ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์กูย ตำบลตูม อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • พงศนาถ หาญเจริญพิพัฒน์
  • พลรัตน์ดา ดลสุข
  • พุทธิไกร ประมวล

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการป้องกัน, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, กลุ่มชาติพันธุ์กูย, อาเภอศรีรัตนะ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกัน
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์กูย อายุ 15 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลตูม
อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ 304 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาปัจจัยที่มี
ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ด้วยวิธีการถดถอยโลจีสติก นำเสนอขนาดความสัมพันธ์ด้วยค่า
Adjusted odds ratio (AOR) และช่วงความเชื่อมั่น 95% พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 59.54 จบการศึกษา
ระดับประถมศึกษา ร้อยละ 53.95 อาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 47.04 สมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 5.43±1.69 คน ลักษณะ
เป็นครอบครัวขยาย ร้อยละ 55.59 เคยป่วยเป็นโรคโควิด-19 ร้อยละ 8.88 สมาชิกในครอบครัวเคยติดเชื้อโควิด-19 ร้อย
ละ 14.14 และเคยเป็นกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ร้อยละ 61.18 มีความรู้ ทัศนคติ การรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง
การรับรู้ประโยชน์ แรงสนับสนุนทางสังคม และแนวคิดหรือวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ต่อการป้องกันโรคโควิด-19 อยู่ใน
ระดับปานกลาง แต่การรับรู้อุปสรรคในการป้องกันโรคโควิด-19 อยู่ในระดับต่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการ
ป้องกันโรคโควิด-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติมี 3 ปัจจัย ได้แก่ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัว ลักษณะครอบครัว
และแรงสนับสนุนทางสังคม โดยประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์กูยที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัวตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้น
ไป มีโอกาสที่พฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 อยู่ในระดับดีเป็น 7.29 เท่าของคนที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของ
ครอบครัวน้อยกว่า 10,000 บาท (AOR = 7.29, 95% CI= 1.66-31.97) ลักษณะครอบครัวเป็นครอบครัวใหญ่หรือ
ครอบครัวขยาย มีโอกาสที่พฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 อยู่ในระดับดีเป็น 4.07 เท่าของคนที่มีลักษณะครอบครัว
เป็นครอบครัวเดี่ยว (AOR = 4.07, 95% CI= 1.46-11.40) และการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับดี มีโอกาสที่
พฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 อยู่ในระดับดีเป็น 4.19 เท่าของคนได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมอยู่ระดับไม่ดี (AOR
= 4.19, 95% CI= 1.68-10.44) ดังนั้น การดำเนินการเพื่อควบคุมโรคการแพร่ระบาดโควิด-19 ในพื้นที่จะต้องสนับสนุน
ปัจจัยด้านความเป็นอยู่ระหว่างการกักตัวอย่างเพียงพอและทาความเข้าใจกับสมาชิกในครอบครัว เพื่อให้ช่วยกันดูแล
กำกับให้การกักตัวของกลุ่มเสี่ยงสูงอย่างมีคุณภาพ เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อไปยังคนอื่น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-02