ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของประชากรในอำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • พิษณุ อุ่นยิ่งเจริญ

คำสำคัญ:

ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของประชากรใน
อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี จำแนกตามปัจจัยประชากรศาสตร์ ได้แก่ ด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา และ
อาชีพ (2) เพื่อศึกษาทัศนคติต่อโรคโควิด-19 และทัศนคติต่อวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ทั้งด้านประสิทธิภาพและ
ด้านความปลอดภัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของประชากรในอำเภอสองพี่น้องกลุ่ม
ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ประชากรในอำเภอสองพี่น้อง จานวน 790 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ
สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานประกอบด้วยสถิติการทดสอบแบบ t-test สถิติความ
แปรปรวนทางเดียว ( One way ANOVA ) และใช้สถิติการถดถอย พหุคูณ (Multiple Regression)
ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าปัจจัยประชากรศาสตร์ในผู้ที่ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ทั้งด้านเพศ
อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพที่ต่างกันมีผลทำให้การตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของประชากรใน
อำเภอสองพี่น้องต่างกัน และทัศนคติต่อโรคโควิด-19 ทัศนคติต่อประสิทธิภาพของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 และ
ทัศนคติต่อความปลอดภัยของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 พบว่ามีผลต่อการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19
ในประชากรผู้ที่ไม่ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 พบว่า อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพที่ต่างกันมีผลทำให้การตัดสินใจ
ไม่ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 และพบว่า เพศ ไม่มีผลในการตัดสินใจไม่ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในขณะที่
ทัศนคติต่อโรคโควิด-19 ทัศนคติต่อประสิทธิภาพของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 พบว่ามีผลต่อการตัดสินใจไม่ฉีด
วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของประชากรในอำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-02