การพยาบาลผู้ป่วยแผลกระจกตาที่ได้รับการปลูกถ่ายกระจกตา : กรณีศึกษาโรงพยาบาลพยาบาลขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • กนกวรรณ หอมจันทนากุล

คำสำคัญ:

การพยาบาลผู้ป่วยแผลกระจกตาที่ได้รับการปลูกถ่ายกระจกตา

บทคัดย่อ

กรณีศึกษา : เป็นกรณีศึกษาเปรียบเทียบผู้ป่วยแผลกระจกตาที่ได้รับการปลูกถ่ายกระจกตา 2 ราย รายแรก
เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลขอนแก่น ด้วยอาการตาซ้ายมัวและปวดก่อนมาโรงพยาบาล 2 วัน หลังจากใส่เลนส์
สัมผัสนอน แพทย์วินิจฉัยเป็น severe corneal ulcer left eye รายที่ 2 ผู้ป่วยนอนรักษาที่โรงพยาบาลมหาสารคาม
11 วันและส่งมารักษาต่อ ด้วยตาซ้ายมัวและปวดหลังโดนกิ่งกระถินบาด แพทย์วินิจฉัยเป็น severe fungal corneal
ulcer left eye ผู้ป่วยทั้งสองรายได้รับยาปฏิชีวนะหยอดตา ยาลดความดันลูกตา และได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายกระจก
ตา ในด้านการพยาบาลผู้ป่วยทั้งสองรายได้รับการประเมินตามแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน (Gordon) สรุปข้อ
วินิจฉัยการพยาบาลของผู้ป่วยทั้งสองรายที่เป็นปัญหาเดียวกันในระยะแรกรับและก่อนผ่าตัดมี 8 ข้อ ระยะหลังผ่าตัด
และดูแลต่อเนื่อง 6 ข้อ ระยะจาหน่าย 1 ข้อ ส่วนข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่แตกต่างกันผู้ป่วยรายที่ 1 มี 1 ข้อและ
ผู้ป่วยรายที่ 2 มี 3 ข้อ ปัญหาและความความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัวแต่ละรายได้รับการแก้ไขไม่มี
ภาวะแทรกซ้อน แพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้โดยนัดติดตามผลอีก 1 สัปดาห์
ผลลัพธ์ : การปลูกถ่ายกระจกตาอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น ความดันลูกตาสูง แผลติดเชื้อกลับซ้ำ
แผลแยก ภาวะสลัดกระจกตาที่ปลูกถ่าย พยาบาลเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการดูแลให้การพยาบาล การให้ข้อมูลการ
ปฏิบัติตัว การจัดการปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัว เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนที่
ป้องกันได้ มีการมองเห็นดีขึ้น ลดการพึ่งพาผู้อื่น และมีการดำเนินชีวิตที่ดีต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-15