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจ ที่ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • พิมพ์พร จึงธนาวิวัฒน์

คำสำคัญ:

ภาวะแทรกซ้อนของการใส่ท่อช่วยหายใจ, การใส่ท่อช่วยหายใจแบบรวดเร็ว, ยานาสลบภาวะความดัน โลหิตต่า, ภาวะหัวใจหยุดเต้น

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา (Retrospective descriptive study) มีวัตถุประสงค์เพื่อ
ศึกษาอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยที่ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจที่ห้องฉุกเฉิน เก็บข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับการ
ใส่ท่อช่วยหายใจที่ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ถึง 31 มีนาคม 2564
ผลการวิจัย : ผู้ป่วยที่ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา 192 ราย ใส่
ท่อช่วยหายใจโดยใช้ยานาสลบอย่างเดียวมากที่สุด 171 ราย (ร้อยละ 89.06) รองลงมาคือ ไม่ใช้ยาในการใส่ท่อช่วย
หายใจ 16 ราย (ร้อยละ 8.33) และใส่ท่อช่วยหายใจแบบรวดเร็ว 5 ราย (ร้อยละ 2.6) พบผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อน
หลังการใส่ท่อช่วยหายใจ 35 ราย (ร้อยละ 18.22) ภาวะแทรกซ้อนที่พบมากที่สุด คือ ความดันโลหิตต่า 24 ราย
(ร้อยละ 12.5) รองลงมาคือ หัวใจหยุดเต้น 5 ราย (ร้อยละ 2.6) บาดเจ็บทางช่องปาก 4 ราย (ร้อยละ 2.1) กลุ่ม
ผู้ป่วยที่เกิดภาวะแทรกซ้อนอายุเฉลี่ย 65.57 ± 16.50 ปี (mean ± SD) ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย 25 ราย (ร้อยละ
71.43) ค่าดัชนีมวลกายเฉลี่ย 21.25 ± 4.51 (mean ± SD)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-02

How to Cite

จึงธนาวิวัฒน์ พ. . (2022). การศึกษาภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยที่ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจ ที่ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 7(1), 52–60. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/507